SINGER อนาคตริบหรี่..!
ไม่แปลกใจราคาหุ้นบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER ช่วง 3 เดือน ปรับตัวลงกว่า 40% ที่สำคัญรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาหุ้น SINGER ปรับลงกว่า 13% เมื่อผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2561 ขาดทุนสุทธิ 184 ล้านบาท จากการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นสูง 202 ล้านบาท จากคุณภาพสินเชื่อที่กลับมาอ่อนตัว (ตัวเลข NPL อยู่ที่ 18.7%)
แฉทุกวันทันเกมหุ้น
ไม่แปลกใจราคาหุ้นบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER ช่วง 3 เดือน ปรับตัวลงกว่า 40% ที่สำคัญรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาหุ้น SINGER ปรับลงกว่า 13% เมื่อผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2561 ขาดทุนสุทธิ 184 ล้านบาท จากการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นสูง 202 ล้านบาท จากคุณภาพสินเชื่อที่กลับมาอ่อนตัว (ตัวเลข NPL อยู่ที่ 18.7%)
เมื่อเจาะลึกดูงบการเงินพบว่าคุณภาพสินเชื่อกลับมาอ่อนตัว แม้บริษัทมีการปรับโครงสร้างหนี้สินเชื่อลูกค้าเก่าอย่างต่อเนื่อง แต่ NPLs ratio เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 18.7% ขณะที่สินเชื่อที่มีรถยนต์เป็นหลักประกัน (ทั้งโอนเล่มทะเบียนและไม่โอน) อยู่ที่ 498 ล้านบาท ต่ำกว่าที่บริษัทตั้งเป้ายอดสินเชื่อรถทำเงินที่ระดับ 1,500 ล้านบาท
จึงน่าสนใจว่า SINGER ภายใต้ปีก JMART สถานการณ์ตกต่ำย่ำแย่ลงอย่างน่าใจหาย.! จากปี 2559 เคยมีกำไร 120 ล้านบาท ต่อมาปี 2560 พลิกขาดทุน 10 ล้านบาท ที่ยิ่งเลวร้ายไปกว่านั้นคือไตรมาส 1/2561 เพียงไตรมาสเดียวขาดทุนบักโกรกกว่า 184 ล้านบาท
ทำให้ความฝันอันสวยหรูของผู้ถือหุ้น SINGER กลับกลายเป็นฝันร้ายชนิดที่เรียกว่า “สยองขวัญสั่นประสาท” กันเลยทีเดียว จากเดิมถูกคาดหวังว่าการเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ SINGER จะนำไปสู่ทิศทางที่ดี จากการ Synergy ระหว่าง SINGER และ JMART เพื่อบุกตลาดระดับกลางและล่าง
แต่ทว่าสถานการณ์เลวร้ายพลิกผันจาก “ลดจุดอ่อนเสริมจุดแข็ง” มาเป็น “ซ้ำเติมจุดอ่อนบั่นทอนจุดแข็ง” ไปอย่างปฏิเสธไม่ได้..!? มีคำถามตามมาว่า อนาคต SINGER จะเป็นอย่างไร.!?
ตอบได้เลยว่า “อนาคตริบหรี่” เหลือเกิน..!!????
เงื่อนไขกำหนดชะตา SINGER นั่นคือการขยายตัวของสินเชื่อรถทำเงิน (ทั้งโอนเล่มและไม่โอน) มีโอกาสชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดย SINGER มีกลยุทธ์เน้นการปล่อยสินเชื่อให้แก่บริษัทขนส่งเป็นหลัก นั่นหมายถึงอัตราผลตอบแทนค่อนข้างต่ำมาก
โดยแม้ว่า SINGER พยายามปรับโครงสร้างสินเชื่อลูกค้าเก่าอย่างต่อเนื่อง แต่คุณภาพสินเชื่อที่ผ่านมาอ่อนตัวลง ทำให้ประเมินว่า NPLs เฉลี่ยอยู่ที่ 15-16% นั่นหมายถึง SINGER มีแรงกดดันที่ต้องมีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเป็น 450-500 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้ “กิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ SINGER ระบุว่า “รายได้รวมปีนี้เติบโต 35% พร้อมงบลงทุน 3,000 ล้านบาท จากกลยุทธ์ขยายสินค้าและบริการ พร้อมทั้งเปิดตัว Singer Franchise ตั้งเป้าขยายสาขาเป็น 350 สาขา ภายในปี 2563
โดยผลการดำเนินงานปีนี้จะกลับมาดีขึ้นช่วงครึ่งปีหลัง จากครึ่งปีแรก SINGER เจอแรงกดดันจากลูกหนี้ระบบเก่ากว่า 4 หมื่นสัญญา ลูกหนี้เหล่านี้มีคุณภาพสินเชื่อที่ถดถอย ทำให้บริษัทจะมีการบริหารจัดการทั้งการตัดมูลหนี้, ปรับโครงสร้างหนี้และยึดทรัพย์”
ด้วยความเสี่ยงทั้งกระบวนการปล่อยกู้, การควบคุมคุณภาพสินเชื่อ, การขยายสินเชื่อรถทำเงินที่ล่าช้า การตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับ IFRS9 เป็นสัญญาณร้ายที่บ่งบอกว่า SINGER อาการเข้าขั้นวิกฤต..ที่ต้องเร่งเข้าห้องผ่าตัดเป็นการด่วน..!!!!
…อิ อิ อิ…