AMATA รับผลบวก EEC

มีการวิเคราะห์กันว่ากำไรสุทธิไตรมาส 1 ปี 2561 ของ AMATA จะอยู่ที่ 310 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24% จากงวดเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลง 2% จากไตรมาสก่อน จากยอดโอนที่ดินที่คาดไว้ที่ 74 ไร่ สูงกว่ายอดโอนในไตรมาส 1 ปี 2560 ที่ 35 ไร่ แต่ต่ำกว่าไตรมาส 4 ปี 2560 ที่ 146 ไร่


คุณค่าบริษัท

มีการวิเคราะห์กันว่ามีการวิเคราะห์กันว่ากำไรสุทธิไตรมาส 1 ปี 2561 ของ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA จะอยู่ที่ 310 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24% จากงวดเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลง 2% จากไตรมาสก่อน จากยอดโอนที่ดินที่คาดไว้ที่ 74 ไร่ สูงกว่ายอดโอนในไตรมาส 1 ปี 2560 ที่ 35 ไร่ แต่ต่ำกว่าไตรมาส 4 ปี 2560 ที่ 146 ไร่

ส่งผลให้บริษัทมีรายได้จากการขายที่ดิน 390 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 101% จากงวดเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลง 31% จากไตรมาสก่อน นอกจากนี้บริษัทจะมีรายได้ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้นที่ 200 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% จากงวดเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 23% จากไตรมาสก่อน ตามการเปิดดำเนินงานของโรงไฟฟ้า AMATA B-Grim Power Rayong 3 ในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา (คิดเป็นกำลังการผลิตตามสัดส่วนที่ 31.5 เมกะวัตต์)

นอกจากนี้มีการปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2561 อยู่ที่ 1.5 พันล้านบาท ลดลงจากเดิม 12% จากการปรับลดยอดโอนที่ดินที่คาดจะอยู่ที่ 407 ไร่จากเดิม 511 ไร่ เนื่องจากผลกระทบจากการเลื่อนการออกพ.ร.บ.EEC ไปที่ไตรมาส 2 ปี 2561 และจากยอด Pre-Sale ในไตรมาส 1 ปี 2561 ที่คาดว่าจะออกมาต่ำประมาณ 109 ไร่ คิดเป็น 12% ของเป้าหมายบริษัทในปี 2561 โดยเป็นการปรับลดยอดโอนของนิคม AMATA City ชลบุรี และระยอง เป็นหลัก ส่งผลให้ราคาขายที่ดินเฉลี่ยลดลงจาก 6.2 ล้านบาทต่อไร่ เป็น 5.5 ล้านบาทต่อไร่

ในขณะที่นักวิเคราะห์มองว่าราคาขายที่ดินในอนาคตจะมีการปรับตัวลดลงอย่างเด่นชัดจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจในนิคม AMATA City ชลบุรี จากการขายขาดที่ดินเป็นการปล่อยเช่าระยะยาว อย่างไรก็ตามยอดขายที่ดินในเวียดนามจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2562 จากการที่บริษัทได้รับใบอนุญาตการลงทุนใน AMATA City Halong

ดังนั้นนักวิเคราะห์ บล.เคทีบี คงคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมายใหม่ 24.00 บาท จากเดิม 28.00 บาท (อิงวิธี SOTP) จากการปรับลดกำไรลง ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม โดยมองว่า พ.ร.บ.EEC ที่คาดว่าจะออกภายในไตรมาส 2 ปี 2561 จะส่งผลให้ยอดขายที่ดินจะดีขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2561 และจะเพิ่มขึ้นสูงในปี 2562 นอกจากนี้มองว่าส่วนแบ่งรายได้จากธุรกิจโรงไฟฟ้า และรายได้จากการขายน้ำจะเพิ่มขึ้นตามการทยอยเปิดดำเนินงานของโรงไฟฟ้าจำนวน 3 โรงในปี 2561

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  1. นายวิกรม กรมดิษฐ์ 191,345,900 หุ้น 17.93%
  2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 84,867,628 หุ้น 7.95%
  3. กองทุนเปิด เค 20 ซีเล็คท์หุ้นระยะยาวปันผล 31,419,400 หุ้น 2.94%
  4. บริษัท อีโตชู เอ็นเตอร์ไพรซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด 25,000,000 หุ้น 2.34%
  5. นายวิฑูรย์ กรมดิษฐ์ 24,217,970 หุ้น 2.27%

รายชื่อกรรมการ

  1. นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ รองประธานกรรมการ
  2. นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
  3. นายวิกรม กรมดิษฐ์ กรรมการ
  4. นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการ
  5. นายอนุชา สิหนาทกถากุล กรรมการอิสระ

Back to top button