OSP เด้ง 5% ทุบสถิติ “ออลไทม์ไฮ” ฟากโบรกฯคาดกำไรไตรมาส 1/62 สูงสุดเป็นประวัติการณ์
OSP เด้ง 5% ทุบสถิติ "ออลไทม์ไฮ" ฟากโบรกฯคาดกำไรไตรมาส 1/62 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดย ณ เวลา 15.33 น. ราคาอยู่ที่ 34.25 บาท บวก 1.50 บาท หรือ 4.58% สูงสุดที่ 34.25 บาท ต่ำสุดที่ 32 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 592.56 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาหุ้น บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP ล่าสุด ณ เวลา 15.33 น. อยู่ที่ 34.25 บาท บวก 1.50 บาท หรือ 4.58% สูงสุดที่ 34.25 บาท ต่ำสุดที่ 32 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 592.56 ล้านบาท
ทั้งนี้ ราคาหุ้น OSP ปรับตัวขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เมื่อวันที่ 17 ต.ค.2561 โดยมีราคา IPO ที่ 25 บาท
ด้าน บล.เคทีบี (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ (29 เม.ย.62) แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 34 บาท/หุ้น โดยคาดแนวโน้มกำไรสุทธิไตรมาส 1/62 ทำสถิติสูงสุดใหม่
โดยกำไรสุทธิไตรมาส 1/62 อยู่ที่ 876 ล้านบาท เติบโต 12% จากงวดเดียวกันเมื่อปีก่อน, 11% จากไตรมาสก่อน หนุนโดย รายได้จากเครื่องดื่มในประเทศที่ขยายตัว 3.5% จากงวดเดียวกันเมื่อปีก่อน และทรงตัวจากไตรมาสก่อน จากตลาดเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่องในไตรมาส 1/62
อีกทั้ง รายได้จาก Supply chain เติบโตโดดเด่น 27.3% จากงวดเดียวกันเมื่อปีก่อน, 5.9% จากไตรมาสก่อน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากลูกค้าใหม่เข้ามา และฐานที่ต่ำในปีแล้วเนื่องจากมีการปิดเตาหลอมเพื่อซ่อมบำรุง และกลับมาเปิดใหม่อีกครั้งในไตรมาส 3/61 รวมถึงรายได้จากต่างประเทศยังคงขยายตัวต่อเนื่อง เพิ่มขึ้น 7.7% จากดไตรมาสก่อน และทรงตัวจากงวดเดียวกันเมื่อปีก่อน อยู่ที1,010 ล้านบาท โดยมองว่ารายได้จากพม่ายังคงขยายตัวต่อเนื่อง และเริ่มรับรู้รายได้จาก Personal care ในเวียดนาม
พร้อมทั้ง Gross profit margin expansion ที่ 34.6% จาก 34.4% ในไตรมาส 4/61 และ 32.2% ในไตรมาส 1/61 เป็นผลมาจาก Fitness First program และราคาต้นทุนวัตถุดิบที่ต่ำลง โดยเฉพาะราคาเศษแก้วที่คาดว่าลดลง ลดลง 33% จากงวดเดียวกันเมื่อปีก่อน, ลดลง 4% จากไตรมาสก่อน และราคาน้ำตาลที่ต่ำลง รวมทั้ง SG&A to total sales ที่ปรับตัวลดลงเป็น 20.2% จาก 21.1% ในไตรมาส 4/61 โดยในไตรมาส 1/62 มี Advertising & promotion expenses ที่ลดลง อีกทั้ง Interest expenses ที่ต่ำลง เนื่องจากนำเงินที่ได้จาก IPO ไปชำระหนี้ส่วนใหญ่
อย่างไรก็ดี คงประมาณการกำไรสุทธิปี 2562 ที่ 3,395 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 13% จากงวดเดียวกันเมื่อปีก่อน) หนุนโดย ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ 5% โดย OSP ยังคงโฟกัสที่จะรักษา Market share ไม่น้อยกว่า 54%, การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 4-5 ผลิตภัณฑ์, เริ่มรับรู้กำลังการผลิตจาก Furnace ที่ซ่อมบำรุงเสร็จได้เต็มปี, และเริ่มรับรู้กำลังการผลิตจากโรงงานขวด SGA2 ตั้งแต่ปลายไตรมาส 3/62
อีกทั้ง รายได้จาก Supply chain ที่กลับมาฟื้นตัว 10% จากงวดเดียวกันเมื่อปีก่อน รวมถึงรายได้จาก Personal care เพิ่ม 9% จากงวดเดียวกันเมื่อปีก่อน จากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่, ขณะที่รายได้จากต่างประเทศยังขยายตัวที่ 13% จากงวดเดียวกันเมื่อปีก่อน คาดรายได้จากกลุ่มเครื่องดื่มในต่างประเทศยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะพม่า และรับรู้รายได้จาก Personal care และ Beverage ในเวียดนาม, พร้อมทั้ง Gross profit margin ขยายตัวจากการรับรู้ราคา Cullet ที่ต่ำลงได้เต็มปี และต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง จาก Fitness first program, และต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงจากการนำเงิน IPO ไปชำระหนี้จนอยู่ในสถานะ Net cash
ทั้งนี้ คงคำแนะนำ “ซื้อ” และปรับราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 34.00 บาท อิง PER 30.2x (เดิม 31.50 บาท) สะท้อน PER ของกลุ่มเครื่องดื่มชูกำลังที่มีการ re-rate (PER 31.4x) เรามองว่า ราคาหุ้น OSP ปัจจุบันยัง Laggard ปัจจุบันเทรดอยู่ที่ PER ต่ำกว่า(OSP PER 27.3x vs CBG PER 37.6x ) และ ยังมี EBITDA margin ที่สูงกว่าคู่แข่ง (OSP 18.5% , CBG 15.4%)
โดยเลือก OSP เป็น Top pick กลุ่มเครื่องดื่มชูกำลัง ชอบในความเป็นผู้นำตลาดเครื่องดื่มชูกำลังในไทยและพม่าของ OSP อีกทั้ง Fitness First program ยังช่วยลด cost ได้อย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากนี้ ในไตรมาส 3/62 จะมีกำลังการผลิตขวดแก้วที่เพิ่มขึ้นจากโรงงาน SGA2 และ โรงงานเครื่องดื่มที่พม่า จะสร้างเสร็จในช่วงต้นไตรมาส 4/62 คาดเริ่มรับรู้รายได้ปลายไตรมาส 4/62 หนุน margin กลุ่มเครื่องดื่มขยายซึ่งเป็นสินค้าหลักให้ขยายตัว ทั้งนี้ มองว่าจากผลประกอบการไตรมาส 1/62 ที่ออกมาดี จะส่งผลให้ตลาดมีแนวโน้มที่จะปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2562 และราคาเป้าหมายขึ้น