ผู้ว่าฯสั่งปิดห้างทั่วกรุง เว้นโซนอาหาร-ของใช้จำเป็น เริ่ม 22 มี.ค.นี้ หวังสะกัดโควิด-19
ผู้ว่าฯสั่งปิดห้างทั่วกรุง เว้นโซนอาหาร-ของใช้จำเป็น เริ่ม 22 มี.ค.-12 เม.ย.นี้ พร้อมเล็งหั่นจำนวนผดส.รถสาธารณะเหลือ 50% ต่อเที่ยว หวังสะกัดโควิด-19
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า วันนี้ (21 มี.ค.63) ได้มีการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 ครั้งที่ 5/2563 เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ที่สถานการณ์เริ่มมีความรุนแรงขึ้น โดยความห่วงใยประชาชนและชาวไทยประสบปัญหา
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีการพิจารณาจะปิดสถานที่เพิ่มเติมเป็นระยะเวลา 22 วันเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค. ถึงวันที่ 12 เม.ย.63
โดยจะให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร เช่น ในศูนย์การค้าโรงแรมและร้านข้างนอกให้เปิดการขายได้ แต่ให้ลูกค้าซื้อกลับไปกินที่บ้าน ส่วนของเครื่องใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น ผ้าอนามัย ยังขายได้ อนึ่ง สาเหตุที่ออกมาตรการนี้เพราะอยู่ในช่วงเวลาสำคัญควบคุมไวรัสโควิดไม่ให้ระบาดเพิ่ม
“ขอความร่วมมือประชาชนไม่ต้องกักตุนสินค้าร้านอาหารยังเปิดตามปกติเพียงแต่ขอให้ปรับรูปแบบเป็นแบบกล่องกลับบ้าน (take away) และซูเปอร์มาร์เก็ตก็ยังเปิดตามปกติ ร้านสะดวกซื้อให้หมั่นทำความสะอาดมีจุดบริการแอลกอฮอล์บริเวณทางเข้าเพื่อความสะอาดปลอดภัย”
นอกจากนี้ ยังประสานผู้ประกอบการระบบขนส่งสาธารณะเช่นรถไฟฟ้าบีทีเอสรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีม่วงแอร์พอร์ตลิงก์ รถเมล์ขสมก. รถบขส. ให้ลดจำนวนผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวลง 50% เพื่อลดความหนาแน่นในการใช้บริการไม่ให้ใกล้ชิดกันมาก เช่น บีทีเอสใน 1 โบกี้จุคนได้ 80 คนให้เหลือ 40 คนและให้เว้นระยะห่างระหว่างตัวบุคคล 1-2 เมตรเมื่ออยู่บนรถไฟฟ้า
อีกทั้ง ยังให้ปิดบริการคลีนิกเสริมสวย,ตลาดสดต่างๆ แต่ให้ขายเฉพาะอาหารที่จำเป็นเช่นอาหารสดหมูเป็ดไก่ แต่มีมาตรการควบคุมส่วนเสื้อผ้าจะยังไม่ได้ร้านค้าเปิดขาย
“โดยรายละเอียดประกาศจะออกมาไม่เกินบ่าย14.00 น. วันนี้ ทั้งนี้ขอความมือประชาชนไม่ให้เดินทางไปในที่ชุมนุมคนและให้เว้นระยะห่างตัวบุคคล 1 เมตรเพราะไม่รู้ว่าใครเป็นไม่เป็นโควิดและหากมีอาการไข้ให้นอนพักผ่อนอยู่บ้าน”
นอกจากนี้ กทม.ยังขอความร่วมมือหน่วยงานเอกชนให้อนุญาตพนักงานทำงานที่บ้านส่วนหน่วยงานของรัฐให้ใช้วิธีเหลื่อมเวลาหรือสลับวันการทำงานตามความเหมาะสม
“ส่วนของกทม.ทางปลัดกทม.จะออกประกาศให้ข้าราชการและลูกจ้างสลับเวลาการทำงานหรือสลับกันหยุดคนละสัปดาห์และให้นั่งถูกสุขลักษณะในระหว่างทำงานโดยให้นั่งห่างกัน1เมตรขึ้นไป“
สำหรับสถานที่เสี่ยงปิดเพิ่มเติมได้แก่
สปานวดเพื่อสุขภาพ
สถานบริการควบคุมน้ำหนัก
สปาอาบน้ำตัดขนสัตว์
ลานสเก็ตหรือโรลเลอร์เบรด
กิจการเสริมสวยและคลินิคเสริมความงาม
สวนสนุกโบว์ลิ่งตู้เกม
กิจการบริการคอมพิวเตอร์
สนามกอล์ฟสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
สระว่ายน้ำ
กิจการสักผิว
กิจการบริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านบริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
สนามพระ
สนามชนไก่และสนามซ้อมชนไก่
สถานที่จัดประชุมและนิทรรศการ
ตลาดทุกประเภทยกเว้นแผงของสดและแผงค้าที่จำหน่ายอาหารตามความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
ห้างสรรพสินค้ายกเว้นส่วนซูเปอร์มาร์เก็ต
สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยสถานศึกษารัฐเอกชนโรงเรียนประจำโรงเรียนนานาชาติโรงเรียนสอนศาสนาโรงเรียนกวดวิชาทุกแห่ง
สถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยบัณฑิตวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชนรวมถึงสถาบันอบรมวิชาชีพทั่วกรุงเทพฯ
อย่างไรก็ดี ได้มีการเผยแพร่ประกาศเรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 2) โดยมีรายละเอียดดังนี้