PTTEP กับข้อเท็จจริง “มอนทารา”

จากคอลัมน์แฉทุกวัน ทันเกมหุ้น ฉบับวันที่ 9 มี.ค. 2561 ที่ผ่านมา หัวข้อเรื่อง “PTTEP ตบหัวที่ศาลา ขอขมาในส้วม” เนื้อหาเบื้องต้น ระบุว่า “ไม่ใช่ใหญ่เพราะมูลค่าฟ้องร้องค่อนข้างสูงมากกว่า 6 หมื่นล้านบาทเท่านั้น แต่ยังใหญ่เพราะทำเอาราคาหุ้น PTTEP และแม่อย่าง PTT ออกอาการเสียศูนย์ไปหลายวัน...


แฉทุกวันทันเกมหุ้น

จากคอลัมน์แฉทุกวัน ทันเกมหุ้น ฉบับวันที่ 9 มี.ค. 2561 ที่ผ่านมา หัวข้อเรื่องPTTEP ตบหัวที่ศาลา ขอขมาในส้วม” เนื้อหาเบื้องต้น ระบุว่า “ไม่ใช่ใหญ่เพราะมูลค่าฟ้องร้องค่อนข้างสูงมากกว่า 6 หมื่นล้านบาทเท่านั้น แต่ยังใหญ่เพราะทำเอาราคาหุ้น PTTEP และแม่อย่าง PTT ออกอาการเสียศูนย์ไปหลายวัน…

ยามนั้นนักวิเคราะห์หุ้นขวัญอ่อน…พากัน “ขนแขน สแตนด์อัพ” แนะให้ขายกันเป็นทิวแถว..ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะผู้บริหารของ PTTEP ดื้อไม่ยอมตั้งสำรอง…ก็ว่ากันเข้าไป…ฯลฯ”

ล่าสุดจากกรณีดังกล่าวบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP ระบุว่า บทความดังกล่าวมีข้อเท็จจริงบางประการไม่ถูกต้อง ที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่สาธารณชน PTTEP จึงขอชี้แจงให้ท่านทราบถึงข้อมูลที่ถูกต้อง ดังนี้…

  1. อัตราการผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทในประเทศออสเตรเลีย อยู่ที่ประมาณ 100 ล้านบาร์เรล ในปี 2560 (ข้อมูลจาก Australian Petroleum Statistics) อัตราการผลิตน้ำมันจากแหล่งมอนทารา ปี 2560 อยู่ที่ประมาณ 3 ล้านบาร์เรล คิดเป็นประมาณ 3% ของอัตราการผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสททั้งหมดในประเทศออสเตรเลีย มิใช่จำนวน 70% ตามที่มีการนำเสนอในบทความ
  2. คราบน้ำมันที่แพร่กระจายไปในทะเล ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 90,000 ตารางกิโลเมตร เป็นเพียงแผ่นฟิล์มบางๆ และกระจัดกระจายไม่ได้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณแท่นขุดเจาะในรัศมี 35 กิโลเมตร
  3. เหตุการณ์มอนทาราไม่ใช่เหตุการณ์น้ำมันรั่วที่เลวร้ายที่สุดในประเทศออสเตรเลีย โดยข้อมูลจาก Montara Commission of Inquiry ระบุว่า เหตุการณ์มอนทารา ส่งผลให้มีน้ำมันรั่วไหลในทะเลจากเรือบรรทุกน้ำมันประมาณถึง 17,280 ตัน และ 14,800 ตัน เป็นต้น
  4. ค่าใช้จ่ายจากเหตุการณ์มอนทารา ประมาณ 9,700 ล้านบาท ไม่ใช่การชดใช้ค่าเสียหายแต่อย่างใด แต่เป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมเหตุการณ์น้ำมันรั่ว การซ่อมแซมแท่นหลุมผลิต และการวิจัยในการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม…

Back to top button