พันธมิตรเชิงกลยุทธ์

ตลอดปีที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียนหลายแห่ง มีการร่วมลงนามความร่วมมือและการร่วมลงทุนในหุ้นระหว่างกัน และปรากฏประโยคหนึ่งขึ้นมา นั่นคือคำว่า “พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (strategic alliance)” ไม่ว่าจะเป็นกรณีบริษัท บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เข้าถือหุ้นบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ RS สัดส่วนประมาณ 7%


พลวัตปี 2019 : สุภชัย ปกป้อง

ตลอดปีที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียนหลายแห่ง มีการร่วมลงนามความร่วมมือและการร่วมลงทุนในหุ้นระหว่างกัน และปรากฏประโยคหนึ่งขึ้นมา นั่นคือคำว่า “พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (strategic alliance)” ไม่ว่าจะเป็นกรณีบริษัท บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เข้าถือหุ้นบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ RS สัดส่วนประมาณ 7%

กรณีล่าสุดบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS ลงนามบันทึกความร่วมมือกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC เพื่อให้บริการร่วมกันทั้งอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ โทรศัพท์มือถือ WiFi บริการ OTT และ Content ต่าง ๆ

สำหรับ “พันธมิตรเชิงกลยุทธ์” นั่นหมายถึง หุ้นส่วนระยะยาว และการตกลงความร่วมมือขององค์การหรือบริษัทตั้งแต่สององค์การขึ้นไป เพื่อกำหนดเป้าหมายสำคัญร่วมกันโดยที่บริษัทยังมีความเป็นอิสระตามตัวบทกฎหมาย  ความร่วมมือนั้นปรากฏได้ทั้งรูปแบบความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกันและเป็นไปตามสัญญาข้อตกลง เพื่อสร้างพลังร่วมกันเพื่อให้บริษัทมีส่วนร่วมกันนำไปสู่ความเข้มแข็งและสมรรถภาพที่แตกต่างกันต่อพันธมิตร

โดยมีขั้นตอนกระบวนการสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ นั่นคือ…

การพัฒนากลยุทธ์ (Strategy Developement) เกี่ยวข้องกับการศึกษาความยืดหยุ่นของพันธมิตร, วัตถุประ สงค์, ความสมเหตุสมผลที่มุ่งเน้นประเด็นสำคัญและสิ่งท้าทายและการพัฒนากลยุทธ์ทรัพยากรเพื่อการผลิต, เทคโนโลยีต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ในวัตถุประสงค์เชิงพันธมิตรเพื่อกลยุทธ์ของกิจการ

– การประเมินหุ้นส่วน (Partners Assessment) เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของหุ้นส่วนเชิงศักยภาพ เป็นการสร้างกลยุทธ์เพื่อรองรับรูปแบบการจัดการของหุ้นส่วน โดยเตรียมคัดเลือกหุ้นส่วนอย่างเหมาะสม, การเข้าใจสิ่งจูงใจในการร่วมเป็นพันธมิตร และนำช่องว่างความสามารถการใช้ทรัพยากรที่อาจเกิดขึ้นกับหุ้นส่วน

– การเจรจาต่อรองสัญญา (Contract Negotiation) เกี่ยวข้องกับการพิจารณาว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ทำได้ (realistic), มีการกำหนดทีมเจรจาต่อรองที่มีคุณสมบัติสูง หมายถึงการทุ่มเทและรางวัลของหุ้นส่วนแต่ละฝ่ายต้องมีการปกป้องข้อมูลของกิจการโดยกำหนดเป็นเงื่อนไขข้อสัญญา, การลงโทษกรณีผลงานไม่ดี, และให้ความสำคัญระดับที่เป็นกรรมวิธีร้องเรียนเพื่อการระบุที่ชัดเจนและเข้าใจตรงกัน

– การพัฒนาพันธมิตร (Allaiance Development) เกี่ยวกับข้อเสนอความผูกพันของฝ่ายจัดการอาวุโส เพื่อค้นหาคุณสมบัติของทรัพยากรที่ทุ่มเทแก่พันธมิตร เชื่อมโยงเกี่ยวกับงบประมาณและทรัพยากรด้วยการจัดลำดับความสำคัญของกลยุทธ์ และเป็นการประเมินผลและวัดผลและการให้รางวัลในผลงานของพันธมิตร

– การดำเนินการร่วมกันของพันธมิตร (Alliance Execution) ขั้นตอนนี้เป็นการจัดการเชิงปฏิบัติการและการจัดการความสัมพันธ์นั่นเอง..

ประสิทธิผลของ “พันธมิตรเชิงกลยุทธ์” จะนำมาสู่คำว่า “วิน-วินโดยทั้งสองฝ่ายจะได้ผลประโยชน์เป็นที่พึงพอใจ โดยไม่มีฝ่ายใดรู้สึกว่าเป็นฝ่ายเสียเปรียบหรือได้รับความเสียหาย ที่สำคัญเป้าหมายกลยุทธ์ WIN-WIN คือการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งเพื่อประโยชน์สูงสุดทั้งสองฝ่าย..!!

Back to top button