ปตท. VS ปูนใหญ่
ทำท่ามีปัญหาซะแล้ว..! กับดีลซื้อบริษัท โกลว์พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW ของบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ในเครือปตท...ไฮไลต์ไม่ใช่แค่ “กรณ์ จาติกวณิช” ที่ออกมาคัดค้าน..แต่อยู่ที่ 10 ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด (ลูกค้า GLOW) เข้าชื่อทำหนังสือถึงกกพ.ให้ตรวจสอบเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนและความได้เปรียบเชิงแข่งขันของธุรกิจปิโตรเคมี ในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT
สำนักข่าวรัชดา
ทำท่ามีปัญหาซะแล้ว..! กับดีลซื้อบริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW ของบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ในเครือปตท…ไฮไลต์ไม่ใช่แค่ “กรณ์ จาติกวณิช” ที่ออกมาคัดค้าน..แต่อยู่ที่ 10 ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด (ลูกค้า GLOW) เข้าชื่อทำหนังสือถึงกกพ.ให้ตรวจสอบเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนและความได้เปรียบเชิงแข่งขันของธุรกิจปิโตรเคมี ในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT
เมื่อตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกพบว่า 8 ใน 10 ของผู้ประกอบการที่ร่วมยื่นหนังสือต่อกกพ.เป็นผู้ประกอบธุรกิจปิโตรเคมีและเม็ดพลาสติกในเครือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC
นั่นหมายถึงคู่กรณีเครือปตท. (ในนาม GPSC) จึงไม่ใช่ “กรณ์ จาติกวณิช” แต่คู่กรณีกลายเป็นคู่แข่งรายใหญ่คือเครือซิเมนต์ไทย (ในนาม 8 บริษัทลูก)..นั่นเอง..!??
สำหรับ 10 ผู้ประกอบการในมาบตาพุด คือ 1) บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ทำธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (SCC ถือหุ้น 54.16%) 2) บริษัท สยามโพลิเอททิลีน จำกัด ทำธุรกิจผลิตเม็ดพลาสติก (SCC ถือหุ้น 89.99%) 3) บริษัท แกรนด์สยาม คอมโพสิต จำกัด ทำธุรกิจผลิตวัตถุดิบสำหรับผลิตเม็ดพลาสติก (SCC ถือหุ้น 46.17%) 4) บริษัท ไทย เอ็มเอ็มเอ จำกัด ทำธุรกิจผลิตวัตถุดิบในการผลิตกระจกเทียม (SCC ถือหุ้น 46.00%)
5) บริษัท ระยองโอเลฟินส์ จำกัด ทำธุรกิจผลิตวัตถุดิบในการผลิตเม็ดพลาสติก (SCC ถือหุ้น 43.44%) 6) บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด ทำธุรกิจผลิตเม็ดพลาสติก (SCC ถือหุ้น 100%) 7) บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด ทำธุรกิจผลิตโอเลฟินส์เกรดเอททีลีนและโพรไพลีน (SCC ถือหุ้น 67.00%) 8) บริษัท ระยอง เทอมินัล จำกัด ทำธุรกิจท่าเทียบเรือ (SCC ถือหุ้นทางอ้อมผ่านบริษัทในเครือ) 9) บริษัท ลินเด้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 10) บริษัท เอ็มพีทีเอชพี เจวี (ประเทศไทย) จำกัด
โดยข้อเรียกร้องของ 10 ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด พอสรุปได้ดังนี้คือ..
–GLOW เป็นผู้ขายไอน้ำรายใหญ่ในพื้นที่เดียวกัน และไอน้ำเป็นสินค้าที่ผู้ใช้ไม่สามารถซื้อจากแหล่งอื่นได้ ต้องซื้อขายผ่านระบบท่ออยู่ในพื้นที่เท่านั้น ส่งผลให้ GPSC ควบคุมและมีอำนาจผูกขาดตลาดพลังงานพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและมีสัดส่วนปริมาณการขายไฟฟ้าประมาณ 86%
-เมื่อ GPSC เข้าซื้อหุ้น GLOW แล้ว ทำให้กลุ่มบริษัทในเครือปตท. ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ GPSC และมีธุรกิจหลักด้านปิโตรเคมี เช่นเดียวกับกลุ่มลูกค้าบางรายของ GLOW จนอาจเกิดการดูแลที่ไม่เป็นธรรมไม่เหมาะสมกับลูกค้า เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันขึ้นได้
-ผู้ร้องเรียนส่วนหนึ่งเป็นนักลงทุนต่างชาติ การซื้อหุ้นครั้งนี้อาจทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มขาดความเชื่อมั่นเรื่องการผูกขาดและผลประโยชน์ทับซ้อน ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อการลงทุน จนอาจพิจารณาทบทวนนโยบายการลงทุนในประเทศได้
ถือว่าสะเทือนต่อมธรรมาภิบาลกลุ่มปตท.ไม่น้อยทีเดียว นั่นหมายถึงหาก GPSC ซื้อหุ้น GLOW สำเร็จ..การบริหารความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนจะทำอย่างไร..!?
แต่ที่แน่ ๆ..เรื่องนี้ทำท่าไม่จบง่าย ๆ เสียแล้ว..!!!??
..อิ อิ อิ..