พาราสาวะถี

ไม่มีอะไรเหนือความคาดหมาย กับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อกรณี ณฐพร โตประยูร ยื่นให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ เมื่อศาลใช้เวลา 10 นาทีอ่านคำวินิจฉัย “ยกคำร้อง” ซึ่งมีประเด็นที่พรรคอนาคตใหม่ ต้องนำกลับไปทบทวนคือ กรณีการร้องว่า ข้อบังคับ นโยบาย และสัญลักษณ์ของพรรค ไม่ถูกต้องไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ข้อบังคับพรรคไม่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข


อรชุน

ไม่มีอะไรเหนือความคาดหมาย กับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อกรณี ณฐพร โตประยูร ยื่นให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ เมื่อศาลใช้เวลา 10 นาทีอ่านคำวินิจฉัย ยกคำร้อง” ซึ่งมีประเด็นที่พรรคอนาคตใหม่ ต้องนำกลับไปทบทวนคือ กรณีการร้องว่า ข้อบังคับ นโยบาย และสัญลักษณ์ของพรรค ไม่ถูกต้องไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ข้อบังคับพรรคไม่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

แต่ก็มีข้อสังเกตในคำวินิจฉัยว่า หากมีการปรากฏในข้อเท็จจริงในภายหลังว่า ข้อบังคับพรรคการเมือง มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองนั้น เป็นหน้าที่และอำนาจของนายทะเบียนพรรคการเมือง รายงานไปยังกกต. ให้เพิกถอนข้อบังคับดังกล่าวได้ ซึ่งข้อเท็จจริงในกรณีนี้หาได้มีการกระทำดังกล่าว จึงยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเพียงพอว่า ผู้ถูกร้องทั้ง 4 เข้าข่ายตามคำร้อง แต่ผู้ร้องมีข้อห่วงใยของผู้ร้องในฐานะพลเมือง ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และประเทศชาติ

โดยศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า คำประกาศอุดมการณ์ การใช้ข้อความในข้อบังคับของพรรคการเมือง ที่ระบุว่า “หลักประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ” แทน คำว่า “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นั้น เห็นว่าข้อบังคับพรรคต้องมีความชัดเจน ไม่ควรมีความคลุมเครือ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความแตกแยกจากชนในชาติได้ ดังนั้น กกต.มีอำนาจหน้าที่จะพิจารณาให้เพิกถอนข้อบังคับได้ เพื่อป้องกันความสับสน ตรงนี้แหละที่ต้องรอดูว่าผู้บริหารพรรคอนาคตใหม่จะดำเนินการอย่างไรต่อไป

ส่วนกรณีที่ผู้ร้อง กล่าวอ้างว่า ผู้ถูกร้องมีแนวคิดปฏิกษัตริย์นิยม ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง สังคมไทย เช่น การให้สัมภาษณ์ การแสดงความเห็น การแสดงความเห็นต่าง ๆ ศาลเห็นว่า การพิจารณาว่า บุคคลใดจะใช้สิทธิและเสรีภาพในการล้มล้างการปกครอง ต้องปรากฏข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะให้เห็นชัดเจน และวิญญูชน เห็นว่า เป็นกาารใช้สิทธิ โดยการกระทำนั้นต้องดำเนินการอยู่ และไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นเพียงสื่อในอินเทอร์เน็ตเท่านั้น

กรณีนี้จึงไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าผู้ถูกร้องทั้ง 4 ต้องการล้มล้างการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่วนจะผิดอาญาหรือไม่ต้องไปว่ากันตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อย่างที่บอกไว้แต่แรกแล้วว่า แนวทางการวินิจฉัยไม่น่าจะหนีไปจากนี้ เพราะหากจะชี้ให้เกิดการยุบพรรคอนาคตใหม่นั้น มันยังไม่มีเหตุใดที่หนักแน่นมารองรับเพื่ออธิบายว่า ผู้บริหารและพรรคการเมืองที่กล่าวหานั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างไร

ถือว่าหมดเคราะห์ไปดอกหนึ่งสำหรับพรรคของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แต่ยังมีอีกหลายวิบากกรรมที่จะต้องเผชิญ คดีที่รออยู่ด่านต่อไปคือคดีกู้เงินหัวหน้าพรรค 191 ล้านบาท ที่คนส่วนใหญ่มีความโน้มเอียงไปในทางที่เชื่อว่าจะนำไปสู่การยุบพรรคอนาคตใหม่ได้ ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่ไปก้าวล่วงการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ เพียงแต่ว่ามีความน่าสนใจจากหลักฐานเอกสารหลุดที่ ปิยบุตร แสงกนกกุล นำมาเปิดเผยสัปดาห์ก่อน อาจเป็นแนวทางการต่อสู้ที่ทำให้มีโอกาสหลุดก็เป็นได้แม้จะมีน้อยเต็มทีก็ตาม

กลายเป็นประเด็นร้อนฉ่ากันมาทันทีทันใด เมื่อ นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สวมบทมือตรวจสอบ ปูดหลักฐานการเสียบบัตรและลงคะแนนแทนกันของส.ส.พรรคภูมิใจไทยที่ชื่อว่า ฉลอง เทอดวีระพงศ์ ส.ส.เขต 2 พัทลุง ซึ่งเป็นคนที่ล้มนิพิฏฐ์ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมานั่นเอง แต่คนที่ตรวจสอบก็ยืนยันหนักแน่นว่า การเปิดโปงครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับความแค้นฝังหุ่น แต่เป็นเรื่องของการทำให้สภาผู้แทนราษฎรมีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชน

แน่นอนว่า สิ่งที่นิพิฏฐ์นำมาแสดงนั้นมันทำให้คนที่ถูกกล่าวถึงจำนนต่อหลักฐาน ยอมรับแต่โดยดีว่าเสียบบัตรทิ้งไว้ที่สภาจริง ปุจฉาที่ตามมาคือแล้วมันจะกระทบต่อร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ที่สภาผ่านความเห็นชอบไปแล้วหรือไม่ เพราะกรณีดังกล่าวไม่ใช่แค่ลืมเสียบบัตรทิ้งไว้เท่านั้น หากแต่ปรากฏหลักฐานว่ามีการกดลงคะแนนทั้งที่เจ้าตัวไม่อยู่ในสภาด้วย เท่ากับว่ามีการลงคะแนนแทนกัน กรณีนี้เคยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญปรากฏไว้แล้วในอดีต

เป็นกรณี นริศร ทองธิราช เสียบบัตรลงมติแทนส.ส.อื่น ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวกับการเงินหรือร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั่นเอง โดยศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้อย่างชัดเจนว่า นริศร ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทยในเวลานั้น ได้ใช้บัตรแสดงตนและออกเสียงลงคะแนนแทน ส.ส.รายอื่น ในการประชุมสภา เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2556 พิจารณาร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ.…

ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 และ 126 ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 2 เห็นว่าร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ.… ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พฤติกรรมของนริศรที่ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์หลายใบเสียบในช่องลงคะแนนและแสดงตน เป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักการใช้สิทธิออกเสียง ที่ส.ส. 1 คนย่อมมีสิทธิออกเสียงเพียง 1 เสียง

นอกจากนั้นแล้ว พฤติกรรมนั้นยังถือเป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานของการเป็นส.ส.ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่อยู่ภายใต้อาณัติหรือการครอบงำใด รวมถึงต้องปฏิบัติตนด้วยความชื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ดังนั้น กรณีของส.ส.ภูมิใจไทยที่ สรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ยืนยันว่า มีการกระทำผิดจริงและต้องยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามช่องทาง คงเห็นความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้น ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจจึงฉุนเมื่อถูกถามเรื่องนี้ ต้องลุ้นกันว่าบทสรุปจะลงเอยอย่างไร

Back to top button