เปิดปฎิทิน 11 แบงก์พาณิชย์ต่อคิวประกาศงบปี 61 จับตา TISCO ประเดิมเจ้าแรกจันทร์นี้
เปิดปฎิทิน 11 แบงก์พาณิชย์ต่อคิวประกาศงบปี 61 จับตา TISCO ประเดิมเจ้าแรกจันทร์นี้
“ ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์”ได้ทำการสำรวจและรวบรวมกำหนดการของธนาคารพานิชย์ทั้ง 11 แห่งที่คาดว่าจะแจ้งให้ทราบถึงผลประกอบการปี 2561 ภายในสัปดาห์หน้าส่วนใหญ่ตามตารางประกอบดังนี้
บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า คาดกลุ่มธนาคารจะมีการเติบโตของกำไรสุทธิปี 61 แข็งแกร่ง โดย 8 ธนาคารที่วิเคราะห์มีกำไรสุทธิ 180 พันล้านบาท (+12.2%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) โดยมาจากการตั้งสำรองฯ ที่ลดลง (-15.7%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน)
ส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนสำรองฯ ของธ.พ.ใหญ่อ่อนลง (ยกเว้นของ BBL ที่เติบโตได้) เนื่องจากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยหดตัวและมีค่าใช้จ่ายดำเนินงานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ KKP เป็นแบงค์ที่มีการเติบโตของกำไรก่อนสำรองฯสูงสุด (+15.6%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) เพราะสินเชื่อขยายตัวสูงมาก
ขณะที่ TMB จะมีกำไรสุทธิบรรทัดสุดท้ายเพิ่มขึ้นมากสุด (+37.2%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) จากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นถึง 88.1%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะมีกำไรจากการขายหุ้น TMBAM การเติบโตของกำไรในไตรมาส 4/61 โดยหลักมาจากการตั้งสำรองฯลดลง
ทาง DBSVTH ประมาณการว่ากลุ่มธนาคารที่วิเคราะห์จะมีกำไรสุทธิ 40.7 พันล้านบาทในไตรมาส4/61 (+15.4%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน, -15.2%เทียบไตรมาสก่อนหน้า) โดยการเพิ่ม เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน มาจากตั้งสำรองฯลดลง (-31.3%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) ส่วนการหดตัว เทียบไตรมาสก่อนหน้า เพราะรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยต่ำลงและค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูงขึ้น
สำหรับกำไรก่อนสำรองฯ คาดการณ์ว่าจะลดลงทั้ง เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และ เทียบไตรมาสก่อนหน้า ธนาคารที่มีกำไรสุทธิเติบโตดีสุดใน ไตรมาส 4/61 เป็น KKP โดยเพิ่มทั้ง เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และ เทียบไตรมาสก่อนหน้า
ขณะที่ TCAP และ TMB หดตัวทั้ง เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และ เทียบไตรมาสก่อนหน้า ส่วน BBL, KBANK, KTB, SCB และ TISCO กำไรสุทธิ ไตรมาส 4/61 จะเพิ่ม เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลง เทียบไตรมาสก่อนหน้า
โดยให้ BBL และ KKP เป็นหุ้น Top Picks ทั้งนี้ BBL (ราคาพื้นฐาน 260 บาท) เป็นธนาคารที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการลงทุนที่ฟื้นตัว เพราะมีสัดส่วนสินเชื่อธุรกิจสูง รวมทั้งสินเชื่อในต่างประเทศก็เติบโตดี สินเชื่อในประเทศจีนส่วนใหญ่ปล่อยให้กับธุรกิจที่อิงกับความต้องการซื้อในประเทศจีนเป็นหลัก
ด้าน KKP (ราคาพื้นฐาน 97 บาท) มีจุดเด่นเรื่องการเติบโตของกำไรสุทธิ และจ่ายปันผลสูง คาดการณ์ Dividend Yield ปี 61-62 ราว 7% (จ่ายปีละ 2 ครั้ง)
บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า คงน้ำหนักการลงทุนเป็น Overweight สำหรับการลงทุนในปี 2019 คาดว่ากลุ่มธนาคารจะมีกำไรปี 2019 ที่สร้างจุดสูงสุดใหม่ได้อีกครั้งที่ราว 2.1 แสนลบ. +2% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หากไม่นับรายการกำไรจากเงินลงทุนที่เกิดในปี 2018 คาดว่ากำไรจากการดำเนินงานหลักจะเติบโตราว 6% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนปัจจัยขับเคลื่อนหลักจะมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายสำรองฯที่ลดลง คาดว่าการเติบโตของสินเชื่อจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้าง Upside ให้กับผลประกอบการได้โดยคาดหวังการลงทุนที่น่าจะฟื้นตัวขึ้นภายหลังการเลือกตั้งและน่าจะทำให้เกิดวงจรการลงทุนรอบใหม่ คาดการณ์สินเชื่อจะเติบโตราว 6.6%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนในปี 2019 ดีขึ้นจาก 4.7% ในปี 2018
สำหรับอัตราดอกเบี้ยอาจไม่ใช่ปัจจัยบวกอย่างที่เคยคาดเนื่องจากแนวโน้มการปรับขึ้นยังไม่เต็มที่และชัดเจน คาดว่า TISCO และ BBL จะแสดงการเติบโตของกำไรที่ดีที่สุดในปีที่ราว 7.9% และ 5.07% ตามลำดับ แต่จากประเด็นการลงทุนที่ชัดเจนจากการลงทุนที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้งยังคงเลือกธนาคารใหญ่เป็น Top Pick โดยชื่นชอบ KBANK (ราคาเหมาะสม 238 บาท) และ BBL (ราคาเหมาะสม 245 บาท)