SAMTEL อ้าแขนรอ…

การผลักดันนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาล จะช่วยให้ตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ขยายตัวมากยิ่งขึ้น เพราะจะมีการนำ ICT มาใช้สร้างนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) สำหรับภาครัฐจะมีการจัดสรรงบประมาณ และเปิดประมูลโครงการต่างๆ ด้าน ICT เพิ่มขึ้น


คุณค่าบริษัท

การผลักดันนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาล จะช่วยให้ตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ขยายตัวมากยิ่งขึ้น เพราะจะมีการนำ ICT มาใช้สร้างนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) สำหรับภาครัฐจะมีการจัดสรรงบประมาณ และเปิดประมูลโครงการต่างๆ ด้าน ICT เพิ่มขึ้น

สิ่งที่รัฐบาลผลักดันจะส่งผลดีต่อธุรกิจที่เกี่ยวของ สิ่งนี้จะทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสได้รับงานมากขึ้น อย่างเช่น บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ SAMTEL คาดจะได้ประโยชน์โดยตรงจากนโยบายดังกล่าวจากการเป็นผู้ประกอบธุรกิจอย่างครบวงจร เช่น การให้คำปรึกษา รับเหมา ออกแบบติดตั้ง บริหารจัดการ และบำรุงรักษาระบบให้แก่องค์กรภาครัฐและเอกชน บวกกับบริษัทได้หันมามุ่งเน้นลูกค้าภาครัฐเป็นหลักอีกด้วย

ที่สำคัญก่อนหน้าบริษัทมีโครงการใหม่ที่เซ็นสัญญาไปแล้วเมื่อครึ่งแรกของปี 60 มูลค่า 3.84 พันลบ. และโครงการในมือที่รอรับรู้รายได้ Backlog 9.63 พันลบ. ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 60 รวมทั้งคาดหวังว่าจะได้เซ็นสัญญาโครงการใหม่เพิ่มอีกราว 7.3 พันลบ. ในครึ่งหลังของปี 60 แบ่งเป็นช่วงไตรมาส 3 ปี 60 จำนวน 3.8 พันลบ. หลังจากงานโครงการขนาดใหญ่ของหน่วยงานภาครัฐมูลค่า 2.6 พันลบ. และส่วนที่เหลือ 3.5 พันลบ. ในไตรมาส 4 ปี 60

นอกจากนี้โครงการในสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 ของ AOT รวมมูลค่าทั้งสิ้น 1.1 หมื่นลบ. ในปี 60 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 5 ปี และทำให้ Backlog เพิ่มขึ้นเป็น 1.2 หมื่นลบ. ณ สิ้นปี 60 ซึ่งจะช่วยหนุนให้กำไรปี 61-62 ดีต่อเนื่อง

ด้วยปัจจัยที่เป็นบวก ทางนักวิเคราะห์ บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ประเมินกำไรสุทธิทั้งปี 60 อยู่ที่ 275 ล้านบาท หรือ EPS ที่ 0.44 บาทต่อหุ้น (เพิ่มขึ้น 49% จากงวดเดียวกันของปีก่อน) ซึ่งเป็นประมาณการที่ระมัดระวัง เนื่องจากในช่วงครึ่งแรกของปี 60 มีกำไรสุทธิ 141 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 22% เทียบกับครึ่งปีแรกของปีก่อน) หรือ คิดเป็น 51% ของประมาณการทั้งปีนี้แล้ว

ประกอบกับคาดกำไรปี 61-62 เพิ่มเป็น 336-420 ล้านบาท หรือ EPS ที่ 0.54-0.68 บาทต่อหุ้น ตามลำดับ โดยได้แรงหนุนจาก Backlog ที่แข็งแกร่งราว 1.2 หมื่นลบ. ณ สิ้นปี 60 และใช้สมมติฐาน GPM ที่ 16-18% ในปี 60-62 ลดลงจากอดีตที่ 18-20% เนื่องจากคาดว่าโครงการขนาดใหญ่จะมีอัตรากำไรลดลง ตามภาวะการแข่งขันในตลาดสูงขึ้น

สิ่งสำคัญสภาพคล่องทางการเงินอยู่ในระดับที่ดี โดย current ratio แม้ต่ำกว่า 1 เท่า ในปี 60-62 แต่เนื่องจากบริษัทมีนโยบายที่ใช้เงินกู้ยืมระยะสั้นเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับงานโครงการที่ได้รับ และจะชำระคืนเงินกู้เมื่อได้รับเงินจากโครงการ ทำให้บริษัทยังคงมีสภาพคล่องเพียงพอต่อการจ่ายคืนหนี้ และดอกเบี้ยตรงต่อเวลา

ขณะที่ปี 60-62 อัตราส่วน D/E จะสูงกว่า 1 เท่า แต่ความสามารถในการชำระหนี้ยังดี โดยคาดอัตราส่วน EBITDA/ดอกเบี้ยจ่าย = 12 เท่า ในปี 60-62 ดีขึ้นจากปี 58-59 ที่ 9.5-9.75 เท่า ซึ่งเป็นผลจากกำไรที่เพิ่มขึ้นมากในปี 60-62 รวมทั้ง อัตราส่วนดังกล่าวสูงกว่าข้อกำหนดในการออกหุ้นกู้ระยะสั้นที่ให้บริษัทดำรงอัตราส่วนนี้ไม่ต่ำกว่า 1.1 เท่า ณ สิ้นงวด

ดังนั้นแนะนำ “ซื้อเก็งกำไร” ราคาเป้าหมาย 15.20 บาทต่อหุ้น

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  1. บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 433,464,590 หุ้น 70.14%
  2. ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 29,966,560 หุ้น 4.85%
  3. กองทุนเปิด บัวหลวงหุ้นระยะยาว 12,474,200 หุ้น 2.02%
  4. บริษัท วิไลลักษณ์ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง จำกัด 7,795,200 หุ้น 1.26%
  5. น.ส.วรมาศ ศรีวัฒนประภา 6,030,300 หุ้น 0.98%

รายชื่อกรรมการ

  1. นายสมบัติ อุทัยสาง ประธานกรรมการ
  2. นายสมบัติ อุทัยสาง กรรมการอิสระ
  3. นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร
  4. นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการ
  5. นายจง ดิลกสมบัติ กรรมการผู้จัดการใหญ่

Back to top button