BCPG กับยุทธศาสตร์ “เงินต่อเงิน”

จากกรณี บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) หรือ BCPG ประกาศขายโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) ประเทศญี่ปุ่น 2 โครงการ ได้แก่ โครงการ Nikaho และ Nagi ขนาดกำลังผลิตรวม 27.6 เมกะวัตต์ เข้ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในประเทศญี่ปุ่น มูลค่า 3,185 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จภายในไตรมาส 3/2561


แฉทุกวันทันเกมหุ้น

จากกรณี บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) หรือ BCPG ประกาศขายโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) ประเทศญี่ปุ่น 2 โครงการ ได้แก่ โครงการ Nikaho และ Nagi ขนาดกำลังผลิตรวม 27.6 เมกะวัตต์ เข้ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในประเทศญี่ปุ่น มูลค่า 3,185 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จภายในไตรมาส 3/2561

หากมองเชิงยุทธศาสตร์ถือเป็นโมเดล “การลงทุนธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม” ที่น่าสนใจ ด้วยหลักการ “เงินต่อเงิน” นั่นหมาย ถึงกำไรที่ได้จากการขายสินทรัพย์ดังกล่าว ส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้เพื่อลงทุนโครงการใหม่ที่จะมีเข้ามาในอนาคต จึงเท่ากับว่า BCPG จะมีต้นทุนทางการเงินต่ำลง ส่งผลต่ออัตรากำไรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ..!?

การขาย “โซลาร์ฟาร์ม” ทั้ง 2 แห่งดังกล่าว ทำให้กำลังผลิตโซลาร์ฟาร์มของ BCPG ในประเทศญี่ปุ่น หายไปประมาณ 10% จากเดิมมีอยู่ 150-200 เมกะวัตต์ ส่งผลให้รายได้หายไปบางส่วน แต่เรื่องนี้ “บัณฑิต สะเพียรชัย” กรรมการผู้จัดการใหญ่ BCPG ระบุว่า เป็นส่วนที่ไม่มากนัก เมื่อเทียบกับการเติบโตแต่ละปีที่บริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งจากพลังงานลม-โซลาร์ฟาร์มในประเทศไทย และมีโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ ประเทศอินโดนีเซีย และโรงไฟฟ้าพลังงานลม ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ยังเติบโตต่อเนื่องด้วย

ที่สำคัญ การขายโซลาร์ฟาร์ม ช่วงเวลานี้ถือเป็นจุดเหมาะสมสามารถทำกำไรได้ และนำกำไรไปใช้เพื่อการลงทุนต่อเนื่องโครงการใหม่หรือโครงการขนาดใหญ่ที่จะเข้ามาในอนาคต โดยไม่ต้องใช้เงินกู้ทำให้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ส่วนจะมีการขายโครงการเพิ่มเติมอีกหรือไม่ ต้องพิจารณาโอกาสและความจำเป็น หากมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่เข้ามามากขึ้น

จึงเป็นการตอกย้ำการปักหมุดธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม ประเทศญี่ปุ่น ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้การตัดขาย 2 โครงการ เพื่อเติมโครงการใหม่..ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าส่วนที่ได้มาเพิ่มจะเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปได้มากน้อยเพียงใด แต่ในแง่การบริหารจัดการจะได้เห็น “ต้นทุนทางการเงินลดลง” อย่างมีนัยสำคัญทีเดียว..!?

ในแง่ของผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุน สิ่งที่เห็นระยะสั้น ๆ นั่นคือ กำไรต่อหุ้น (EPS) ที่เพิ่มขึ้น จากกำไรพิเศษดังกล่าว แต่จะลุกลามไปถึง “ปันผลพิเศษ” หรือไม่..ต้องวัดใจบอร์ด BCPG อีกที

แต่ทว่า..มูลค่าแฝงที่เกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นคือ “มูลค่าหุ้น” จะปรับขึ้นอย่างน่าสนใจ ดังนั้นแม้ไม่มี “ปันผลพิเศษ” แต่มูลค่าหุ้นที่ถืออยู่ในมือมีมูลค่าเพิ่มขึ้นและเป็นชีพจรชี้วัดการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในตลาดอย่างชัดเจน

ช่วงระยะสั้นเฉพาะหน้านี้ ผู้บริหาร BCPG ประเมินว่า ปีนี้กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย, ภาษี, ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) และกำไรสุทธิเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นไปตามแผนขยายธุรกิจ ที่ปัจจุบันขยายธุรกิจสู่การทำธุรกิจกับผู้บริโภคโดยตรง (Retail) ควบคู่กับการลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียนแบบดั้งเดิม ที่มีการนำส่งไฟฟ้าที่ขายได้เข้าสู่ระบบสายส่งของรัฐหรือการไฟฟ้าระดับท้องถิ่น (wholesale)

การรุกเข้าเติมเชื้อธุรกิจโซลาร์ฟาร์มของ BCPG ครั้งนี้ เป็นจุดที่น่าสนใจและเป็นบทพิสูจน์ให้รู้กันว่า “โซลาร์ฟาร์ม” ที่ญี่ปุ่นจะ “ปราบเซียน” หรือไม่.!?

…อิ อิ อิ…

Back to top button