UTP สดใส

ภาวการณ์แข่งขันในอุตสาหกรรมกระดาษคราฟท์ยังคงมีภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรงในทุกปี อันเนื่องมาจากความต้องการใช้สินค้าของลูกค้ายังมีน้อยกว่าความต้องการขายของผู้ผลิต


คุณค่าบริษัท

ภาวการณ์แข่งขันในอุตสาหกรรมกระดาษคราฟท์ยังคงมีภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรงในทุกปี อันเนื่องมาจากความต้องการใช้สินค้าของลูกค้ายังมีน้อยกว่าความต้องการขายของผู้ผลิต

ปัญหาดังกล่าวคงไม่มีผลกระทบต่อบริษัท ยูไนเต็ด เปเปอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ UTP ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายกระดาษ และบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์หลักมี 2 ประเภท คือ กระดาษคราฟท์สำหรับทำผิวกล่อง และกระดาษคราฟท์สำหรับทำลอนลูกฟูก

ได้มีการกำหนดวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพถึงปัจจุบัน ดังนี้ 1.ด้านคุณภาพสินค้า 2.ด้านการบริการ 3.กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และ 4.การกำหนดราคาขาย

ผลดังกล่าวทำให้หลายฝ่ายมองว่าแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2561 คาดจะดียิ่งขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2561 ที่สามารถสร้างกำไร 167.39 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน 78.78 ล้านบาท

เนื่องจาก คาดมาร์จิ้นจะดีขึ้นจาก (1) การรับรู้ต้นทุนเศษกระดาษนำเข้าที่ถูกเพียง 6 บาท/กก. เทียบกับปกติที่ต้นทุนราว 7 บาท/กก. (2) การเดินเครื่องที่ได้กำลังการผลิตสูงถึง 630 ตัน/วัน เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เทียบกับ 560 ตัน/วัน ซึ่งประมาณการกำไรมีโอกาสปรับขึ้นหากบริษัทเดินเครื่องได้ดีกว่าคาด

นอกจากนี้ ปัจจุบันโรงงานกระดาษในจีนใช้เศษกระดาษ (old corrugated container : OCC) ในประเทศจีนมากถึง 50% เทียบกับสมัยก่อนที่ใช้เพียง 35% เท่านั้น เพราะมาตรการสกัดกั้นการนำเข้าเศษกระดาษของจีนที่ยังคงเข้มงวด โดยการกำหนดให้เศษกระดาษที่นำเข้ามีสิ่งเจือปนน้อยกว่า 0.5% นั้นยากมากที่จะทำได้ ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจาความเหมาะสมกับภาครัฐ แต่ปัจจุบันยังคงใช้เกณฑ์เดิม ผู้ประกอบการในจีนมีมุมมองว่าในช่วงที่เหลือของปี ราคาต้นทุนวัตถุดิบในจีน และราคาขายจะปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะปริมาณเศษกระดาษยังคงจำกัด

ขณะที่ราคาเศษกระดาษ US OCC Price ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 230 ดอลลาร์/ตัน (7.5 บาท/กก.) ถึงแม้จะปรับตัวขึ้นมาจากช่วงต้นปีที่ราว 180 ดอลลาร์/ตัน (5.5 บาท/กก.) แต่นับว่าถูกกว่าช่วงปี 2560 ที่ราคาไปทำจุดสูงสุดที่ 300 ดอลลาร์/ตัน (10 บาท/กก.) อย่างไรก็ดีบริษัทสามารถหาเศษกระดาษได้ในราคาที่ถูกกว่าราคาดอลลาร์ ซึ่งต้นทุนนำเข้าเศษกระดาษที่บริษัททำได้ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2561 จะอยู่ที่ ราว 6 บาท/กก.

ส่วนอัตราการเดินเครื่องอยู่ที่ 560 ตัน/วัน ในไตรมาส 1 ปี 2561 และขึ้นมาเป็น 630 ตัน/วัน ในไตรมาส 2 ปี 2561 ในขณะที่ความต้องการในประเทศยังคงแข็งแรง และบริษัทหาอุปสงค์เพื่อมารับการเดินเครื่องที่เพิ่มขึ้นผ่านการส่งออกต่างประเทศ

หากบริษัทสามารถเดินเครื่องได้ตามที่กล่าวมาข้างต้น ประมาณการกำไรจะต้องปรับขึ้นอีก เพราะปัจจุบันใช้สมมติฐาน utilization rate 70% ที่ 600 ตัน/วัน (210,000 ตัน/ปี) ในปี 2561 และที่ 640 ตัน/วัน (230,000 ตัน/ปี) ในปี 2562

ด้วยปัจจัยบวกข้างต้นส่งผลให้ บล.บัวหลวง แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 13.60 บาท

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  1. นายวัชชระ ชินเศรษฐวงศ์ 81,962,730 หุ้น 12.61%
  2. บริษัท ยูเนียนเปเปอร์คารตอนส์ จำกัด 72,142,230 หุ้น 11.10%
  3. นางอัจฉรา ชินเศรษฐวงศ์ 60,679,000 หุ้น 9.34%
  4. นายชิน ชินเศรษฐวงศ์ 58,874,670 หุ้น 9.06%
  5. นายมงคล มังกรกนก 41,644,000 หุ้น 6.41%

รายชื่อกรรมการ

  1. นายชิน ชินเศรษฐวงศ์ ประธานกรรมการ
  2. นายมงคล มังกรกนก กรรมการผู้จัดการ
  3. นายมงคล มังกรกนก กรรมการ
  4. นายบุญนำ บุญนำทรัพย์ กรรมการ
  5. นายวัชชระ ชินเศรษฐวงศ์ กรรมการ

Back to top button