บลจ.เมย์แบงก์จ่ายปันผลกองทุน MJPหน่วยละ 1.32 บาท หลังผลงานโต 14%
นายตรีพล ภูมิวสนะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลกองทุนเปิดเมย์แบงก์ เจแปน อีทีเอฟ (MJP) ในอัตราหน่วยลงทุนละ 1.32 บาท คิดเป็นอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) 13.2% โดยกำหนดปิดสมุดทะเบียนวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 และกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 28 กรกฎาคม 2558 หลังจากที่กองทุน MJP จัดตั้งขึ้นมาเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือนเท่านั้น เนื่องจากกองทุน MJP มีผลการดำเนินที่ดีอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตของตลาดหุ้นญี่ปุ่น โดยกองทุน MJP จะเน้นลงทุนหุ้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผลตอบแทนจะสะท้อนจากความเคลื่อนไหวของดัชนี MSCI Japan และมีนโยบายจ่ายเงินปันผลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
นายตรีพล ภูมิวสนะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลกองทุนเปิดเมย์แบงก์ เจแปน อีทีเอฟ (MJP) ในอัตราหน่วยลงทุนละ 1.32 บาท คิดเป็นอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) 13.2% โดยกำหนดปิดสมุดทะเบียนวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 และกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 28 กรกฎาคม 2558 หลังจากที่กองทุน MJP จัดตั้งขึ้นมาเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือนเท่านั้น เนื่องจากกองทุน MJP มีผลการดำเนินที่ดีอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตของตลาดหุ้นญี่ปุ่น โดยกองทุน MJP จะเน้นลงทุนหุ้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผลตอบแทนจะสะท้อนจากความเคลื่อนไหวของดัชนี MSCI Japan และมีนโยบายจ่ายเงินปันผลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
“ผลการดำเนินงานของกองทุน MJP ถือว่าเติบโตอย่างโดดเด่นมากในช่วงเวลาอันสั้น เพียง 6 เดือนกองทุนเติบโตถึง 14% เป็นผลมาจากนโยบายอาเบะโนมิกส์ที่ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของญี่ปุ่นเติบโตขึ้น จนทำให้กำไรต่อหุ้น ของบริษัทในญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้นด้วยเช่นกัน (Earning Momentum)”นายตรีพล กล่าว
สำหรับมุมมองในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 ยังเชื่อว่า ผลการดำเนินงานของกองทุน MJP น่าจะเติบโตต่อเนื่อง โดยการเติบโตของกำไรต่อหุ้นในตลาดนิเกอิจะยังคงเป็นแรงส่งให้ราคาของหุ้นบริษัทจดทะเบียนปรับตัวสูงขึ้นได้อีก รวมถึงการทำมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing:QE) ในประเทศอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้พีอีของตลาดหุ้นญี่ปุ่นขยายตัวและดันราคาหุ้นให้สูงขึ้นต่อไปได้เช่นกัน
ส่วนกรณีวิกฤติการเงินในประเทศกรีซนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อกองทุนเปิดเมย์แบง์ ยูโร อีทีเอฟ (Maybank EURO ETF: MEU) ที่มีนโยบายลงทุนหุ้นของบริษัทชั้นในกลุ่มประเทศยุโรป เนื่องจากกองทุน MEU ไม่มีการลงทุนในประเทศกรีซ โดย บลจ.เมย์แบงก์มองว่า ผลกระทบจากปัญหาจะอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากเศรษฐกิจกรีซมีขนาดเพียง 2% ของเศรษฐกิจยุโรป นอกจากนี้ เจ้าหนี้ส่วนใหญ่ของกรีซที่มีมูลค่ามากกว่า 80% ของจำนวนหนี้ทั้งหมดเป็นกลุ่มทรอยก้าซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐ จึงสามารถจำกัดความเสี่ยงที่จะลุกลามไปยังภาคเอกชนได้พอสมควร
แต่อย่างไรก็ดี หากกรีซจำเป็นต้องออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มยูโรจริง อาจทำให้เกิดวิกฤตความเชื่อมั่นลุกลามไปยังประเทศที่มีฐานะการคลังที่อ่อนแอ แต่ผลกระทบมีไม่มากนัก เนื่องจากปัจจุบันยังคงมีมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารกลางยุโรป จำนวนทั้งสิ้นราว 1.1 ล้านยูโรที่จะช่วยลดผลกระทบการผิดนัดชำระหนี้ไม่ให้ลุกลามไปยังรัฐบาลประเทศอื่นๆได้ ทั้งนี้ในระยะสั้นหากกรีซต้องออกจากกลุ่มยูโร อาจเกิดการขายเพราะตกใจ(panic sell)ขึ้นได้ ส่วนการเข้าลงทุนในตลาดหุ้นยุโรปแนะนำรอลงทุนเพิ่มเมื่อมีโอกาส และสถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว
สำหรับการปันผลของกองทุนอีทีเอฟอีก 3 กองของเมย์แบงก์ ได้แก่ กองทุนเปิดเมย์แบงก์ ยุเอส อีทีเอฟ (Maybank US ETF: MUS) กองทุนเปิดเมย์แบง์ ยูโร อีทีเอฟ (Maybank EURO ETF: MEU) และกองทุนเปิดเมย์แบงก์ อีเมอร์จิ้ง อีทีเอฟ (Maybank Emerging ETF: MEM) นั้น บลจ. เมย์แบงก์ มีแผนจะจ่ายเงินปันผลในปีนี้โดยจะพิจารณาจากผประกอบการของทั้ง 3 กองเป็นหลัก