ก.ล.ต. REPORT 2018

เมื่อมีผู้ร้ายก็ต้องมีผู้รักษาสันติราชคอยกวาดล้าง...ไม่อย่างนั้นจะมีผู้ร้ายเต็มบ้านเต็มเมือง เช่นเดียวกับวงการตลาดทุนก็ต้องมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ต้องดำเนินภารกิจไล่ล่าจับกุมผู้กระทำความผิด แบบ “โปลิศจับขโมย”


รายงานพิเศษ

เมื่อมีผู้ร้ายก็ต้องมีผู้รักษาสันติราชคอยกวาดล้าง…ไม่อย่างนั้นจะมีผู้ร้ายเต็มบ้านเต็มเมือง เช่นเดียวกับวงการตลาดทุนก็ต้องมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ต้องดำเนินภารกิจไล่ล่าจับกุมผู้กระทำความผิด แบบ “โปลิศจับขโมย”

ในการสวมบทบาทเป็นผู้รักษาสันติราชคอยตรวจสอบระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของบริษัทจดทะเบียน, ผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์, มาร์เก็ตติ้ง และแม้แต่ตัวนักลงทุน เพื่อป้องปรามไม่ให้บุคคลนำไปเป็นเยี่ยงอย่างของการกระทำความผิด….ที่มาในคราบผู้ร้ายใส่สูท

สำหรับความสำเร็จของภารกิจ ก.ล.ต.ในการกำกับดูแลพฤติกรรมบุคคลในตลาดทุนที่ถือว่ากระทำความผิดแล้วสั่งปรับไปในช่วงปี 2561 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

พบว่าข้อมูลที่อยู่ในอำนาจของ ก.ล.ต. ในการกล่าวหาผู้กระทำความผิด ซึ่งได้เพียงการเปรียบเทียบเป็นเงินเท่านั้น ซึ่งส่วนอื่นไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างการดำเนินคดีอาญาตามกฎหมาย เพราะจะเป็นส่วนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และอัยการ เพื่อเป็นไปตามทฤษฎีด้านอำนาจในกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย

ทั้งนี้การเปรียบเทียบโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในช่วงปี 2561 กรณีเปรียบเทียบปรับในส่วนของรายบุคคล….พบว่ามีผู้กระทำความผิดโดยเปรียบเทียบปรับทั้งสิ้น 50 ราย รวมเป็นเงินค่าปรับทั้งหมด 15,574,683.33 บาท

โดยส่วนใหญ่กระทำความผิดในเรื่อง 1.กรณีเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานนำส่งงบล่าช้ากว่าระยะเวลากำหนด 2.จำหน่ายหุ้นที่มีจำนวนผ่านจุดทุกร้อยละห้าของจำนวนสิทธิออกเสียงแต่ไม่รายงาน 3.มีการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลอื่น

4.มิได้รายงานจำนวนการถือครองหุ้นภายหลังการได้มาผ่านทุกร้อยละห้าของจำนวนสิทธิออกเสียง 5.เสนอซื้อขายหลักทรัพย์ที่ทำในนามผู้อื่นไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข 6.มีการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นแล้วรายงานล่าช้ากว่าระยะเวลาที่ประกาศกำหนด 7.ไม่ได้กระทำอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำด้วยความรับผิดชอบอย่างเหมาะสม

8.ไม่รายงานการได้มาและจำหน่ายหลักทรัพย์ 9.มีหน้าที่ดูแลในการจัดทำและนำส่งรายงานเหตุการณ์ผิดนัดชำระหนี้ตั๋วแลกเงิน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มีหรือจะมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์ หรือต่อการตัดสินใจในการลงทุน 10.ในฐานะผู้รับผิดชอบในการพิจารณาเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน แล้วไม่สั่งการหรือกระทำการใด ๆ เป็นต้น

ส่วนในแง่ของบุคลที่ถูกเปรียบเทียบเป็นค่าปรับหนักสุด คือ นายสุรชัย สุวรรธนะกุล เสียค่าปรับไปทั้งสิ้น 8,222,500 บาท เนื่องด้วยกรณีแรกเสียค่าปรับไป 665,250 บาท กรณีระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2557 ถึงวันที่ 2 เมษายน 2558 นายสุรชัย สุวรรธนะกุล ได้มาซึ่งหุ้น บริษัท ทาพาโก้ จำกัด (มหาชน) (TAPAC) ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของตนเองและบุคคลอื่น เป็นผลให้มีจำนวนการถือครองหุ้น TAPAC รวมกันแล้วผ่านจุดทุกร้อยละห้าของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ รวม 4 ครั้ง แต่นายสุรชัยไม่ได้รายงานการได้มาซึ่งหุ้น TAPAC ที่กล่าวข้างต้นต่อสำนักงานภายในระยะเวลาที่กำหนด ต่อมานายสุรชัยได้ส่งรายงาน (แบบ 246-2) ต่อสำนักงานแล้วเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561

ขณะเดียวกันกรณีที่สองเสียค่าปรับไป 1,570,000 บาท จากกรณีเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 นายสุรชัย สุวรรธนะกุล ได้มาซึ่งหุ้น บริษัท ทาพาโก้ จำกัด (มหาชน) (TAPAC) ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของตนเองและบุคคลอื่น ซึ่งเมื่อนับรวมกันแล้วได้ข้ามจุดร้อยละยี่สิบห้าของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ แต่นายสุรชัยมิได้ทำคำเสนอซื้อหุ้น TAPAC ทั้งหมดของกิจการ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 247 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535

ส่วนบุคคลที่โดนเปรียบเทียบปรับรองลงมา คือ นายสุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล รวมเสียค่าปรับไปสองคดีทั้งสิ้น 2,328,000 บาท ถัดมา นายสาธิต รุ่งวัฒนภักดิ์ รวมเสียค่าปรับไปสองคดีทั้งสิ้น 2,329,400 บาท และ นายปรเมษฐ์ รังรองธานินทร์ รวมเสียค่าปรับไปสองคดีทั้งสิ้น 1,552,933.33 บาท ส่วนรายละเอียดการกระทำความผิดโดยสังเขปดูได้จากตารางประกอบ เพราะยังมีอีกหลายบุคคลที่กระทำความผิดแล้วโดนเปรียบเทียบ

ตัวอย่างการเปรียบเทียบปรับ แม้จะยังไม่สามารถกล่าวได้ว่าผลงานของ ก.ล.ต.ในช่วงปี 2561 มีความโดดเด่นมากน้อยขนาดไหน แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการทำหน้าที่ที่ทำให้เกิดความโปร่งใสสำหรับผู้เกี่ยวข้องกับตลาดทุน

ภารกิจ “โปลิศจับขโมย” จะไม่มีวันจบสิ้นหากคนกระทำความผิดยังลอยนวล!!!

Back to top button