หุ้นเนื้อ “หมู-ไก่” คืนชีพ รับปัจจัยบวก 2 เด้ง ราคาเนื้อสัตว์พุ่ง-ใกล้ช่วงตรุษจีน
หุ้นเนื้อ "หมู-ไก่" คืนชีพ รับปัจจัยบวก 2 เด้ง ราคาเนื้อสัตว์พุ่ง-ใกล้ช่วงตรุษจีน
“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนผู้ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์ (Farm) ได้แก่ การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า และการแปรรูปเนื้อสัตว์ขั้นพื้นฐาน โดยเน้นผู้ผลิตเนื้อสุกร และเนื้อไก่เป็นหลัง เนื่องจากราคาสุกรในประเทศปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้บริษัทมีกำไรจากการขายเนื้อสุกรเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์จะเข้าช่วงเทศกาลตรุษจีนซึ่งจะมีความต้องการเสื้อสุกร และเนื้อไก่สูงมาในช่วงดังกล่าวซึ่งจะช่วยหนุนให้ผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2562 เติบโตขึ้น
โดย บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า ราคาสุกรในประเทศยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ 70 บาท/กก. ทำจุดสูงสุดในรอบ 30 เดือน น่าจะเกิดจากผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยและรายกลาง ลดการเลี้ยง หลังเผชิญปัญหาสภาพคล่องทางการเงินมานานกว่า 1 ปี
โดยประเมินว่าต้นทุนการเลี้ยงสุกรของผู้ประกอบการรายย่อยจะอยู่ที่ราว 64 บาท/กก. สูงกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ (CPF และ TFG) ที่อยู่ที่ราว 58 บาท/กก. อีกทั้งยังเริ่มเข้าใกล้ช่วงเทศกาลตรุษจีนในช่วงต้นเดือน ก.พ. 62 หนุนการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้น ช่วยหนุนราคาสุกรยืนสูงได้ต่อเนื่อง ส่งผลบวกต่อ CPF (FV@B32) และ TFG ([email protected]) ที่มีโครงสร้างรายได้จากธุรกิจสุกรในไทยราว 14% และ 20% ตามลำดับ
ขณะที่ราคาไก่ในประเทศกลับทรงตัวต่ำใกล้เคียงต้นทุนการเลี้ยงของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ 32 บาท/กก. แม้มีแนวโน้มฟื้นตัวตามทิศทางราคาสุกร เพราะเป็นสินค้าทดแทนกัน อีกทั้งยังเข้าใกล้ช่วงเทศกาลตรุษจีน นอกจากนี้ ตลาดส่งออกไก่ยังดีต่อเนื่องในปี 2562 โดยเฉพาะตลาดส่งออกใหม่ๆ อาทิ การส่งออกชิ้นส่วนไก่สู่ประเทศจีน ถือเป็นช่องทางรายไก่สู่ต่างประเทศได้ดี ช่วยหนุนราคาไก่ในประเทศในทยอยฟื้นตัว ส่งผลบวกต่อ GFPT (FV@B17) TFG ([email protected]) และ CPF (FV@B32) ที่มีโครงสร้างรายได้จากธุรกิจไก่ในไทยราว 70% 65% และ 9% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามความเสี่ยงค่าเงินบาทแข็งค่า ล่าสุดอยู่ที่ 31.93 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่ากว่าสมมติฐานค่าเงินบาทปี 2562 ที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้ที่ 33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ เล็กน้อย แต่ฝ่ายวิจัยยังประเมินว่าค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าในช่วงที่เหลือของปี 2562 ยังสอดคล้องกับสมมติฐานที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้ได้ โดยค่าเงินบาทที่แข็งค่าในระยะสั้น อาจกระทบต่อการแข่งขัน และความสามารถในการทำกำไร โดยทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่าจากสมมติฐาน จะส่งผลกระทบต่อกำไรสุทธิปี 2562 ของ CPF 4.9% และ GFPT 2.4% แต่ระทบต่อมูลค่าหุ้นเพียง 0.4% และ FV ราว 0.5% ตามลำดับ
ตรงข้ามกับ TFG กลับได้ประโยชน์จากเงินบาทที่แข็ง เพราะนำเข้ากากถั่วเหลืองในสัดส่วนมากกว่าการส่งออกไก่ โดยทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่าจากสมมติฐาน จะส่งผลบวกต่อกำไรสุทธิของ TFG 0.9% และ FV 1.1%