สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 20 ส.ค. 2562
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 20 ส.ค. 2562
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (20 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากดัชนีดาวโจนส์พุ่งขึ้นติดต่อกัน 3 วันทำการก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตานายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งมีกำหนดกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมเศรษฐกิจประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล ในวันศุกร์นี้ เพื่อหาสัญญาณเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ย
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,962.44 จุด ลดลง 173.35 จุด หรือ -0.66% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,900.51 จุด ลดลง 23.14 จุด หรือ -0.79% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,948.56 จุด ลดลง 54.25 จุด หรือ -0.68%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (20 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับความเสี่ยงทางการเมืองที่เพิ่มขึ้น หลังนายจูเซปเป คอนเต นายกรัฐมนตรีอิตาลี ประกาศลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งส่งผลให้ตลาดหุ้นและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีดิ่งลง
ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.68% ปิดที่ 371.30 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,344.64 จุด ลดลง 26.91 จุด หรือ -0.50%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,651.18 จุด ลดลง 64.19 จุด หรือ -0.55% และ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,125.00 จุด ลดลง 64.65 จุด หรือ -0.90%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลดลงเมื่อคืนนี้ (20 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังวิตกเกี่ยวกับความขัดแย้งด้านการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน และความวุ่นวายทางการเมืองในอิตาลี ขณะที่หุ้นกลุ่มส่งออกถูกกดดันจากการที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้น
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,125.00 จุด ลดลง 64.65 จุด หรือ -0.90%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (20 ส.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐจะปรับตัวลดลงในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 16 ส.ค. นอกจากนี้ สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างอิหร่านและชาติตะวันตกยังคงเป็นปัจจัยหนุนตลาดน้ำมัน
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 13 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 56.34 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 29 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 60.03 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (20 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนกลับเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐอ่อนแรงลง นอกจากนี้ การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ยังเป็นปัจจัยหนุนตลาดทองคำ
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 4.1 ดอลลาร์ หรือ 0.27% ปิดที่ 1,515.70 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 20.8 เซนต์ หรือ 1.23% ปิดที่ 17.184 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 4 ดอลลาร์ หรือ 0.47% ปิดที่ 852.80 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. พุ่งขึ้น 15.40 ดอลลาร์ หรือ 1% ปิดที่ 1,489.70 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (20 ส.ค.) หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐปรับตัวลง ซึ่งส่งผลให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่นักลงทุนจับตานายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งมีกำหนดกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมเศรษฐกิจประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล ในวันศุกร์นี้ เพื่อหาสัญญาณเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ย
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 106.27 เยน จากระดับ 106.62 เยน และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9782 ฟรังก์ จากระดับ 0.9812 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3316 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3329 ดอลลาร์แคนาดา
สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1096 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1081 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.2165 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2132 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.6775 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6765 ดอลลาร์สหรัฐ