คุณค่าบริษัท : AMATA สดใส
ด้วยรัฐบาลได้ผลักดันการลงทุนใหม่ภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) อย่างหนัก จึงทำให้นิคมอุตสาหกรรม (IE) มีแนวโน้มที่สดใสขึ้น และด้วยทำธุรกิจพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว
ด้วยรัฐบาลได้ผลักดันการลงทุนใหม่ภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) อย่างหนัก จึงทำให้นิคมอุตสาหกรรม (IE) มีแนวโน้มที่สดใสขึ้น และด้วยทำธุรกิจพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว
งานนี้ทำให้นักวิเคราะห์มอง บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA เป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรงและมากที่สุดจากโครงการ EEC แม้คาดว่าปริมาณขายที่ดินของ AMATA จะอยู่ในระดับปานกลางก่อนรอบการลงทุนใหม่จะเข้ามาในอีก 2 ปีข้างหน้า แต่ราคาที่ดินน่าจะปรับขึ้นก่อนที่ความต้องการที่แท้จริงจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ยังไม่ได้ใช้ break-up value ในการคำนวณมูลค่าที่ดินอีกต่อไป
ทั้งนี้ ได้ปรับเพิ่มสมมติฐานราคาที่ดิน 3% ต่อปี ในปี 2561-2562 เป็น 6-10% ซึ่งส่งผลให้ประมาณการกำไรถูกปรับขึ้น 3-6% ในปี 2561-2562 โดยไม่กล้าคิดประมาณการนั้นสูงไป เนื่องจาก AMATA มีทำเลที่ดีทำให้มีความสามารถในการขึ้นราคาขายที่ดีในอดีต แม้ความต้องการจากโครงการ EEC จะยังไม่เข้ามา
แต่ AMATA ได้ปรับขึ้นราคาที่ดินที่ Amata Nakorn ในชลบุรีขึ้นแล้ว 7% ในปี 2558 และ 13% ในปี 2559 เป็น 8.5 ล้านบาทต่อไร่ (US$0.6/เอเคอร์) และที่ AMATA City ในระยอง 19% เป็น 3.8 ล้านบาทต่อไร่ ในปี 2559 ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ปรับขึ้นมาแล้ว 18-20% ต่อปี ในปี 2555-2556 เนื่องจากความต้องการย้ายโรงงานมายังภาคตะวันออกของไทยจากเหตุอุทกภัยในจังหวัดทางภาคกลางในปี 2554
ด้วยจากที่นักวิเคราะห์ มองว่าความต้องการที่ดินจากโครงการ EEC น่าจะไม่เข้ามาในเร็วๆ นี้ แต่น่าจะเข้ามาในอีกสองปีข้างหน้า เนื่องจากปกติแล้วกระบวนการขอ FDI ต้องใช้เวลานานกว่าจะมีการซื้อที่ดินเกิดขึ้น แต่ก็ยังคงประมาณการยอดขายที่ดินไว้ที่ 600 ไร่ต่อปี ในปี 2560-2562 และคาดว่าจะมียอดขายที่ดินถึง 800-1,300 ไร่ ในปี 2563-2565
ขณะที่ผลการดำเนินงานไตรมาส 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2560 บริษัทมีรายได้ทั้งสิน 793.62 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ 806.54 ล้านบาท แต่บริษัทมีกำไรขยับขึ้นมาอยู่ที่ 250.63 ล้านบาท หรือ 0.235 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อน 80.27 ล้านบาท หรือ 0.075 บาทต่อหุ้น กำไรสุทธิของบริษัทที่เพิ่มขึ้นนั้นโดยปัจจัยหลักเกิดจากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม
นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์ฐานะทางการเงินเพื่อเป็นตัวแปรในการตัดสินใจต่อการลงทุน พบว่าฐานะทางการเงินของบริษัทยังมีความแข็งแกร่งมาก เพราะบริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากถึง 10,022.71 ล้านบาท เมื่อนำมาเทียบกับหนี้สินหมุนเวียนเพียง 4,399.25 ล้านบาท ได้ค่า CURRENT RATIO อยู่ที่ระดับ 2.28 เท่า ถือว่าสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทยังเกินความจำเป็น
ส่วนหนี้สินของบริษัทไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง เพราะบริษัทมีหนี้สินรวมแค่ 11,716.78 ล้านบาท เมื่อนำมาเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้นมากถึง 14,290.99 ล้านบาท ได้ค่า D/E อยู่ที่ระดับ 0.82 เท่า แสดงว่าบริษัทยังไม่มีหนี้สินมารบกวน
ขณะที่นักวิเคราะห์ บล.ธนชาต เลือก AMATA ให้เป็น Top Pick ในกลุ่มฯ เนื่องจากได้ประโยชน์จาก EEC และนิคมในเวียดนาม ผ่านการถือหุ้นใน AMATAV (ถือหุ้น 73%) ด้วยได้ประโยชน์จาก EEC มากที่สุดในกลุ่ม จึงมองว่า AMATA มีมูลค่าที่ถูก โดยในแง่ของ P/BV บริษัทฯ ซื้อขายที่ 1.3 เท่า ต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 19 ปีที่ 1.9 เท่าราว 32% โดยหากสมมติที่ P/BV ที่ 1.9 เท่า แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 23 บาทต่อหุ้น
…
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
- นายวิกรม กรมดิษฐ์ 191,345,900 หุ้น 17.93%
- บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 86,996,914 หุ้น 8.15%
- STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 41,156,757 หุ้น 3.86%
- CITIBANK NOMINEES SINGAPORE PTE LTD-UBS AG LDN BRANCH A/C CLIENT NRBS 37,838,500 หุ้น 3.55%
- CHASE NOMINEES LIMITED 35,286,400 หุ้น 3.31%
รายชื่อกรรมการ
- นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ประธานกรรมการ
- นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ รองประธานกรรมการ
- นายวิกรม กรมดิษฐ์ กรรมการผู้จัดการ
- นายวิกรม กรมดิษฐ์ กรรมการ
- นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการ