สรุปปัจจัยสำคัญตลาดทุน-การเงิน-เศรษฐกิจวันนี้

สรุปปัจจัยสำคัญตลาดทุน-การเงิน-เศรษฐกิจประจำวันที่ 15 พ.ค.58


– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 119.73 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 119.38 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1354 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1410 ดอลลาร์/ยูโร

– ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,512.19 จุด เพิ่มขึ้น 14.79 จุด หรือ 0.99% มูลค่าการซื้อขาย 33,059.93 ล้านบาท

– สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 774.49 ล้านบาท (SET+MAI)

 

– มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาสแรกของไทย ซึ่งมีกำหนดการเปิดเผยในวันจันทร์นี้ น่าจะขยายตัว 3.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วที่หดตัวลง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังคงมีแนวโน้มที่ไม่สดใสเท่าไรนัก เนื่องจากการบริโภค ศักยภาพในการส่งออก และตัวเลขการใช้จ่ายนั้นอ่อนแรงลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียนแล้ว มูดีส์มองว่า เศรษฐกิจไทยน่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง

– วาณิชธนกิจเจพี มอร์แกน เชส คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางจีนจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 โดย มีความเป็นไปได้มากกว่าที่ธนาคารกลางจีนอาจจะปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR)

– รัฐบาลญี่ปุ่น เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน เม.ย.ปรับตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน แตะที่ระดับ 41.5 ในเดือนเม.ย.เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายรายการ รวมถึงอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้น

– ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี ปิดปรับตัวลงในวันนี้ ตามผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในระยะยาวของหรัฐที่ร่วงลงเมื่อคืนนี้ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรหมายเลข 338 ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว ปิดที่ 0.390% ลดลง 0.055% จากระดับปิดเมื่อวานนี้ ขณะที่ราคาสัญญาพันธบัตรอายุ 10 ปี ส่งมอบเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.47 จุด แตะระดับ 147.27 ที่ตลาดหุ้นโอซาก้า

– นายฮารุฮิโกะ คูโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) แสดงความเชื่อมั่นว่า ธนาคารจะบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% แม้จะเกิดเหตุการณ์ที่เหนือความคาดหมายบางประการ ซึ่งรวมถึงการร่วงลงของราคาน้ำมันดิบ และการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่อ่อนแรงเกินคาด ขณะที่นโยบายผ่อนคลายทางการเงินขนานใหญ่ของ BOJ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ควบคู่ไปกับนโยบายของรัฐบาล ได้ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนทัศนคติเชิงลบของประชาชน ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเงินฝืด

 

ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์

Back to top button