เหนือโอเปกมีสหรัฐพลวัต2015

นับแต่การฟื้นตัวของราคาน้ำมันดิบตลาดโลกครั้งใหม่จนเข้าสู่จุดสูงสุดรอบ 5 เดือนช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สิ่งที่สังเกตได้ง่ายมาก คือ การแกว่งตัวของราคาน้ำมันไม่ได้ขึ้นกับอุปทานหรือท่าทีของกลุ่มโอเปกอีกต่อไป


นับแต่การฟื้นตัวของราคาน้ำมันดิบตลาดโลกครั้งใหม่จนเข้าสู่จุดสูงสุดรอบ 5 เดือนช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สิ่งที่สังเกตได้ง่ายมาก คือ การแกว่งตัวของราคาน้ำมันไม่ได้ขึ้นกับอุปทานหรือท่าทีของกลุ่มโอเปกอีกต่อไป

ปัจจัยที่กำหนดราคาน้ำมันโลกใน 1 เดือนที่ผ่านมา คือ ตัวเลขผลผลิตและสำรองน้ำมันของสหรัฐ เป็นสำคัญ

นั่นหมายความว่า นับแต่นี้ไปสหรัฐคือตัวแปรที่ทำให้ทิศทางของราคาน้ำมันขึ้นลงอย่างแท้จริง เป็นผู้ทรงอิทธิพลเหนือราคาน้ำมันและตลาดน้ำมันไปอย่างยาวนาน จนกว่าจะมีตัวแปรอื่นเข้ามาทำให้มีการเปลี่ยนแปลงจากปัจจุบัน

สถานการณ์นี้เท่ากับโอเปกกลายเป็นเสือกระดาษในวงการน้ำมันโดยปริยาย

นักวิเคราะห์วงการน้ำมันในยุโรปและสหรัฐถึงกับพากันออกมาให้ความเห็นว่า แม้โอเปกจะยังมีกำลังการผลิตรวมสูงสุดในโลก แต่การปรับอุปทานของกลุ่มขึ้นลงทำได้ยากมากไม่เหมือนสหรัฐที่เทคโนโลยีการปรับปิดเปิดหลุมออยล์เชลทำได้ง่ายกว่ามาก จึงกลายเป็นปัจจัยทำให้ราคาเปลี่ยนทิศได้ง่ายกว่ามาก

สถานการณ์นี้นอกเหนือความคาดหมายของผู้นำชาติโอเปกอย่างมาก

หลายเดือนก่อนตอนนี้วิกฤตราคาน้ำมันเกิดขึ้นโอเปกได้ทำการตัดสินใจครั้งสำคัญ โดยยืนกรานคงระดับการผลิตที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันดิ่งแรง จนแตะระดับต่ำสุดรอบ 5 ปี เพราะต้องการให้ผู้ผลิตน้ำมันของสหรัฐที่มีต้นทุนสูงกว่าจำต้องลดกำลังการผลิตลง

การตัดสินใจดังกล่าวได้ผลระยะหนึ่ง เพราะช่วยให้ชาติสมาชิกโอเปก 12 ประเทศ ซึ่งผลิตน้ำมันดิบป้อนตลาดโลกถึง 1 ใน 3 รักษาส่วนแบ่งในตลาดน้ำมันเอาไว้ได้

โอเปกเชื่อว่าการลดกำลังผลิตเพียงฝ่ายเดียวโดยปราศจากความเคลื่อนไหวแบบเดียวกันของคู่แข่ง มีความเสี่ยงที่จะพวกเขาจะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเติม โดยเฉพาะกับเหล่าชาติผู้ผลิตน้ำมันในอเมริกาเหนือ

ครั้งแรกนั้นนักวิเคราะห์เชื่อว่า สงครามราคาที่มีต้นทุนสูงกว่า ทำให้ผู้ผลิตของสหรัฐเสียเปรียบและเสียความสามารถในการแข่งขันในอนาคต เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูงกว่า ช่วยคลายแรงกดดันต่อโอเปกระยะยาว แต่เมื่อเวลาผ่านไปความเชื่อนั้นได้ถูกทำลายลงด้วยข้อเท็จจริงว่าผู้ผลิตสหรัฐ ปรับตัวเก่งมากด้วยแรงส่งของวิศวกรรมการผลิตและการเงิน

ผลที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึง คือ การปรับลดและเพิ่มผลผลิตยืดหยุ่นทำให้สหรัฐมีอิทธิพลต่อราคาน้ำมันอย่างเข้มข้นมากขึ้น ผู้ผลิตของสหรัฐกลายเป็นผู้ชนะที่ไม่ได้เจตนาโดยปริยาย

หากมองจากมุมของการบริหารจัดการความยืดหยุ่นและการปรับเทคโนโลยีการผลิตที่ยืดหยุ่นมากกว่าหมายถึงความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่าและต้นทุนการผลิตที่มากกว่ากลับไม่ได้เป็นปัจจัยลบมากอย่างที่คาด เพราะหากคิดถึงการขนส่งผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐมีต้นทุนค่าขนส่งต่ำกว่าโอเปกหลายเท่าเพราะแค่ผลิตป้อนตลาดสหรัฐเองก็แทบไม่ต้องหาตลาดอื่นๆ อยู่แล้ว

ความได้เปรียบเช่นนี้ทำให้โอเปกตกเป็นเบี้ยล่างในสงครามกำหนดราคาน้ำมันอย่างเลี่ยงไม่พ้น

โจทย์ที่โอเปกคาดไม่ถึงจึงเป็นโจทย์ที่ยังแก้ไม่ตก

เหมือนครั้งหนึ่งที่โอเปกเคยเสียท่าตกลงรับปากปี ค.ศ. 1973 มาแล้วว่า จะใช้ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้นในการค้าน้ำมันทั่วโลก ซึ่งยังดำรงอยู่มาถึงปัจจุบันจะบอกว่าเหนือโอเปกมีสหรัฐก็คงไม่ผิด…

 

Back to top button