จับตา! INTUCH-DTAC-RATCH-CENTEL พาเหรดเข้า MSCI เปิดทางตช.ไล่ซื้อดันราคาหุ้น
จับตา! INTUCH-DTAC-RATCH-CENTEL พาเหรดเข้า MSCI เปิดทางตช.ไล่ซื้อดันราคาหุ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า MSCI ไดประกาศใช้เกณฑ์ “เอ็นวีดีอาร์” ในการคำนวณดัชนีรอบใหม่ ซึ่งประเด็นดังกล่าวถือเป็นปัจจัยบวกต่อกระแสเงินไหลเข้าในตลาดหุ้น โดยเบื้องต้นหุ้นไทยที่เข้าใหม่ คือ CENTEL, DTAC, INTUCH, RATCH ซึ่งหุ้นที่เข้าใหม่และหุ้นที่ถูกเพิ่มน้ำหนักจะผลในวันที่ 28 พ.ค. 62 ขณะที่การเพิ่มน้ำหนักหุ้นตัวอื่นๆ รอติดตามการประเมินเช้าวันจันทร์เนื่องจาก MSCI มีแก้ไขกระบวนการคิดคำนวณบางประการ
โดยบล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า การเปลี่ยนกฎเกณฑ์ของ MSCI ในเดือน มี.ค. จะหนุน Fund flow เข้าไทย โดย MSCI กำลังจะปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์สำหรับ Investment Limits ในการคำนวณดัชนี ซึ่งจะกระทบต่อน้ำหนักการลงทุนในบางประเทศ รวมถึงจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหุ้นเข้า/ออกและน้ำหนักการลงทุนของหุ้นรายตัว
สำหรับกฎเกณฑ์ใหม่นี้ ถ้าได้รับการอนุมัติ คาดว่าน้ำหนักของไทยใน MSCI EM จะเพิ่มขึ้นจาก 2.5% สู่ 3% คิดเป็นเม็ดเงินจาก Passive Fund กว่า 1.11 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 3.5 หมื่นล้านบาท ที่จะกระจายเข้ามาในหุ้นใน MSCI Thailand และจะมีหุ้น 4 บริษัท ที่คาดว่าจะถูกนำเข้าคำนวณใหม่ในรอบเดือนพ.ค.นี้ ได้แก่ INTUCH, DTAC, RATCH, CENTEL ขณะที่หุ้นที่เสี่ยงถูกถอดออก คือ MTC
ด้าน บล.ยูบีเอส (ประเทศไทย) ระบุว่า จากการเพิ่มน้ำหนักหุ้นไทยจาก 2.5% ไปเป็น 3% นั้น จะคิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 2 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 6 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้หุ้นที่จะถูกนำเข้ามาคำนวณในดัชนี MSCI ประเทศไทย ตามที่คาดการณ์ไว้เช่น INTUCH, RATCH, CENTEL, DTAC และหุ้นที่คาดว่าจะถูกเพิ่มน้ำหนักมีแนวโน้มที่ราคาหุ้นจะปรับตัวสูงขึ้นก่อนวันที่ MSCI ประกาศ
ส่วนบล.ยูโอบี เคย์เฮียน ระบุว่า หาก MSCI ปรับเกณฑ์ และตลท.อนุญาตให้ต่างชาติยืมหุ้น NVDR เพื่อขายชอร์ต ทาง MSCI จะพิจารณาว่าจะนำ NVDR มาคำนวณน้ำหนักหุ้นไทยหรือไม่ หากนำมารวม จะส่งผลให้น้ำหนักการลงทุนหุ้นไทยเพิ่มขึ้นจาก 2.5% เป็น 3% ส่งผลบวกต่อเงินทุนไหลเข้า
ด้าน บริษัท มอร์แกน สแตนเล่ย์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การนำหุ้นเข้าคำนวณดัชนี MSCI ที่จะมีผลประกาศออกมาในวันที่ 29 มี.ค.2562 โดยกฎเกณฑ์ใหม่นี้จะเพิ่มการคำนวณใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย หรือ NVDR เข้าไปในการคำนวณดัชนีด้วย จากเดิมที่ใช้เพียง Foreign Ownership Limits (FOL) ในการคำนวณเท่านั้น
ทั้งนี้ มอร์แกนสแตนลีย์ คาดว่าจะมีการนำเอาหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้เข้ามาคำนวณอย่างเป็นทางการในรอบเดือนพ.ค.2562 ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าตามราคาตลาด (Market Cap.) ของดัชนี MSCI ประเทศไทย ได้ถึง 2.7 หมื่นล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 856 แสนล้านบาท (เพิ่มขึ้น 22%)
สำหรับการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การนำหุ้นเข้าคำนวณดัชนี MSCI ที่ควรจับตามอง ได้แก่ การจำกัดเพดาน NVDR ของกลุ่มสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินนั้นจะมีเพดานการออก NVDR อยู่ที่ 25% ยกเว้น ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK จะอยู่ที่ 35% ซึ่งตัวเลข Foreign Inclusion Factor (FIF) ที่ทาง MSCI นำมาใช้ชี้วัดนั้นมาจากการรวมกันของการถือหุ้นของต่างชาติ (FOL) และการออก NVDR
กรณีตัวเลข FIF ของหรือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ขณะนี้อยู่ที่ 54% ซึ่งหากกฎเกณฑ์ดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้วจะส่งผลให้ตัวเลข FIF ลดลงมาอยู่ที่ 25% ซึ่งก็คือเพดานของกลุ่มสถาบันการเงิน เมื่ออ้างอิงตัวเลข NVDR ด้วย ขณะเดียวกันกรณีของบริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MTC ก็จะถูกลดในส่วนของตัวเลข FIF จาก 30% ลงมาอยู่ที่ 25% เช่นกัน และมีความเป็นไปได้ที่จะถูกถอดออกจากดัชนี MSCI
รวมทั้งการยกเลิกการจำกัดการถือหุ้นของต่างชาติ (FOL) สำหรับหุ้นที่ไม่มีเพดานการออก NVDR โดยข้อเสนอนี้จะมีผลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด โดยหุ้นที่จะได้รับผลประโยชน์สูงสุด คือ SCC ซึ่งปัจจุบันมี FIF อยู่ที่ระดับ 32% มาจากการถือหุ้นของต่างชาติ หรือ FOL ที่ระดับ 25% และการออก NVDR อีกราว 7%
โดยหากยกเลิกการจำกัดการถือหุ้นของต่างชาติออกจะทำให้ FIF ของ SCC นั้นเพิ่มขึ้นจนแตะระดับ 65% หรือใกล้เคียงกับระดับของหุ้นหมุนเวียนในตลาด (Free Float) โดยในข้อเสนอนี้ MSCI เตรียมที่จะเพิ่มหุ้น บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH, บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH, บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) หรือ CENTEL และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC เข้าคำนวณในดัชนี MSCI ประเทศไทย ด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ มอร์แกนสแตนลีย์ มองว่าการปรับเกณฑ์ดังกล่าวจะมีผลบวกกับตลาดหุ้นไทยในระยะสั้น โดยหุ้นที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการเพิ่มมูลค่าตามราคาตลาดของ MSCI ในครั้งนี้ก็คือ SCC และบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) หรือ BDMS ส่วนหุ้นที่เสียประโยชน์สูงสุดก็คือ SCB
อย่างไรก็ตาม ทางมอร์แกนสแตนลีย์เชื่อว่ามูลค่าเหมาะสมสำหรับตลาดหุ้นไทยควรจะซื้อขายด้วยอัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E Ratio) ที่ 14.5 เท่า เนื่องจากความไม่แน่นอนในเรื่องการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง โดยเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาอาจอยู่ในปริมาณที่จำกัด ดังนั้น มอร์แกนสแตนลีย์ จึงยังคงประเมินตลาดหุ้นไทยเป็น ดัชนีที่ไม่ถ่วงน้ำหนัก หรือ Equal-Weight
เกณฑ์ใหม่ MSCI เพิ่มน้ำหนักหุ้นไทยหนุนเม็ดเงินไหลเข้า 6 หมื่นลบ.
ด้านบริษัทหลักทรัพย์ยูบีเอส (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า จากการเพิ่มน้ำหนักหุ้นไทยจาก 2.5% ไปเป็น 3% นั้น จะคิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 2 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 6 หมื่นล้านบาท
โดยหุ้นที่คาดว่าจะถูกเพิ่มน้ำหนักตามเกณฑ์ใหม่ดังกล่าว ประกอบโดย SCC คาดว่าจะได้รับเม็ดเงินเพิ่มเติมประมาณ 475 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.51 หมื่นล้านบาท, BDMS คาดว่าจะได้รับเม็ดเงินเพิ่มเติมประมาณ 332 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.06 หมื่นล้านบาท, INTUCH คาดว่าจะได้รับเม็ดเงินเพิ่มเติมประมาณ 213 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6.77 พันล้านบาท, บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN คาดว่าจะได้รับเม็ดเงินเพิ่มเติมประมาณ 182 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5.78 พันล้านบาท5,784 ล้านบาท
รวมทั้ง BBL-F คาดว่าจะได้รับเม็ดเงินเพิ่มเติมประมาณ 137 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 4.35 พันล้านบาท, บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH คาดว่าจะได้รับเม็ดเงินเพิ่มเติมประมาณ 115 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3.66 พันล้านบาท, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK คาดว่าจะได้รับเม็ดเงินเพิ่มเติมประมาณ 106 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3.37 พันล้านบาท, บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU คาดว่าจะได้รับเม็ดเงินเพิ่มเติมประมาณ 97 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3,082 ล้านบาท
อีกทั้ง RATCH คาดว่าจะได้รับเม็ดเงินประมาณ 83 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.64 พันล้านบาท, DTAC คาดว่าจะได้รับเม็ดเงินประมาณ 67 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.13 พันล้านบาท และ CENTEL คาดว่าจะได้รับเม็ดเงินประมาณ 67 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.13 พันล้านบาท
ส่วนหุ้นที่คาดว่าจะถูกถอนออกจาก MSCI นั้นได้แก่ SCB คาดว่าจะสูญเสียเม็ดเงินประมาณ 128 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 4.07 พันล้านบาท และ MTC คาดว่าจะสูญเสียเม็ดเงินประมาณ 12 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 381 ล้านบาท
ทั้งนี้หุ้นที่จะถูกนำเข้ามาคำนวณในดัชนี MSCI ประเทศไทย ตามที่คาดการณ์ไว้เช่น INTUCH, RATCH, CENTEL, DTAC และหุ้นที่คาดว่าจะถูกเพิ่มน้ำหนักมีแนวโน้มที่ราคาหุ้นจะปรับตัวสูงขึ้นก่อนวันที่ MSCI ประกาศ
ด้านบริษัทหลักทรัพย์ เครดิต สวิส จำกัด ประเมินสถานการณ์หลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2562 โดยระบุในบทวิเคราะห์ในบทวิเคราะห์ว่า พรรคพลังประชารัฐได้รับคะแนนเสียงดีกว่าที่คาด ถึงแม้จะได้จำนวนที่นั่งของ ส.ส. น้อยกว่าพรรคเพื่อไทยก็ตาม ด้านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็มีโอกาสที่จะได้กลับเข้ามาทำงานเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งจากการโหวตของ ส.ว. อีก 250 เสียง ที่จะนำมาคำนวณกับเสียงจาก ส.ส. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าทั้ง 250 เสียงนั้นจะลงชื่อสนับสนุนพลเอกประยุทธ์
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ส.ว. ที่เลือกมานั้นจะส่ง พลเอกประยุทธ์ กลับเข้าตำแหน่งเดิมได้ แต่ก็ต้องพยายามหาเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องร่วมมือกับพรรคเล็กเพื่อให้ได้มาซึ่งเสียงในสภาล่าง มิเช่นนั้นอาจเผชิญกับการโหวตอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ โดยคาดว่าการโหวตชื่อนายกรัฐมนตรีนั้นจะมีขึ้นหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 พ.ค.2562 ซึ่งจะอยู่ในกรอบระยะเวลา 60 วันหลังเลือกตั้งตามกฎหมายกำหนด
ส่วนของเรื่องนโยบายจากพรรคการเมืองนั้น หากพรรคพลังประชารัฐได้จัดตั้งรัฐบาลอีกสมัยหนึ่ง ตามนโยบายแล้วจะให้ความสำคัญกับเรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ปรับเพิ่มเงินเดือนขั้นต่ำของนิสิต/นักศึกษาจบใหม่ เงินอุดหนุนเกษตรกร และการปรับลดภาษีบุคคลธรรมดา 10% โดยนโยบายทั้งหลายเหล่านี้จะช่วยเพิ่มการบริโภคของประชาชน และในทางกลับกันจะทำให้มีการขาดดุลงบประมาณมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวในช่วงระยะเวลาสั้นๆ หลังจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นผลจากแรงผลักดันจากความคาดหวังว่าจะได้รัฐบาลเดิมดำรงตำแหน่ง ทำให้มีความต่อเนื่องของการดำเนินงาน แต่ว่าในเรื่องของปัจจัยพื้นฐานของประเทศไทยนั้นยังไม่มีอะไรที่น่าสนใจ หรือเป็นตัวกระตุ้น
อย่างไรก็ตามค่า P/E ของตลาดหุ้นไทยนั้นยังยืนอยู่เหนือตัวเลขในอดีตที่ผ่านมา และยังมีมูลค่าส่วนเกินอยู่ที่ 10% ของตลาดเพื่อนบ้าน ในขณะที่ผลการเลือกตั้งอาจส่งผลในเชิงบวกต่อนักลงทุน ทางด้าน นายกรัฐมนตรี ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้นจะต้องบริษัทงานด้วยรัฐบาลที่มีเสถียรภาพน้อยกว่าชุดที่เคยมี จากการวิเคราะห์แล้ว การฟื้นตัวของตลาดหุ้นนั้นจะเป็นเพียงระยะสั้นๆ กินเวลาไม่กี่อาทิตย์ และหลังจากนั้นจะหยุดชะงักลง
ทั้งนี้ เครดิตสวิส จึงแนะนำหุ้นที่เป็นปัจจัยพื้นฐานด้านการบริโภคเป็นหลัก เช่น บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL, หุ้นอสังหาริมทรัพย์ เช่น LH และบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI, หุ้นที่ปล่อยกู้ เช่น SAWAD, MTC, SCB c]tบริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO
ส่วนของหุ้นกลุ่มก่อสร้างก็จะยังได้แรงบวกในระยะสั้นจากการคาดการณ์ว่านโยบายจากรัฐบาลชุดที่แล้ว จะสานต่อมายังรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ แต่ทาง เครดิต สวิส มองว่าหากราคาหุ้นในกลุ่มก่อสร้างนี้มีการปรับขึ้นมาในระดับหนึ่งแล้ว ควรที่จะขายออกเพื่อป้องกันเหตุต่างๆ จากการดำเนินงาน