สรุปภาวะตลาดหุ้นต่างประเทศ
สรุปภาวะตลาดหุ้นต่างประเทศ ประจำวันที่ 15 ส.ค. 2561
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (15 ส.ค.) เนื่องจากวิกฤตค่าเงินของตุรกี รวมทั้งข้อพิพาทด้านการค้าระหว่างสหรัฐและตุรกี และผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทจดทะเบียน ได้ส่งผลให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง นอกจากนี้ การร่วงลงอย่างหนักของราคาน้ำมันดิบยังได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงด้วยเช่นกัน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,162.41 จุด ลดลง 137.51 จุด หรือ -0.54% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,818.37 จุด ลดลง 21.59 จุด หรือ -0.76% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,774.12 จุด ลดลง 96.78 จุด หรือ -1.23%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (15 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตค่าเงินลีราของตุรกี ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงหลังจากราคาน้ำมันดิ่งลงอย่างหนัก
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.4% ปิดที่ 379.70 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,163.01 จุด ลดลง 195.86 จุด หรือ -1.58% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,305.22 จุด ลดลง 98.19 จุด หรือ -1.82% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,497.87 จุด ลดลง 113.77 จุด หรือ -1.49%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 5 เมื่อคืนนี้ (15 ส.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิ่งลงอย่างหนัก นอกจากนี้ นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการค่าเงินลีราของตุรกี
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,497.87 จุด ลดลง 113.77 จุด หรือ -1.49%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (15 ส.ค.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐพุ่งขึ้นสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะปรับตัวลดลง นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เกิดจากการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. ร่วงลง 2.03 ดอลลาร์ หรือ 3% ปิดที่ 65.01 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 1.70 ดอลลาร์ หรือ 2.4% ปิดที่ 70.76 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (15 ส.ค.) เนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางวิกฤตการณ์ค่าเงินลีราของตุรกี นอกจากนี้ ความแข็งแกร่งของข้อมูลเศรษฐกิจบางรายการของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกนั้น ยังส่งผลให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 15.7 ดอลลาร์ หรือ 1.31% ปิดที่ 1,185.00 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค. 2560
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย. ลดลง 59.9 เซนต์ หรือ 3.98% ปิดที่ 14.454 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. ร่วงลง 29.80 ดอลลาร์ หรือ 3.72% ปิดที่ 771.90 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. ดิ่งลง 52.80 ดอลลาร์ หรือ 6% ปิดที่ 837.20 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวผันผวนเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (15 ส.ค.) ขณะที่นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตค่าเงินลีราของตุรกี อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกที่ขยายตัวเกินคาดในเดือนก.ค.
ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 110.58 เยน จากระดับ 111.20 เยน และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9927 ฟรังก์ จากระดับ 0.9945 ฟรังก์
ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ที่ระดับ 1.1344 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1338 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.2692 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2711 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 0.7237 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7234 ดอลลาร์สหรัฐ