สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 17 เม.ย.62
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 17 เม.ย.62
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (17 เม.ย.) เนื่องจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธุรกิจสุขภาพได้บดบังปัจจัยบวกจากผลประกอบการที่สดใสของบริษัทจดทะเบียนและข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐและจีน โดยหุ้นกลุ่มธุรกิจสุขภาพได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า รัฐบาลสหรัฐอาจเปลี่ยนแปลงระบบประกันสุขภาพ ซึ่งรวมถึงการบังคับใช้ฎหมาย “Medicare for All” หรือ “ประกันสุขภาพถ้วนหน้า”
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,449.54 จุด ลดลง 3.12 จุด หรือ -0.01% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,900.45 จุด ลดลง 6.61 จุด หรือ -0.23% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,996.08 จุด ลดลง 4.15 จุด หรือ -0.05%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (17 เม.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนที่ดีเกินคาด ซึ่งช่วยคลายความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจจีน และหุ้นกลุ่มรถยนต์ที่ทะยานขึ้นช่วยหนุนตลาด
ดัชนี Stoxx Europe 600 บวก 0.10% ปิดที่ 389.59 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,563.09 จุด เพิ่มขึ้น 34.43 จุด หรือ +0.62%หรือ +0.36% และ ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,153.07 จุด เพิ่มขึ้น 51.75 จุด หรือ +0.43% ขณะที่ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,471.32 จุด เพิ่มขึ้น 1.40 จุด หรือ +0.02%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (17 เม.ย.) โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มธนาคารที่ปรับตัวขึ้นขานรับจีนเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีเกินคาด แต่หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ที่ปรับตัวลง ส่งผลกดดันตลาด
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,471.32 จุด เพิ่มขึ้น 1.40 จุด หรือ +0.02%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (17 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อรายงานข่าวที่ว่า รัสเซียและกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) อาจตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อชิงส่วนแบ่งตลาดจากสหรัฐ อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวลงไม่มากนัก เนื่องจากรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐที่ลดลงเป็นปัจจัยหนุนตลาดในระหว่างวัน
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 29 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 63.76 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 10 เซนต์ หรือ 0.1% ปิดที่ 71.62 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (17 เม.ย.) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐและจีนส่งผลให้นักลงทุนลดความต้องการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 40 เซนต์ หรือ 0.03% ปิดที่ 1,276.80 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 2.4 เซนต์ หรือ 0.16% ปิดที่ 14.939 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 7.1 ดอลลาร์ หรือ 0.8% ปิดที่ 891.3 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย. พุ่งขึ้น 50.20 ดอลลาร์ หรือ 3.8% ปิดที่ 1,378.60 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนและปอนด์ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (17 เม.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจหลายรายการ ซึ่งรวมถึงตัวเลขขาดดุลการค้าที่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 112.06 เยน จากระดับ 111.99 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 1.0104 ฟรังก์ จากระดับ 1.0074 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3343 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3355 ดอลลาร์แคนาดา
เงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.3038 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3052 ดอลลาร์ ขณะที่ดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7169 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7173 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนยูโรแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.1298 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1287 ดอลลาร์