TVT อนาคตโดดเด่น

ปัจจุบันการแข่งขันระหว่างช่องทีวีดิจิตอลมีสูงมาก โดยการที่จะแย่งผู้ชมให้เกิดความสนใจในตัวของรายการนั้น ปัจจัยหลักต้องมีคอนเทนต์ที่นำเสนอ เพราะเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการแข่งขัน เรียกได้ว่าช่องดีคอนเทนต์เด่นมากเท่าไรช่องนั้นมีชัยไปกว่าครึ่ง ขณะที่ TVT อาจเป็นผู้ที่ทำธุรกิจผลิตรายการอิสระที่โดดเด่นในตลาดทุน


ปัจจุบันการแข่งขันระหว่างช่องทีวีดิจิตอลมีสูงมาก โดยการที่จะแย่งผู้ชมให้เกิดความสนใจในตัวของรายการนั้น ปัจจัยหลักต้องมีคอนเทนต์ที่นำเสนอ เพราะเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการแข่งขัน เรียกได้ว่าช่องดีคอนเทนต์เด่นมากเท่าไรช่องนั้นมีชัยไปกว่าครึ่ง

ทั้งนี้ บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TVT อาจเป็นผู้ที่ทำธุรกิจผลิตรายการอิสระที่โดดเด่นในตลาดทุน โดยมีความน่าสนใจในการลงทุนดังต่อไปนี้ 1) ความต้องการคอนเทนต์ในอุตสาหกรรมโทรทัศน์สูงขึ้นถึง 4 เท่าตัว การประมูลทีวีดิจิตอลทำให้จำนวนฟรีทีวีเพิ่มขึ้นจาก 6 ช่องเป็น 24 ช่อง ไม่รวมช่องภาครัฐอีก 3 ช่อง ทำให้ชั่วโมงการออกอากาศเพิ่มขึ้นจากราว 1 พันชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็นราว 4 พันชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในขณะที่ผู้ผลิตรายการที่มีช่องทีวีดิจิตอล เช่น  WORK GRAMMY RS ต่างถอนรายการออกจากช่องอนาล็อกเดิมกลับไปป้อนช่องของตนเอง

(2) แผนขยายสตูดิโอใหม่ 3 แห่ง รองรับความต้องการ TVT มีแผนเพิ่มกำลังผลิตรายการโดยสร้างสตูดิโอ 3 แห่ง มูลค่าเงินลงทุนราว 200 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินทุนจาก IPO คาดว่าจะสร้างเสร็จในช่วงกลางปี 59 ซึ่งเป็นการเพิ่มความสามารถกำลังการผลิตที่สำคัญเป็นผลิตได้ 20 รายการต่อสัปดาห์ จากเดิมเพียง 8 รายการต่อสัปดาห์

(3) เลิกผลิตรายการขาดทุนหนุนอัตรากำไรขั้นต้น โดยเลิกผลิตรายการ 4 รายการที่ขาดทุน ลดการผลิตรายการของตนเอง และปรับแผนเป็นการรับจ้างผลิตมากขึ้น ซึ่ง คาดว่ามีผลทำให้อัตรากำไรขึ้นต้นเพิ่มขึ้น 420 bps จากปีก่อน เป็นราว 33.8% ในปี 2558

(4) ฐานะการเงินแข็งแกร่ง ระดับ D/E ต่ำ สถานะเป็น Net cash โดยเงินที่ได้จาก IPO เพียงพอต่อแผนการขยายกิจการ และมีข้อได้เปรียบบริษัทในอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ เนื่องจากเป็นผู้ผลิตรายการอิสระ (Content Provider) ที่ไม่มีช่องของตนเอง จึงไม่ต้องลงทุนหนักในค่าใบอนุญาตทีวีดิจิตอลซึ่งกำลังเป็นปัญหาที่รายอื่นกำลังเผชิญ

แม้ว่าผลการดำเนินงานไตรมาส 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2558 บริษัทมีรายได้รวมลดลงเหลือ 68.65 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน 86.08 ล้านบาท แต่บริษัทมีกำไรขยับขึ้นมาอยู่ที่ 5.14 ล้านบาท หรือ 0.01 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุน 14.37 ล้านบาท หรือ 0.12 บาทต่อหุ้น โดยแสดงผลกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่จากรายได้การขายและบริการเพิ่มเล็กน้อย

เมื่อวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของบริษัทเพื่อใช้เป็นหนึ่งในตัวแปรตัดสินใจในการลงทุนพบว่า ฐานะทางการเงินยังแข็งแกร่ง เพราะเมื่อนำสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีมากถึง 191.76 ล้านบาท มาเทียบกับหนี้สินหมุนเวียนแค่ 87.23 ล้านบาท ได้ค่า CURRENT RATIO อยู่ที่ระดับ 2.20 เท่า แสดงว่า สภาพคล่องทางการเงินของบริษัทมากเกินความจำเป็นเสียด้วยซ้ำไป

ขณะที่ปัญหาหนี้สินของบริษัทไม่มีอะไรที่ต้องเป็นห่วง และเมื่อนำเอาหนี้สินรวมที่มีอยู่ 150.61 ล้านบาทมาเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น 259.17 ล้านบาท ได้ค่า D/E อยู่ที่ระดับ 0.59 เท่า ตรงนี้เป็นการยืนยันว่า บริษัทยังคงปลอดหนี้สินจริงๆ

ในขณะที่ บล.ทรีนีตี้ ให้คำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายระยะ 12 เดือน 3.44 บาทต่อหุ้น

 

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

1. นางภัทรภร วรรณภิญโญ 189,538,000 หุ้น 23.69%

2. นายสมพงษ์ วรรณภิญโญ 150,010,800 หุ้น 18.75%

3. นายณฐกฤต วรรณภิญโญ 100,045,600 หุ้น 12.51%

4. นางสาวณภัทร วรรณภิญโญ 91,530,800 หุ้น 11.44%

5. นางประภาวัลย์ สนธิพันธ์ 36,180,000 หุ้น 4.52%

 

รายชื่อกรรมการ

1.นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ประธานกรรมการ

2.นางภัทรภร วรรณภิญโญ รองประธานกรรมการ

3.นางภัทรภร วรรณภิญโญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

4.นายสมพงษ์ วรรณภิญโญ กรรมการ

5.นายภูษิต ไล้ทอง กรรมการ

Back to top button