ทีวีดิจิตอลทรงกับทรุด
ต้องบอกว่าเส้นทางของ “ทีวี ดิจิตอล”ต้องฝ่าฟันกับสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา ต้องแข่งขันกันผลิตรายการที่น่าสนใจเพื่อเพิ่มความนิยมของช่อง นั่นคือต้นทุนทั้งบุคลากร ค่าผลิตรายการหรือค่าลิขสิทธิ์ในการซื้อรายการ และต้องจ่ายค่าใบอนุญาตแต่ละงวดจนกว่าจะครบ
–เส้นทางนักลงทุน–
ต้องบอกว่าเส้นทางของ “ทีวี ดิจิตอล”ต้องฝ่าฟันกับสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา ต้องแข่งขันกันผลิตรายการที่น่าสนใจเพื่อเพิ่มความนิยมของช่อง นั่นคือต้นทุนทั้งบุคลากร ค่าผลิตรายการหรือค่าลิขสิทธิ์ในการซื้อรายการ และต้องจ่ายค่าใบอนุญาตแต่ละงวดจนกว่าจะครบ
ขณะที่รายได้จากเม็ดเงินโฆษณาหรือการปล่อยช่วงเวลาให้เช่ายังไม่มากพอที่จะเลี้ยงตัวเองได้ เว้นแต่ช่องที่ได้รับความนิยมสูง “ช่องที่มีเรทติ้งสูง” เหตุดังกล่าวยังคงทำให้หลายช่องยังต้องเข้าตาจนอยู่ เหมือนกับยืนอยู่บนปากเหวเพียงแค่ใครยังกัดฟันสู้ได้มาราธอนกว่ากัน หรือใครมีเงินหมุนเวียนมากก็รอด
ทั้งนี้จึงข้อสำรวจข้อมูลผลประกอบการของบริษัทที่ดำเนินการทีวีดิจิตอลว่ายังมีพื้นฐานระดับไหนกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้นั้นเป็นอย่างไร
บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือBECรายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน2559 มีกำไรสุทธิ 251.14 ล้านบาท หรือ 0.12 บาทต่อหุ้น ลดลง 68% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 791.11 ล้านบาท หรือ 0.39 บาทต่อหุ้น เหตุกำไรลดลงเนื่องจากบริษัทมีรายได้จากการขายเวลาโฆษณาน้อยกว่าไตรมาสก่อน 376.40 ล้านบาท และมีรายได้อย่างอื่นและทำกำไรขั้นต้นจากการจัดการแสดงได้น้อยลงด้วย
ขณะที่ผลการดำเนินงานช่วง 9 เดือนแรกมีกำไรสุทธิ 1.29 พันล้านบาท หรือ 0.64 บาทต่อหุ้น ลดลง 42% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2.23 พันล้านบาท หรือ 1.11 บาทต่อหุ้น
บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ WORKรายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2559 มีกำไรสุทธิ 108.02 ล้านบาท หรือ 0.26 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 134.37% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 46.09 ล้านบาท หรือ 0.11 บาทต่อหุ้น เป็นผลจากรายได้จากธุรกิจรายการโทรทัศน์ ประกอบด้วยรายได้จากการขายโฆษณาและโปรโมทในช่วงเวลาต่างๆของสถานีโทรทัศน์ของบริษัท สถานีโทรทัศน์ของบริษัท สถานีโทรทัศน์อื่น และช่องทางสื่อต่างๆ รวมถึงค่าเช่าช่วงเวลาแก่บุคลนอกออกอากาศรายการ รายได้จากการรับจ้างผลิตรายการเพื่อออกอากาศ และรายได้จากการจำหน่ายหน่วยลิขสิทธิ์รายการไปยังต่างประเทศ ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของรายได้ธุรกิจรายการโทรทัศน์ของบริษัทมาจาก ช่อง WORKPOINT
ขณะที่ผลการดำเนินงานช่วง 9 เดือนแรกมีกำไรสุทธิ 270.64พันล้านบาท หรือ 0.65 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น130.51% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 117.41 พันล้านบาท หรือ 0.28 บาทต่อหุ้น
บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ MONOรายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2559 มีกำไรสุทธิ 10.12 ล้านบาท หรือ 0.003 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 111.82 ล้านบาท หรือ 0.036 บาทต่อหุ้น โดยกำไรที่พลิกเป็นกำไรเนื่องจาก บริษัทมีรายได้จากการให้บริการสื่อโฆษณาเพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้จากธุรกิจทีวีดิจิตอลเติบโตขึ้นตามเรตติ้งช่อง Mono29
ขณะที่ผลการดำเนินงานช่วง 9 เดือนแรกมีผลขาดทุนสุทธิ 56.99 ล้านบาท หรือ 0.018 บาทต่อหุ้น ขาดทุนลดลง 86.13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุนสุทธิ 410.82 ล้านบาท หรือ 0.133 บาทต่อหุ้น
บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GRAMMY รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2559 มีผลขาดทุนสุทธิ 10.98 หรือ 0.01 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อน ที่ขาดทุนสุทธิ 139.37 ล้านบาท หรือ 0.17 บาทต่อหุ้น เหตุที่บริษัทมีการขาดทุนลดลงเกิดจากธุรกิจดิจิทัลทีวี และธุรกิจกล่องรับสัญญาณจีเอ็มเอ็มแซทมีรายได้ที่ดีขึ้น
ขณะที่ผลการดำเนินงานช่วง 9 เดือนแรกมีผลขาดทุนสุทธิ 263.95 ล้านบาท หรือ 0.32 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 142.42 ล้านบาท หรือ 0.0.17 บาทต่อหุ้น
บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ RS รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2559 มีผลขาดทุนสุทธิ 60.99 หรือ 0.06 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 17.62 ล้านบาท หรือ 0.02 บาทต่อหุ้น สาเหตุจากรายได้ธุรกิจโทรทัศน์ดาวเทียม ธุรกิจเพลง และธุรกิจรับจ้างและผลิตกิจกรรมที่ลดลงเป็นหลัก
ขณะที่ผลการดำเนินงานช่วง 9 เดือนแรกมีผลขาดทุนสุทธิ 39.07ล้านบาท หรือ 0.04 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 1.07 ล้านบาท หรือ 0.00 บาทต่อหุ้น
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ AMARINรายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2559 มีผลขาดทุนสุทธิ 126.26 หรือ 0.57 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 142.26 ล้านบาท หรือ 0.65 บาทต่อหุ้น สาเหตุที่ขาดทุนลดลงเป็นผลจากธุรกิจทีวีดิจิตอลของบริษัทย่อยที่เริ่มมีรายได้และผลดำเนินงานที่ดีขึ้น
ขณะที่ผลการดำเนินงานช่วง 9 เดือนแรกมีผลขาดทุนสุทธิ 468.93 ล้านบาท หรือ 2.13 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 379 ล้านบาท หรือ 1.72 บาทต่อหุ้น
บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ MCOTรายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2559 มีผลขาดทุนสุทธิ 252.11 ล้านบาท หรือ 0.37 บาทต่อหุ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 55.39 ล้านบาท หรือ 0.08 บาทต่อหุ้น สาเหตุที่บริษัทพลิกขาดทุนเนื่องจากรายได้จากการดำเนินงานโทรทัศน์และวิทยุลดลงและค่าใช้จ่ายดำเนินงานเพิ่ม
ขณะที่ผลการดำเนินงานช่วง 9 เดือนแรกมีผลขาดทุนสุทธิ 463.30 ล้านบาท หรือขาดทุนสุทธิ 0.67 บาทต่อหุ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 100.61ล้านบาท หรือ 0.15บาทต่อหุ้น
ภาพรวมผลการดำเนินงานของบริษัทผลิตทีวีดิจิตอลยังอยู่ในลักษณะทรงกับทรุดอยู่!!
ต้องบอกว่าในธุรกิจ “ทีวี ดิจิตอล” เป็นอะไรที่น่าติดตามลุ้นระทึกกันต่อไป
…
ผลประกอบการของกลุ่มทีวีดิจิตอล
หลักทรัพย์ | ไตรมาสที่3 | กำไรต่อหุ้น | งวด9 เดือน | กำไรต่อหุ้น | ||||
(ล้านบาท) | (บาทต่อหุ้น) | (ล้านบาท) | (บาทต่อหุ้น) | |||||
2559 | 2558 | 2559 | 2558 | 2559 | 2558 | 2559 | 2558 | |
BEC | 251.14 | 791.11 | 0.12 | 0.39 | 1288.51 | 2230.2 | 0.64 | 1.11 |
WORK | 108.02 | 46.09 | 0.26 | 0.11 | 270.64 | 117.41 | 0.65 | 0.28 |
MONO | 10.12 | -111.82 | 0 | -0.04 | -56.99 | -410.82 | -0.02 | -0.13 |