กังขา(ขาย)ที่ดิน กฤษดาฯ.!?

มีเสียงซุบซิบในวงแคบที่เริ่มกว้างขึ้นว่า การขายทอดตลาดที่ดิน 4,400 ไร่ของบริษัท เอคิว เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ AQ (ในอดีตคือบริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) หรือ KMC) ด้วยราคาประมูลที่กลุ่มเสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดีได้ไปที่ราคา 8,914 ล้านบาท ดูไม่สมเหตุสมผล..จนถูกกังขาว่า “เอื้อประโยชน์” ให้กลุ่มเสี่ยเจริญ..หรือไม่..!??


สำนักข่าวรัชดา

มีเสียงซุบซิบในวงแคบที่เริ่มกว้างขึ้นว่า การขายทอดตลาดที่ดิน 4,400 ไร่ของบริษัท เอคิว เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ AQ (ในอดีตคือบริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) หรือ KMC) ด้วยราคาประมูลที่กลุ่มเสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดีได้ไปที่ราคา 8,914 ล้านบาท ดูไม่สมเหตุสมผล..จนถูกกังขาว่า “เอื้อประโยชน์” ให้กลุ่มเสี่ยเจริญ..หรือไม่..!??

ก่อนหน้านี้ “วิโรจน์ นวลแข” อดีตผู้บริหารธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB จำเลยที่ 3 ที่ถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ (ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่ต้องร่วมชดใช้ด้วย) ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการประเมินราคาที่ดิน เพื่อประกอบการขายทอดตลาด โดยระบุว่าการประเมินราคาที่ดินแบบอิงราคาประเมินรายแปลงแยกอิสระไม่ใช่ที่ดินผืนเดียวกัน ทำให้ที่ดินเกือบทั้งหมดถูกประเมินว่าเป็นที่ตาบอดไม่มีทางเข้า-ออก

ถือว่า..ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์คู่มือตามประกาศของกรมธนารักษ์ปี 2552 เพราะข้อเท็จจริงที่ดินทั้ง 215 แปลง จำนวน 4,400 ไร่ดังกล่าว มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันและมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เดียวกัน จึงต้องถือเป็นที่ดินที่ต้องประเมินราคาเป็นแปลงเดียวกัน

หากย้อนอดีตที่ดินแปลงดังกล่าว พบว่า เคยติดจำนองอยู่กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ตั้งแต่ปี 2538 มีการประเมินราคาสูงกว่า 14,000 ล้านบาท และเมื่อบริษัทขอรีไฟแนนซ์เงินกู้มายังธนาคารกรุงไทย (KTB) จึงให้บริษัทประเมินหลักทรัพย์ที่ก.ล.ต.ให้การรับรองถึง 2 บริษัท เข้ามาประเมิน คือ บริษัท อินชิคเนียบรุค (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ซาลแมนน์ (ฟาร์อีสท์) จำกัด ทั้ง 2 บริษัทประเมินที่ดินแปลงดังกล่าว มีมูลค่าสูงกว่า 14,000-16,000 ล้านบาท ถือว่าสูงกว่าวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติจากธนาคารกรุงไทย

แต่น่าแปลกใจว่า..ธนาคารกรุงไทยที่รับรู้ข้อเท็จจริงมาตั้งแต่ต้น ไม่มีการใช้สิทธิ์คัดค้านหรือทักท้วงการประเมินราคา เพื่อขายทอดตลาด ทั้งที่อาจทำให้ KTB เสียประโยชน์ได้..!?

ที่สำคัญกรณีธนาคารกรุงไทยและเจ้าพนักงานบังคับคดี ขายทอดตลาดที่ดินราคาต่ำเพียง 8,914 ล้านบาท (เฉลี่ยตารางวาละ 5,000 บาท) จากควรจะได้ราคา 14,000-16,000 ล้านบาท (เฉลี่ยตารางวาละ 30,000-50,000 บาท)

นั่นทำให้รัฐเสียหายจากรายได้ค่าธรรมเนียมจดจำนอง ค่าธรรมเนียมการโอน ภาษีธุรกิจเฉพาะประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่วน KTB สูญเสียประโยชน์จากหลักทรัพย์ค้ำประกัน ที่ถูกตีราคาต่ำไปด้วยเช่นกัน..!!

มีเสียงซุบซิบอีกว่า..การเร่งปิดเกมประมูลที่ดินครั้งนี้ มีใบสั่งจากคนในรัฐบาลหรือไม่..!? ที่ต้องการให้ปิดดีลก่อนการเลือกตั้ง..ไม่งั้นละก็..หากการเมืองเปลี่ยนขั้ว..ดีลซื้อขายที่ดินทำเลทองดังกล่าว เชื่อกันว่า “กลุ่มเสี่ยเจริญ” จะไม่ได้ราคา 8,914 ล้านบาท อย่างแน่นอน..!?

…อิ อิ อิ…

Back to top button