EA กระฉูด 22% รับลูก”บล.ธนชาต”จัดหนักอัพเป้าสูง 110 บ. เก็งกำลังผลิตแบตเตอรี่ ES โตทะลัก
EA กระฉูด 22% รับลูก "บล.ธนชาต" จัดเป้าสูง 110 บ. เก็งกำลังผลิตแบตเตอรี่ ES โตทะลัก โดยปิดตลาดเช้านี้ (11 ม.ค.) อยู่ที่ 64.75 บาท บวก 11.50 บาท หรือ 21.60% สูงสุดที่ 66 บาท ต่ำสุดที่ 56.50 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 4.73 พันล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ปิดตลาดเช้านี้ (11 ม.ค.) อยู่ที่ 64.75 บาท บวก 11.50 บาท หรือ 21.60% สูงสุดที่ 66 บาท ต่ำสุดที่ 56.50 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 4.73 พันล้านบาท ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยโดยรวมบวก 0.08%
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ บล.ธนชาต ระบุในบทวิเคราะห์ ให้ราคาเป้าหมาย EA ปี 61 ที่ 110 บาทต่อหุ้น อิง WACC ที่ 7% และราคาเป้าหมายปี 63 ที่ 130 บาทต่อหุ้น โดยปรับสมมติฐานเพิ่มกำลังการผลิตโรงงานแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานเป็น 30 GWh ในช่วงปี 2562-2566 จากเดิม 10 GWh ( 60% ของแผน ES ของบริษัทที่ 50 GWh)
โดยมองว่า EA เป็นหนึ่งในหุ้นที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงที่สุดของไทย และคาดว่ากำไรของบริษัทจะเพิ่มขึ้น 3.2 เท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า และ 8.6 เท่าใน 10 ปี (จากปี 60) ด้วยธุรกิจ ES Power Solution จะสร้างกระแสเงินสดให้อย่างสม่ำเสมอและมีเสถียรภาพ
รวมทั้งคาดว่า EA จะสร้างอาณาจักร ภายใต้แนวคิด “Smart Cities” บนพื้นที่ราว 3,000 ไร่ ในจ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งจะมีโรงงาน ES ใหญ่ระดับโลกมีกำลังผลิต 30 GWh โรงานไบโอดีเซลใหม่ขนาด 1 ล้านตัน (มีแผนอัพเกรดเป็นกรีนดีเซล และ PCM) และมี Supply Chain เกิดขึ้นในพื้นที่ด้วยกลยุทธ์ที่จะใช้ 70-80% ของ ES มาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มในรูบแบบการขายเป็นแพ็คเกจครบวงจร (ESS) ขายในตลาดอาเซียน
ดังนั้น จึงคาดว่า EA จะมีกำไรเพิ่มมากขึ้นในช่วง 10 ปีข้างหน้า จากสมมติฐานว่า EA จะมีกำลังการผลิตพลังงานทดแทนใหม่ในมืออีก 0.03-6.3GW ในช่วง 2562-2570 (ปัจจุบันมี 0.66 GW) และคาดว่า EA จะเป็นเจ้าของสถานีชาร์จไฟฟ้าทั่วประเทศ และอาจเป็นผู้จัดจำหน่าย ES ให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์ EV
ทั้งนี้จากสมมติฐานกำลังการผลิตใหม่ของ EA ดังกล่าวที่ 0.03-6.3GW ในปี 2562-2570 ไม่ได้สูงเกินไป เพราะคิดเป็นเพียงประมาณ 1-6% ของความต้องการใช้พลังงานทดแทนทั้งหมดของอาเซียนอิงของมูลจากองค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) และสมมติฐานให้ EA ขายผลผลิตที่เหลือ 20-30% ให้ตลาด EV หรือใช้สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแระมาณ 6,000-96,000 คัดต่อปี ในปี 2560-2570 ก็มองว่าไม่ได้สูงเกินไป เนื่องจากคาดการณ์ตลาด EV ทั่วโลกจะมีขนาด 1.14 ล้านหน่วยต่อปี นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังตั้งเป้ายอดขาย EV ในประเทศที่ 1.2 ล้านคันในปี 2579
สำหรับความเสี่ยง คือ ความล่าช้าของโครงการและด้านเทคโนโลยีแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน แต่เชื่อว่าต้าน Upside มีมากกว่า ขณะที่ความเสี่ยงจากความล่าช้าเป็นเรื่องปกติ ในขณะที่ Amita (ถือหุ้น 50%) ก็มีประสบการณ์ส่งมอบโรงงาน ES ให้แก่รัฐบาลปักกิ่งเรียบร้อย จึงไม่คิดว่าการเพิ่มทุนในอนาคตเป็นความเสี่ยง แต่กลับเป็นหนทางในการเติบโต
อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะไม่มีการเพิ่มทุนเพื่อลงทุนในโรงงาน ES แต่อาจมีการเพิ่มทุนเพื่อนำมาลงทุนในโครงการ ESS หลังปี 65