THAI ขาดทุนตามปกติแฉทุกวัน ทันเกมหุ้น

แม้นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI จะพยายามย้ำแล้วย้ำอีกว่า ผลของปัจจัยหนุนทั้งโครงการลดต้นทุนภายในองค์กรอย่างเข้มงวด และรับประโยชน์จากราคาน้ำมันลดลง จะทำให้อัตราการเติบโตของรายได้ของสายการบินแห่งชาติทั้งปี 2559 จะเติบโตมากขึ้นกว่าปี 2558 ที่มีรายได้รวม 192,723 ล้านบาท และคาดว่าจะมีอัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) ทั้งปีสูงถึง 80% ตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่เมื่อตัวเลขขาดทุนปรากฏขึ้นมาในไตรมาสที่ 2 คำพูดก็เปลี่ยนไปว่า เป็นเพราะสถานการณ์ “โลว์ซีซั่น” และบอกว่า ...จะพ้นจุดต่ำสุดในไตรมาสถัดไป


แม้นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI จะพยายามย้ำแล้วย้ำอีกว่า ผลของปัจจัยหนุนทั้งโครงการลดต้นทุนภายในองค์กรอย่างเข้มงวด และรับประโยชน์จากราคาน้ำมันลดลง จะทำให้อัตราการเติบโตของรายได้ของสายการบินแห่งชาติทั้งปี 2559 จะเติบโตมากขึ้นกว่าปี 2558 ที่มีรายได้รวม 192,723 ล้านบาท และคาดว่าจะมีอัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) ทั้งปีสูงถึง 80% ตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่เมื่อตัวเลขขาดทุนปรากฏขึ้นมาในไตรมาสที่ 2 คำพูดก็เปลี่ยนไปว่า เป็นเพราะสถานการณ์ “โลว์ซีซั่น” และบอกว่า …จะพ้นจุดต่ำสุดในไตรมาสถัดไป

คำแก้ตัวดังกล่าว ค้านสายตาคนดูและนักลงทุนมากทีเดียว เพราะก่อนหน้างบไตรมาส 2 จะออกมาไม่นาน นายจรัมพรคนเดียวกันนี่แหละ ที่บอกอย่างมั่นใจว่าได้เล็งอัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดรายได้เต็มที่เพื่อเทิร์นอะราวด์กลับมาตามแผน ในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว (Low Season) ทางการบินไทยได้เตรียมแผนบริหารความเสี่ยงไว้รองรับ ทั้งเรื่องบริหารราคาน้ำมัน การจัดโปรโมชั่นเพื่อส่งเสริมการตลาด เช่น ปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมผู้โดยสาร และปรับลดราคาตั๋วในช่วงนี้ เนื่องจากเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับต่ำก็จะเอื้อต่อการปรับลดราคาตั๋วได้เป็นอย่างดี

คนดีพูดอะไรก็ไม่มีใครอยากตั้งคำถาม…ซะยังงั้น

หากล้วงลึกผลการดำเนินงานของ THAI จะเห็นได้ชัดว่าตัวเลขขาดทุนสุทธิในไตรมาสสอง 2,921,077 ล้านบาท หรือ 1.34 บาต่อหุ้น นอกจากถือเป็นการขาดทุน “ตามปกติ” แล้ว ยังมีอะไรให้ต้องรื้อค้นอีกมากมาย เพื่อจะค้นหาว่า เบื้องลึกของการขาดทุนจากการดำเนินงานเรื้อรังนั้นเกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง

ที่บอกว่า THAI ขาดทุน “ตามปกติ” เพราะว่า ในหลายปีมานี้ งบทุกไตรมาสของบริษัทจะปรากฏตัวเลขขาดทุนจากการดำเนินการเรื้อรังมาโดยตลอด รวมทั้งไตรมาสล่าสุด

เพียงแต่ข้อยกเว้นบางไตรมาส…จะมีกำไรพิเศษเข้ามาทำให้กลายเป็นกำไรสุทธิ มีตัวเลขงบที่สวยขึ้น

กำไรพิเศษดังกล่าวของ THAI ก็แสนจะซ้ำซากเพราะมีปัจจัยหลัก 2 อย่างเท่านั้นคือ …1) ลดต้นทุนการเงิน 2) กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน…เพิ่งจะมีไตรมาสแรกของปีนี้แหละที่มีกำไรแปลก…จากการบันทึกกลับเพราะไม่ต้องบันทึกการด้อยค่าของทรัพย์สินที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์

ไตรมาสสองปีนี้ ไม่มีกำไรพิเศษดังกล่าวเข้ามา แต่กลับปรากฏตัวเลขบันทึกการด้อยค่าตามปกติโผล่มาให้เห็นระลอกใหม่ …ก็เลยขาดทุน “ตามปกติ” เหมือนเดิม

หากมองจากงบการเงิน รายได้ของ THAI ลดลงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากค่าโดยสาร หรือ ค่าระวางขนส่ง หรือ บริการอื่นๆ จาก 4.18 หมื่นล้านบาทของระยะเดียวกันปีก่อน มาเป็น 4.12 หมื่นล้านบาท ในขณะที่รายจ่ายก็ลดลงเล็กน้อยเช่นกัน จาก 4.65 หมื่นล้านบาท เป็น 4.30 หมื่นล้านบาท…ทำให้ขาดทุนจากการดำเนินงานไป 1.782 พันล้านบาท

ไม่เห็นจะโลว์ซีซั่นตรงไหน ..นะขอรับคุณจรัมพร

ตัวเลขขาดทุนจากการดำเนินงานไม่สำคัญเท่ากับตัวเลขต่อไปนี้ 2 รายการ คือ ตัวเลขค่าใช้จ่ายผลประโยชน์จากการให้พนักงานลาออกโดยสมัครใจตามโครงการลดจำนวนพนักงาน จากเดิมที่เคยมากถึง 3.72 พันล้านบาทเมื่อปีก่อน ลงมาเหลือแค่ 42 ล้านบาท และรายการบันทึกด้อยค่าของสินทรัพย์และเครื่องบิน ที่เพิ่มจากปีก่อน 426 ล้านบาท เป็น 1.87 พันล้านบาท

บันทึกจากการด้อยค่าเครื่องบินนี้ มีรายงานในหมายเหตุประกอบงบการเงินชี้แจงว่า เป็นตัวเลขการตั้งสำรองด้อยค่าของเครื่องบินที่ปลดระวางและรอขาย 1.43 พันล้านบาท และตั้งสำรองด้อยค่าของเครื่องบิน A340-500 และ A340-600 ที่ยังขายไม่ออกอีก 325 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับปีก่อน ทั้งที่ได้ขายออกไปแล้ว 1 ลำให้กับกองทัพอากาศ

โชคดีที่ยังมีตัวเลขบวกของกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 595 ล้านบาท ซึ่งดีขึ้นกว่าตัวเลขขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนของปีก่อน 3.67 พันล้านบาท ช่วยให้ตัวเลขขาดทุนไม่ขี้เหร่ตามที่เป็นจริง

ที่น่าสนใจ สำหรับการวัดคุณภาพของผู้บริหาร THAI ที่ตัวเลข จำนวนโดยสารของสายการบิน ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5.07 ล้านคน มาเป็น 5.11 ล้านคน แต่อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสารกลับลดลง จากเดิม 69.2% มาเป็นปีนี้ 69.0% …จำนวนคนโดยสารเพิ่ม แต่ เคบิน แฟ็กเตอร์ กลับลดลง  ห่างไกลจากตัวเลขเป้าหมาย 80% หลายเท่า…จะให้หมายความว่ายังไงครับท่าน

ตัวเลขการขาดทุน “ตามปกติ” เพราะมีตัวเลขบันทึกด้อยค่า หรือ การเอาเครื่องบินมาจอดทิ้งโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการบินพาณิชย์เช่นนี้ น่าจะยังคงรบกวน THAI ต่อไปอีกนานพอสมควร

ยิ่งล่าสุด มีปัจจัยใหม่เข้ามาทดสอบอีกคือ ในไตรมาส 3 นี้ จะมีการรับมอบเครื่องบินใหม่ A350-900 XWB เพิ่มมาอีก 2 ลำ ซึ่งมีโจทย์สำคัญรออยู่ว่า จะสามารถวางแผนฝูงบินเพื่อใช้ประโยชน์จากเครื่องบินใหม่นี้เพิ่มเติมอย่างไร เพื่อจะได้ไม่ต้องมีการเพิ่มตัวเลขบันทึกด้อยค่าเพิ่มเติมอีก

โจทย์นี้ อาจจะต้องไปถามนายจรัมพร ซ้ำอีก…แต่จะได้คำตอบหรือไม่…คาดเดายากเหลือเกิน เพราะอาจจะรอดอกพิกุลร่วงเสียก่อน

เหตุผลก็เพราะยามนี้ นายจรัมพร ดูจะพึงพอใจกับ การพูดถึงเรื่องร่วมมือกับสายการบินพันธมิตร 10 กว่าแห่งในการทำ Code Sharing เพิ่มขึ้น มากกว่าเรื่องอื่นๆ

อิ อิ อิ”

Back to top button