ครบ 24 ชั่วโมง! ประมูล 4G รอบ 71 เคาะใบแรก 36,608 ลบ.-ใบสองคงเดิม

ครบ 24 ชั่วโมง! ประมูล 4G รอบ 71 เคาะใบแรกเพิ่มเป็น 36,608 ลบ.-ใบสองคงเดิม


ผู้สื่อข่าวรายงานสรุปเหตุการณ์การประมูล 4G คลื่น 1800 MHz ที่ครบรอบ 24 ชั่วโมงใน 10.00 น.วันนี้(12 พ.ย.) จากการเริ่มตันประมูลตั้งแต่เช้า 10.00 น.วานนี้(11 พ.ย.)

การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ยังคงเคาะราคาแข่งขันกันอย่างต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่ 10.00 น.ของเมื่อวานนี้จนครบ 24 ชั่วโมงแล้วในเช้าวันนี้ โดยล่าสุด การเคาะราคารอบที่ 71 มีผู้เสนอราคาใบอนุญาตล็อตที่ 1 เพิ่มเป็น 36,608 ล้านบาท ส่วนใบที่ 2 ไม่มีผู้เคาะราคาเพิ่ม จึงยังคงอยู่ในระดับเดิมที่ 36,210 ล้านบาท

ทั้งนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz โดยมีเอกชน 4 รายที่เข้าร่วม ประกอบด้วย บริษัท แจส โมบายบรอดแบนด์ จำกัด, บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด, บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด และบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด

ในชั่วโมงแรกของการประมูลวานนี้ (10.00-11.00 น.) มีการเคาะราคา 3 รอบ ปรากฎว่า ชุดที่ 1 ราคาประมูลอยู่ที่ 17,504 ล้านบาท โดยมีผู้แข่งขันอยู่เพียงรายเดียว เริ่มเคาะราคารอบแรก 16,708 ล้านบาทที่ทุกรายต้องเคาะราคาและรอบ 2 เคาะเพิ่มเป็น 17,504 ล้านบาท ส่วนรอบ 3 ยืนราคาเดิม

ส่วนชุดที่ 2 ราคาประมูลชั่วโมงแรก ราคาประมูลขึ้นมาที่ 18,300 ล้านบาท โดยชุดที่ 2 มีเอกชนเข้าร่วมเคาะราคา 3 รายตั้งแต่รอบแรกเคาะที่ราคา 16,708 ล้านบาท รอบที่ 2 มีผู้แข่งราคา 2 ราย เคาะราคาที่ 17,504 ล้านบาท ส่วนอีกราย อาจจะใช้สิทธิไม่เสนอราคา(Waiver) หรืออาจจะเป็นผู้ชนะชั่วคราวในรอบที่แล้วและใช้สิทธิยืนราคาเดิม และรอบ 3 ได้มีผู้เข้าแข่งราคา 2 ราย ที่ราคา 18,300 ล้านบาทระหว่างนี้รอการประมูลรอบที่ 4 โดยชุดที่ 2 ราคาเคาะขึ้นไปที่ 19,096 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 1 ยังยืนราคาเดิม

สำหรับการประมูลในชั่วโมงที่สอง (11.00-12.00น.) มีการเคาะราคา 3 รอบ ปรากฎว่า ชุดที่ 1 ราคาประมูลอยู่ที่ 19,096 ล้านบาท โดยมีผู้แข่งขัน 1 รายย้ายจากชุดที่ 2 มาแข่งขันในชุดที่ 1 และไต่ราคาจาก 17,504 ล้านบาท ในรอบที่ 4 และเพิ่มเป็น 18,300 ล้านบาท ในรอบที่ 5 ส่วนรอบที่ 6 ไม่มีผู้ประมูล ทำให้ราคายืนอยู่ที่ 18,300 ล้านบาท

ส่วนชุดที่ 2 ยังมีการแข่งขันสู้ราคาแบบไม่ถอย โดยมีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคาไต่ขึ้นมาในรอบที่ 4 เป็น 19,892 ล้านบาท แต่รอบที่ 5 กลับมามีผู้แข่งขัน 3 ราย และแข่งราคาขึ้นมาที่ 19,892 ล้านบาท และรอบที่ 6 เพิ่มมาเป็น 20,290 ล้านบาทซึ่งมากกว่าราคาเต็มของคลื่นที่ 19,892 ล้านบาท

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า การประมูลราคาในชุดที่ 2 เห็นว่ามีการแข่งขันสูง เพราะเป็นช่วงคลื่นความถี่ 1800 MHz เป็นชุดที่อยู่ติดกับคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่จะหมดอายุสัญญาสัมปทานในปี 61 ทำให้ผู้ประกอบการสนใจประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ชุดที่ 2 มากกว่าชุดที่ 1 จึงประเมินว่าผู้ประกอบการที่เข้ามาแข่งขันในชุดที่ 2 คือผู้ประกอบการรายเดิม คือ ดีแทค, ทรูมูฟ และดีพีซี (บริษัทลูกของเอไอเอส) เพราะ 3 รายเดิมเตรียมประมูลคลื่น 1800 MHz อีกในอนาคต ส่วนชุดที่ 1 น่าจะเป็นกลุ่ม บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS)

สำหรับการประมูลในชั่วโมงที่สาม (12.00น.-13.00น.) เริ่มเห็นการแข่งขันราคาในชุดที่ 1 โดยราคาประมูลสิ้นชั่วโมงที่สาม อยู่ที่ 19,096 ล้านบาท จากสิ้นชั่วโมงที่สอง ราคายืนที่ 18,300 ล้านบาท

ส่วนชุดที่ 2 ยังคงการแข่งขันดุเดือด โดยราคาไต่ขึ้นมาในรอบที่ 7 เป็น 20,688 ล้านบาท รอบที่ 8 ปรับขึ้นมาเป็น 21,086 ล้านบาท หรือคิดเป็นราคา 106% โดยมีราคาเต็มของคลื่นที่ 19,892 ล้านบาท แต่ในรอบที่ 9 ไม่มีการแข่งขัน ราคาจึงยืนที่เดิม

 

ในการประมูลชั่วโมงที่สี่ (13.00-14.00 น.) ราคาในชุดที่ 1 รอบที่ 10 มีการเคาะเพิ่มราคา 1 ราย โดยราคามาอยู่ที่ 19,892 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 ราคาในรอบที่ 10 ยังคงไม่มีผู้แข่งขัน จึงยืนราคาเดิมที่ 19,892 ล้านบาท

ขณะที่รอบที่ 11 ในชุดที่ 1 คงราคาเดิม จากรอบที่แล้ว และในชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคาเพิ่มจำนวน 2 ราย ราคาอยู่ที่ 21,484 ล้านบาท และรอบที่ 12 ชุดที่ 1 ไม่มีผู้เสนอราคายังคงราคาเดิม ชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคามาอยู่ที่ 21,882 ล้านบาท

การประมูลในชั่วโมงที่ 5 (14.00-15.00 น.) ราคารอบที่ 13 มีผู้เคาะเพิ่มราคา ในชุดที่ 1 จำนวน 1 ราย โดยมีราคาล่าสุด 20,290 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 ไม่มีผู้เสนอราคา จึงยืนราคาเดิมที่ 21,882 ล้านบาท

รอบที่ 14 มีผู้เคาะราคา ในชุดที่ 1 จำนวน 1 ราย ราคาเพิ่มมาอยู่ที่ 20,688 ล้านบาท และชุดที่ 2 ยังคงไม่มีผู้เสนอเพิ่ม ราคาคงเดิม

รอบที่ 15 มีผู้เสนอราคาในชุดที่ 1 จำนวน 1 ราย โดยมีราคาเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 21,086 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาจึงขึ้นมาอยู่ที่ 22,280 ล้านบาท

สำหรับการประมูลชั่วโมงที่ 6 (15.00-16.00 น.)รอบที่ 16 ใบอนุญาตชุดที่ 1 ไม่มีผู้เสนอราคา จึงยืนราคาเดิมจากรอบก่อนหน้า และชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาเพิ่มเป็น 2 ราย ราคาขยับขึ้นมาอยู่ที่ 22,678 ล้านบาท

รอบที่ 17 ในชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาจึงเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 21,484 ล้านบาท ชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาขึ้นมาอยู่ที่ 23,076 ล้านบาท

และรอบที่ 18 ในชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคาจำนวน 1 ราย ราคาปรับขึ้นมาอยู่ที่ 21,882 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 ไม่มีผู้เสนอราคา ยืนราคาเดิมจากรอบที่แล้ว

 

นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและจัดการทรัพยากรโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) กล่าวว่า โดยการแข่งขันในขณะนี้ยังมีผู้แข่งขันเคาะราคาสู้กันอย่างต่อเนื่อง และน่าจะเคาะราคาสู้กันไปอีกอย่างน้อย 3 รอบ

การประมูลชั่วโมงที่ 7 (16.00-17.00 น.)รอบที่ 19 ในชุดที่ 1 ไม่มีผู้เสนอราคา จึงยืนราคาเดิมที่ 21,882 ล้านบาท ชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 23,474 ล้านบาท

รอบที่ 20 ในชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคาจำนวน 1 ราย ทำให้ราคาประมูลเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 22,280 ล้านบาท และชุดที่ 2 ไม่มีผู้เสนอราคา จึงยืนราคาเดิม

 

รอบที่ 21 ในชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคาจำนวน 1 ราย ราคาจึงเพิ่มไปถึง 22,678 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคาจำนวน 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 23,872 ล้านบาท

สำหรับการประมูลชั่วโมงที่ 8 (17.00-18.00 น.) รอบที่ 22 ในชุดที่ 1 ยืนราคาเดิมจากรอบก่อน และในชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาจำนวน 1 ราย ราคามาอยู่ที่ 24,270 ล้านบาท

รอบที่ 23 ในชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคาจำนวน 1 ราย ราคาอยู่ที่ 23,076 ล้านบาท และชุดที่ 2 ไม่มีผู้เคาะราคา จึงยืนราคาเดิม

รอบที่ 24 ในชุดที่ 1 กลับมามีผู้เข้าร่วมแข่งราคาเพิ่มเป็น 2 ราย เคาะราคาที่ 23,474 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 ยังไม่มีผู้เสนอราคาจึงยืนราคาที่ 24,270 ล้านบาท

สำหรับการประมูลชั่วโมงที่ 9 (18.00 -19.00 น.) รอบที่ 25 ในชุดที่ 1 ยืนราคาเดิมจากรอบก่อนที่ 23,474 ล้านบาท และในชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาจำนวน 1 ราย เปลี่ยนจากการแข่งราคาในชุดที่ 1 ราคาจึงขึ้นมาอยู่ที่ 24,668 ล้านบาท

รอบที่ 26 ในชุดที่ 1 ไม่มีใครเสนอราคา และชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคา 2 ราย ราคาเพิ่มมาเป็น 25,066 ล้านบาท

รอบที่ 27 ในชุดที่ 1 กลับมามีผู้เข้าร่วมแข่งราคาเพิ่ม 1 ราย เคาะราคาที่ 23,872 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาเพิ่มเป็น 25,464 ล้านบาท

การประมูลชั่วโมงที่ 10 (19.00 -20.00 น.)การแข่งขันราคายังคงเข้มข้น มีการเคาะราคาคลื่นความถี่ชุดที่ 1 คึกคัก โดยรอบที่ 28 ในชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคาแข่ง 1 ราย ราคาเพิ่มมาที่ราคา 25,464 ล้านบาท และในชุดที่ 2 ไม่มีผู้เคาะ ทำให้ราคายืนอยู่ที่ 25,464 ล้านบาท

รอบที่ 29 ในชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคาแข่ง 1 ราย เสนอราคาเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 24.668 ล้านบาท และชุดที่ 2 ไม่มีผู้เคาะราคา

รอบที่ 30 ในชุดที่ 1 ยังคงมีผู้เข้าร่วมแข่งราคา 1 ราย เคาะราคาเพิ่มขึ้นเป็น 25,066 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 ไม่มีใครเสนอราคาแข่งขัน ทำให้ราคาคงเดิมที่ 25,464 ล้านบาท

สำหรับการประมูลชั่วโมงที่ 11 (20.00 -21.00 น.) รอบที่ 31 ในชุดที่1 ไม่มีการเคาะราคา ยังยืนราคาที่ 25,066 ล้านบาท และ ในชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคา 1 ราย ราคาเพิ่มมาที่ 25,862 ล้านบาท

รอบที่ 32 ในชุดที่ 1 ไม่มีผู้เสนอราคา และชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาแข่ง 1 ราย ราคาเพิ่มเป็น 26,260 ล้านบาท

รอบที่ 33 ในชุดที่ 1 มีผู้เข้าร่วมแข่งราคา 1 ราย เคาะราคาเพิ่มมาที่ 25,464 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 ไม่มีใครเสนอราคาแข่งขัน ราคาคงเดิมที่ 26,260 ล้านบาท

หลังจากที่พักการประมูล 30 นาทีแล้ว (21.30 น.)เริ่มแข่งขันราคารอบที่ 34 ในชุดที่ 1 ไม่มีผู้เคาะราคา จึงคงราคาเดิม และในชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาแข่ง 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาเป็น 26,658 ล้านบาท

 

รอบที่ 35 เวลาประมาณ 22.05 น.ในชุดที่ 1 ไม่มีผู้เคาะราคา ทำให้ยืนที่ราคาเดิม 25,464 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาแข่ง 2 ราย ทำให้ราคาปรับขึ้นมาที่ 27,056 ล้านบาท

สำหรับการประมูลชั่วโมงที่ 13 (22.05-23.05 น.) การแข่งขันยิ่งดุเดือด รอบที่ 36 ในชุดที่ 1 เคาะราคาแข่งขัน 1 ราย ราคาเพิ่มมาที่ 25,862 ล้านบาท และในชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคา 1 ราย ราคาเพิ่มมาที่ 27,454 ล้านบาท

รอบที่ 37 ในชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคาเพิ่มมาเป็น 26,260 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาแข่ง 1 รายราคาเพิ่มเป็น 27,852 ล้านบาท

รอบที่ 38 ในชุดที่ 1 มีผู้เข้าร่วมแข่งราคา 1 ราย เคาะราคาเพิ่มเป็น 26,658 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคาแข่งขัน 1 ราย ราคาเพิ่มมาที่ 28,250 ล้านบาท

รอบที่ 39 ในชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคา 2 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาเป็น 27,056 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาแข่งขัน 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาที่ 28,648 ล้านบาท

รอบที่ 40 ในชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคาแข่งขัน 2 ราย ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นมาที่ 27,454 ล้านบาท และในชุดที่ 2 มีผู้เคาะแข่งราคา 1 ราย ราคาขึ้นมาที่ 29,046 ล้านบาท

รอบที่ 41 ชุดที่1 มีการเสนราคาแข่งขัน 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 27,852 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาแข่ง1รายราคาเพิ่มเป็น 29,444 ล้านบาท

รอบที่ 42 เข้าสู่ชั่วโมงที่ 15 ของการประมูล ชุดที่ 1 มีผู้เคาะแข่งราคา 1 ราย ราคาเพิ่มมาเป็น 28,250 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เคาะแข่งราคา 1 ราย ราคาเพิ่มมาที่ 29,842 ล้านบาท

รอบที่ 43 ในชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคาแข่งขัน 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาที่ 28,648 ล้านบาท และชุดที่ 2 ก็มีผู้แข่งขันราคา 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาที่ 30,240 ล้านบาท

รอบที่ 45 ชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคาแข่งขัน 1 ราย ราคาเพิ่มมาที่ 29,444 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้แข่งราคา 1 รายราคาขึ้นมาที่ 31,036 ล้านบาท

รอบที่ 46 ชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคาแข่งขัน ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นมาที่ 29,842 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาแข่งขันทำให้ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 31,434 ล้านบาท

รอบที่ 47 ในชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคาขึ้นมาเป็น 30,240 ล้านบาท และในชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาแข่ง 1 ราย ราคาเพิ่มมาเป็น 31,832 ล้านบาท

รอบที่ 48 ในชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคาแข่ง 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาเป็น 30,638 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาแข่ง 1 ราย ราคาเพิ่มเป็น32,230 ล้านบาท

รอบที่ 49 ในชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคา. 2 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาที่ 31,036 ล้านบาท และในชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 32,628 ล้านบาท

รอบที่ 50 เข้าสู่ชั่วโมงการประมูลที่ 18 โดยชุดที่1 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคาขึ้นมาที่ 31,434 ล้านบาท และชุดที่2 มีผู้เคาะราคา1รายราคาเพิ่มเป็น 33,026 ล้านบาท

รอบที่ 51 การประมูลยังคงเข้มข้น ในชุดที่1 มีผู้เสนอราคา 2รายเช่นเดิมราคาเพิ่มมาเป็น 31,832 ล้านบาท และในชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1ราย ราคาปรับขึ้นมาเป็น 33,424 ล้านบาท

รอบที่ 52 ในชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคาแข่ง 2 ราย ราคาเพิ่มมาเป็น 32,230 ล้านบาท และในชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคา 1 ราย ราคาขึ้นมาที่ 33,822 ล้านบาท

รอบที่ 53 ในชุดที่1 ยังคงเห็นการแข่งขันต่อเนื่องโดยมีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาเป็น 32,628 ล้านบาท และชุดที่ 2 ไม่มีผู้เสนอราคา ราคายืนที่เดิมที่ 33,822ล้านบาท

รอบที่ 54 ในชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคาเหลือ 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 33,026 ล้านบาท และในชุดที่ 2 คงไม่มีผู้เสนอราคา จึงยืนราคาเดิมที่33,822 ล้านบาท

รอบที่ 55 ในชุดที่ 1 ไม่มีผู้เสนอราคา ราคายืนที่ 33,026 ล้านบาท และชุดที่ 2 กลับมามีผู้เคาะราคาแข่ง 1 ราย ราคาจึงเพิ่มเป็น 34,220 ล้านบาท

รอบที่ 56 ในชุดที่ 1 กลับมาแข่งราคากัน โดยมีผู้เสนอ 1 ราย ราคาปรับขึ้นเป็น 33,424 ล้านบาท และชุดที่ 2 ไม่มีผู้เคาะราคา ทำให้ยืนราคาเดิมที่ 34,220 ล้านบาท

รอบที่ 57 ในชุดที่ 1 ยังคงมีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาเพิ่มเป็น 33,822 ล้านบาท และชุดที่ 2 ไม่มีผู้เสนอราคาเพิ่ม

รอบที่ 58 ในชุดที่ 1 ยังมีผู้เคาะราคาเพิ่ม 1 ราย ราคาจึงปรับขึ้นไปเป็น 34,220 ล้านบาท และชุดที่ 2 ยังคงราคาเดิมที่ 34,220 ล้านบาท

รอบที่ 59 ในชุดที่ 1 ไม่มีผู้เสนอราคา จึงยืนราคาที่ 34,220 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1ราย ราคาขยับขึ้นเป็น 34,618 ล้านบาท

รอบที่ 60 ในชุดที่ 1 ยังไม่รายใดสู้ราคา ทำให้ราคายืนอยู่ที่ 34,220 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาเพิ่มเป็น 35,016 ล้านบาท

รอบที่ 61 ชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ทำให้ราคาขยับขึ้นเป็น 34,618 ล้านบาท และชุดที่ 2 ไม่มีผู้เสนอราคาเพิ่ม

รอบที่ 62 และรอบ 63 ไม่มีผู้เสนอราคาทั้งสองรอบ ทำให้ราคาขุดที่ 1 ยืนอยู่ที่ 34,618 ล้านบาทและชุดที่ 2 ยืนราคาที่ 35,016 ล้านบาท

รอบที่ 64 กลับมีผู้เคาะราคาในชุดที่ 1 ทำให้ราคาขยับขึ้นเป็น 35,016 ล้านบาท เท่ากับราคาประมูลในชุดที่ 2

รอบที่ 67 เคาะใบแรกเพิ่มเป็น 35,414 ลบ.-ใบสองคงราคา 35,812 ลบ.

รอบที่ 68 ไม่มีผู้เคาะราคาทั้ง 2 ใบอนุญาต

รอบที่ 69 เคาะใบแรกเพิ่มเป็น 35,812 ลบ.เท่าใบสอง

ครบ 24 ชม.รอบ 71 เคาะใบแรกเพิ่มเป็น 36,608 ลบ.-ใบสองคงเดิม

ด้าน  ผู้บริหารระดับสูงของกทค.ประเมินว่าบริษัทที่ต้องการใบอนุญาต 4G คลื่นความถี่ 1800 MHz มากที่สุดคือ ADVANC และ TRUE เนื่องจาก ADVANC จะไม่มีคลื่นความถี่ใช้ในการให้บริการหลังหมดอายุสัมปทานกับ TOT ไปเมื่อเดือนก.ย.58 จึงต้องประมูลให้ได้ทั้งคลื่น 1800MHz อย่างน้อยจำนวน 15MHz  และคลื่น 900 MHz ที่เปิดประมูล 10 MHz ต่อใบอนุญาตในเดือนธ.ค.58 รวมแล้ว ADVANC คาดว่าจะได้ 25MHz ซึ่งก็ยังเป็นจำนวนน้อยลงจากเดิมที่มีใช้ 30MHz 

ด้าน TRUE น่าจะต้องการได้คลื่น 1800MHz เพราะเป็นคลื่นเดิมที่เคยใช้งานอยู่ โดยหากได้มาการลงทุนจะใช้ไม่มากและ TRUE มีไชน่า โมบาย พันธมิตรจากจีนที่มีเงินทุนมหาศาลให้การสนับสนุนธุรกิจอยู่

สำหรับ DTAC น่าจะรอได้เพราะสัญญาสัมปทานจะหมดลงในปี 61 ขณะที่ JAS เป็นรายใหม่ที่เข้ามาโดยมีพันธมิตรธุรกิจทั้งจากเกาหลีและญี่ปุ่น ซึ่ง JAS หวังจะนำคลื่น 1800 MHz ไปใช้ในธุรกิจโมบายบรอดแบรนด์ และที่เหลืออาจจะนำไปให้โอเปเรเตอร์รายอื่นเช่าใช้เพื่อไม่ให้ขาดทุนหรือแบกรับต้นทุนมากนัก

Back to top button