เสน่ห์ตลาดหุ้นไทยพลวัต2015

รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยออกมาแถลงข่าวพร้อมตัวเลขมากมายที่เป็นสถิติวานนี้ เพื่อจะบอกหรือส่งสัญญาณว่า ตลาดหุ้นไทยยังคงมีเสน่ห์น่าลงทุนต่อไป ด้วยเหตุผลหลายประการ นับแต่


รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยออกมาแถลงข่าวพร้อมตัวเลขมากมายที่เป็นสถิติวานนี้ เพื่อจะบอกหรือส่งสัญญาณว่า ตลาดหุ้นไทยยังคงมีเสน่ห์น่าลงทุนต่อไป ด้วยเหตุผลหลายประการ นับแต่

–          3 เดือนมานี้ ผู้ลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิต่อเนื่องในตลาดหลักทรัพย์ไทยที่ 3,118 ล้านบาท แม้จะขายสุทธิในตลาดหลักทรัพย์ไทย 156 ล้านเหรียญสหรัฐ

–          ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่าการระดมทุนทั้งในตลาดแรกและตลาดรองรวมทั้งสิ้น 144,237 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3.25 เท่า จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

–          ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 1/58 ออกมาใกล้เคียงกับการคาดการณ์

–          ค่าฟอร์เวิร์ด พี/อี ของตลาดหุ้นไทยที่ระดับ 15.1 เท่าเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม ยังคงน่าสนใจ เพราะยังไม่ได้แพงมาก เทียบกับตลาดอื่นๆ ในภูมิภาค (ดูตารางประกอบ)

(หน่วย: เท่า)

ตลาดหุ้น

 2557

2558

ไทย

13.76              

15.01

เกาหลีใต้

10.86           

11.46

  ฮ่องกง               

10.79      

13.00

  ไต้หวัน               

14.91         

13.56

สิงคโปร์

14.55        

14.09

มาเลเซีย

16.75        

16.30

อินโดนีเซีย

15.52            

16.34

จีน

7.91              

18.36

ฟิลิปปินส์

18.53            

19.61

 

ข้อสุดท้ายนั้น จะเห็นได้ว่า โดยเปรียบเทียบแล้ว ค่าฟอร์เวิร์ดพี/อี ของตลาดหุ้นไทยปัจจุบันนั้น ถือว่าปานกลาง ไม่ได้สูงมากหรือน้อยเกินไป

ข้อมูลที่รองผู้จัดการตลาดฯ ชี้แจงออกมานั้น ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ย่อมได้ ขึ้นกับกรอบคิดและมุมมอง

ข้อมูลเหล่านี้ ไม่ได้บอกชัดเจนเลยว่า เหตุผลใดนักลงทุนจึงถอยห่างออกจากตลาดหุ้นไทย ดังจะเห็นได้จากมูลค่าซื้อขายประจำวันที่หลายเดือนมานี้ ย่ำแย่ลงอยู่ที่ระดับไม่เกิน 4 หมื่นล้านบาท ทั้งที่หากใช้หลักเกณฑ์มาตรฐานมาวัด จะต้องเห็นตัวเลขที่ระดับมากกว่า 4.5 หมื่นล้านขึ้นไป

คำอธิบายง่ายๆ แบบสูตรสำเร็จที่ว่า นักลงทุนมีความกังวลกับตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในไตรมาส 1/58 ที่ขยายตัว 3.0% ต่ำกว่าการคาดการณ์ที่ 3.4% ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก เพราะว่าไปแล้ว ปัจจัยที่จะทำให้ตลาดคึกคัก (ภาวะกระทิง) หรือหงอยเหงา (ภาวะหมี) นั้น มีหลายปัจจัย ไม่ได้ขึ้นกันภาวะเศรษฐกิจมหภาคอย่างเดียว ดังตัวอย่างตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ที่ร้อนแรงท่ามกลางสภาวะแวดล้อมเศรษฐกิจที่ย่ำแย่

ความน่าสนใจของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่บทบาทของนักลงทุนรายย่อย เพราะในช่วงที่ตลาดคึกคักกับภาวะกระทิง สัดส่วนของนักลงทุนรายย่อยในตลาดหุ้นไทยนั้น อยู่ที่ระดับประมาณ 65-70% แต่ในหลายเดือนมานี้ เราได้เห็นสัดส่วนการซื้อขายของรายย่อยที่หดตัวลงเหลือเพียงสัดส่วนประมาณ 50-57% ของมูลค่าซื้อขายประจำวัน

ข้อมูลที่ระบุว่า นับแต่ต้นปีมาจนถึงล่าสุดวานนี้ ต่างชาติขายสุทธิมากกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่า ตลาดหุ้นไทยในสายตาของต่างชาติ ยังมีเสน่ห์ต่ำกว่าตลาดอื่นในภูมิภาค เพราะบรรยากาศของตลาดหุ้นไทยในปีนี้ เห็นได้ชัดว่าไม่เอื้ออำนวยเสียเลย

นักลงทุนรายย่อยที่พากันติดหุ้นกันอย่างมาก หลังจากที่ดัชนีของตลาดปรับจากระดับเหนือ 1,600 จุด มาอยู่ที่ระดับ 1,500 จุด  เพราะคาดเดาทิศทางของราคาหุ้น และตลาดผิด จากความผันผวนของปัจจัยภายในและภายนอก

สำหรับนักลงทุนต่างชาตินั้น เสน่ห์ของตลาดหุ้นไทยในปีนี้ เป็นได้แค่ตลาดทางเลือก เมื่อเทียบกับตลาดอื่นที่ร้อนแรงอย่างเซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง อินเดีย หรือญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นเป้าหมายหลักแต่อย่างใด

โดยทฤษฎีและรูปธรรมการตัดสินใจของต่างชาติสนการข้ามพรมแดนเข้ามาลงทุนในประเทศต่างๆ (หรือในกรณีคนไทยอยากออกไปลงทุนต่างประเทศ) จะต้องพิจารณาปัจจัยหลากหลาย ท่ามกลางข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ประกอบด้วย

–  แนวโน้มอัตราการเติบโตของรายได้ต่อหัวประชากรในอนาคตโดดเด่นเพียงใด

–  อัตราการว่างงานหรือกำลังซื้อของผู้บริโภคและผู้มีเงินออม มีโอกาสเติบโตขึ้นได้อีกมากน้อยเพียงใด 

–  สัดส่วนเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางในเขตเมืองใหญ่มากน้อยเพียงใด เพื่อชี้ทิศทางว่าจะยังสามารถเติบโตได้อีกหรือไม่

– ขั้นตอนของพัฒนาการทางด้านการผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมและบริการ ที่จะทำให้เกิดผู้ประกอบการที่หลากหลายและกิจการที่ให้เลือกลงทุน

-ระเบียบกติกาด้านการไหลเวียนของทุนและตลาดเงิน-ตลาดทุนโดยสะดวกมากน้อยเพียงใด  
– มีบริษัทดีเด่นน่าซื้อลงทุนมากน้อยเพียงใดๆ

สำหรับตลาดหุ้นไทย ถือเป็นหนึ่งในตลาดหลักสำคัญของอาเซียนที่เรียกว่า TIPs ที่รองลงมาจากสิงคโปร์ และหากคิดรวมกับตลาดทุนที่พัฒนาใกล้เคียงกันในอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม สิงคโปร์ และมาเลเซีย ที่มีมาร์เก็ตแค็ปรวมประมาณ 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีความสำคัญในระดับภูมิภาค แต่ความสำคัญตรงนี้ ไม่ได้มีหลักประกันเสมอไปว่า จะเป็นตลาดที่มีความคึกคักร้อนแรงตลอดเวลา เพราะเมื่อใดก็ตามที่มีคนหรือเกิดสภาพบรรยากาศที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนเก็งกำไร เมื่อนั้น ตลาดก็มีสิทธิที่จะวาย หรือเข้าสู่ภาวะหมี

ไม่มีข้อยกเว้นและไม่มีหลักประกันใดๆ ว่า ขนาดใหญ่ของตลาดหุ้น จะถูกนักลงทุนทั้งภายในและต่างชาติเมินไม่ได้ แต่ก็เช่นกัน หากคิดจะสร้างบรรยากาศที่มีผลทางบวก ก็ทำได้เช่นกัน

Back to top button