สรุปปัจจัยสำคัญตลาดทุน-การเงิน-เศรษฐกิจวันนี้
สรุปปัจจัยสำคัญตลาดทุน-การเงิน-เศรษฐกิจวประจำวันที่ 23 ก.ค.58
– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 123.82 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 124.05 เยน/ดอลลาร์
– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0994 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0944 ดอลลาร์/ยูโร
– ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,444.66 จุด ลดลง 3.18 จุด หรือ 0.22% มูลค่าการซื้อขาย 29,169.88 ล้านบาท
– สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,761.88 ล้านบาท (SET+MAI)
– นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยนับแต่ต้นปีการอ่อนค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับเงินสกุลภูมิภาคที่อ่อนค่าลงเช่นกัน แต่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทอาจจะอ่อนค่ามากกว่าเงินสกุลอื่นๆ ไปบ้าง
อย่างไรก็ตาม แม้ทิศทางการอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงนี้จะยังมีความจำเป็นในการช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่การอ่อนค่าที่รวดเร็วเกินไป อาจสร้างความผันผวนและเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวของภาคเศรษฐกิจจริง ในระยะนี้ ธปท. จึงติดตามภาวะตลาดอย่างใกล้ชิด
– นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ยอมรับว่า ต้องปรับเป้าหมายมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตลาดหลักทรัพย์ไทยในปีนี้ลง โดยคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับครึ่งปีแรกที่ 4.7 หมื่นล้านบาท จากเป้าหมายเดิมที่คาดไว้เมื่อต้นปีสูงถึง 5.2 หมื่นล้านบาท/วัน เนื่องจากมีปัจจัยลบข้ามากระทบการลงทุน แต่ในแง่ของมูลค่าระดมทุนกลับพุ่งทะลุเกินคาด
– นักวิเคราะห์จากเจพี มอร์แกน เปิดเผยว่า กระแสเงินทุนไหลออกจากจีนไม่น่าจะส่งผลกระทบอย่างน่าวิตกต่อเศรษฐกิจ และคาดว่าแนวโน้มดังกล่าวจะชะลอลงในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้
– สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ เผยยอดค้าปลีกในเดือน มิ.ย.ปรับตัวลดลง 0.2% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. เนื่องจากยอดขายที่ร้านอาหารและปั๊มน้ำมันร่วงลง นอกจากนี้ยอดขายคอมพิวเตอร์ ของเล่น และเครื่องประดับก็ปรับตัวลงด้วยเช่นกัน แต่เมื่อเทียบเป็นรายปีแล้ว ยอดค้าปลีกยังขยายตัว 4%
– สมาคมแลกเปลี่ยนทองคำและเงินของจีน เผยราคาทองคำที่ตลาดฮ่องกงปรับตัวขึ้น 90 ดอลลาร์ฮ่องกง ปิดที่ระดับ 10,228 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตำลึงในวันนี้ หรือราคาเทียบเท่ากับ 1,107.82 ดอลลาร์สหรัฐ/ทรอยออนซ์ เพิ่มขึ้น 9.75 ดอลลาร์สหรัฐ
– ธนาคารกลางเกาหลีใต้ เผยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ช่วงไตรมาส 2 ขยายตัว 0.3% ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกที่ขยายตัว 0.8% และน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยายตัว 0.4% เนื่องจากการระบาดของโรคทางเดินหายใจสายพันธุ์ตะวันออกกลาง หรือเมอร์ส (MERS) ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน
ขณะที่การส่งออกยังคงซบเซา ส่วนการบริโภคภาคเอกชนในช่วงไตรมาส 2 ลดลง 0.3% จากไตรมาสแรกที่ขยายตัว 0.6% ขณะที่ยอดการส่งออกซึ่งคิดเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งของจีดีพีของประเทศขยับขึ้น 0.1% ในไตรมาส 2 จากทรงตัวในไตรมาสแรก
ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์