“ภัทร” อัพเป้าใหม่ PTTEP สูงกว่า 173 บาท-“มอร์แกนฯ” ชี้แหล่งก๊าซ 2 แห่งเพิ่มรายได้อีก 10%
"ภัทร" อัพเป้าใหม่ PTTEP สูงกว่า 173 บาท-"มอร์แกนฯ" ชี้แหล่งก๊าซ 2 แห่งเพิ่มรายได้อีก 10%
สืบเนื่องจากกรณีที่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เป็นผู้ชนะการประมูลแหล่งปิโตรเลียมทั้ง 2 แห่ง คือ แหล่งบงกช และ แหล่งเอราวัณ เนื่องจากเป็นผู้เสนอราคาและให้ผลประโยชน์ต่อรัฐดีที่สุด
อย่างไรก็ตาม เกิดความกังวลในเรื่องของราคาก๊าซธรรมชาติที่ PTTEP เสนอให้กับกระทรวงพลังงานในการเข้าประมูลแห่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณที่ และแหล่งบงกชต่ำกว่าที่คาดไว้ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้ในอนาคตต่ำกว่าคาดการณ์
ล่าสุด บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ ว่าการที่ PTTEP ชนะการประมูลแหล่งก๊าซทั้งสองแหล่งจะทำให้ PTTEP เป็นผู้ผลิตแหล่งก๊าซที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยแนะนำ “ซื้อ” สำหรับหุ้น PTTEP โดยมีการปรับราคาเป้าหมายขึ้นหลังจากที่ PTTEP ได้สัมปทานแหล่งก๊าซบงกช-เอราวัณ จากเดิม 156 บาทต่อหุ้น เป็น 173.7 บาทต่อหุ้น ซึ่งประเมินค่าด้วยการใช้วิธีการคิดลดกระแสเงินสด (DCF) ซึ่งเพิ่มจาก DCF ของแหล่งบงกชมา 10.4 บาทต่อหุ้น และ DCF จากแหล่งเอราวัณ 7.3 บาทต่อหุ้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อราคาหุ้น คือความไม่แน่นอนของราคาน้ำมัน ,ค่าเงิน ,ค่าใช้จ่ายในการสำรวจ และการพัฒนาโครงการ
ด้าน Morgan Stanley (มอร์แกน สแตนลีย์) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อการลงทุน และที่ปรึกษาทางการเงิน ให้มุมมองธุรกิจ PTTEP อยู่ในระดับที่ “น่าสนใจ” และให้ราคาเป้าหมายที่ 163 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้มองกว่าการที่ PTTEP ได้สัมปทานมาทั้ง 2 แห่งจะช่วยเพิ่มรายได้ประมาณ 8-10% และจะช่วยเพิ่ม ROIC (อัตราส่วนผลตอบแทนต่อเงินลงทุนเพื่อดำเนินงานของบริษัท) ได้ 8% ด้วยราคาค่าน้ำมันที่ 65ดอล/บาร์เรล แต่ถ้าหากสามารถรักษาภาระต้นทุนได้ 25% (เพราะได้สัมปทานมาสองแหล่ง ทำให้ค่าใช้จ่ายในการสำรวจ ฯลฯ สามารถทำได้ในทีเดียว และคุ้มค่า) จะช่วยทำให้ ROIC เพิ่มขึ้นเป็น 10-11% โดยที่ PTT ยังคงเป็นตัวสำคัญที่จะช่วยให้ PTTEP ได้ราคาน้ำมันที่ถูกกว่าปกติ
ทั้งนี้ แหล่งบงกชจะช่วยสร้างกำไรให้กับ PTTEP ทั้งหมด 41 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็น 1,353 ล้านบาท หลังจากหักค่าใช้จ่ายการลงทุนทั้งหมดแล้ว โดยตั้งอัตราส่วนผลตอบแทนต่อเงินลงทุนเพื่อดำเนินงานของบริษัทไว้ที่ 12% ส่วนแหล่งเอราวัณช่วยสร้างกำไรให้กับ PTTEP ทั้งหมด 29 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 957 ล้านบาท หลังจากหักค่าใช้จ่ายการลงทุนทั้งหมดแล้ว โดยตั้งอัตราส่วนผลตอบแทนต่อเงินลงทุนเพื่อดำเนินงานของบริษัทไว้ที่ 6%
โดยให้ราคาเป้า ที่ 163บาท/หุ้น เป็นราคาที่อยู่ในระดับกลาง โดยประเมินค่าด้วยการใช้วิธีการคิดลดกระแสเงินสด (DCF) โดยให้ WACC อยู่ที่ 9.2% จะได้ค่าปริมาณสำรองปริมาณสำรองคาดว่าจะพบ (probable หรือ P2) อยู่ที่ 151 บาท/หุ้น ขณะที่ให้ค่าเทียบเท่าน้ำมันดิบที่ 1.9ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ต่อ 70 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตจากทรัพยากรที่มีในประเทศโมซัมบิก เมื่อรวม P2 WACC ที่ 151 บาท เข้ากับปริมาณสำรองจากโมซัมบิกที่คาดไว้อยู่ที่ 12 บาท จะได้ราคาเป้าหมายของหุ้นที่ 163 บาท
ข้อควรระวัง
- การสำรวจในประเทศบราซิลที่มีความเสี่ยงสูงจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูงขึ้นในเร็วๆนี้
- การบริหารพอร์ต (Portfolio Management) จะช่วยลดความของโครงการที่โมซัมบิก และออสเตรเลียลดลง
- การด้อยค่าของสินทรัพย์ของโครงการที่โมซัมบิก และออสเตรเลีย และหินน้ำมัน