คำถามชวนทุบตลาด (ตัวเอง)

อื้ออึงซะเหลือเกินกับคำถามของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ที่มีไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวมทั้งบริษัทสมาชิกที่เป็นโบรกเกอร์ทั้งหลายว่า จะปรับเวลาซื้อขายในตลาดหุ้นให้สั้นลงดีไหม


ขี่พายุทะลุฟ้า : ชาญชัย สงวนวงศ์

อื้ออึงซะเหลือเกินกับคำถามของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ที่มีไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวมทั้งบริษัทสมาชิกที่เป็นโบรกเกอร์ทั้งหลายว่า จะปรับเวลาซื้อขายในตลาดหุ้นให้สั้นลงดีไหม

เวลาที่ตั้งไว้เป็นตุ๊กตาคือเปิด 10.00-14.15 น. รวดเดียวไม่มีพัก ซึ่งต่างจากเวลาเปิด-ปิดปัจจุบันคือ ภาคเช้า10.00-12.30 น. และภาคบ่าย 14.30-16.30 น.

เพื่อนฝูงผมในวงการตลาดทุนคนหนึ่ง เอ่ยขึ้นมาว่า “เขาคันอะไรกันหรือ คันตามคนอื่น หรือคันเองขึ้นมา เพราะกลัวจะรับมือกับมาตรการเข้ม ๆ จากสถานการณ์โควิด-19 หรือพ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินไม่ทัน”

ผมเองก็พยายามจะคิดให้ทันกับความเห็นของผู้บริหารตลท.นะ สำคัญที่สุดก็คือหลักคิดมาจากไหน เผื่อจะมีอะไรที่ผมคิดตามไม่ทัน พร้อมกันนั้นก็พิจารณาชั่งทางได้ทางเสียรวมทั้งทางเลือกทางออกไปด้วย

สิ่งที่จะเสียไปในประการแรก ก็คือ การเชื่อมโยงการซื้อขายหลักทรัพย์กับตลาดอื่นๆ

ตลาดหุ้นยุโรป ซึ่งเวลาห่างกับเรา 6 ชั่วโมง เคยเชื่อมโยงกันได้เต็ม ๆ ในช่วงการซื้อขายภาคบ่าย ซึ่ง 14.30 น. ของเราก็เท่ากับ 08.30 น. บ้านเขา เพิ่งจะเปิดตลาดมาได้แค่ครึ่งชั่วโมง

แต่หากเราหดเวลาซื้อขายลงมาที่ 14.15 น. ชาวหุ้นในยุโรปเพิ่งจะงัวเงียเข้ามาตลาดแค่ 15 นาทีเอง ตลาดหุ้นไทยก็ด่วนปิดตลาดไปเสียก่อนแล้ว

เสียหายไปเหมือนกันนะครับกับการออกมากักตัวเอง (Self-Isolated) ที่วอลุ่มซื้อขายฝั่งยุโรปจะหายไป

สิ่งที่จะเสียไปในประการต่อมาก็คือ การทำลายพัฒนาการตลาดหุ้นในระยะยาว

ผมมองเห็นพัฒนาการในด้านการปรับตัวรับสภาวะเลวร้ายของตลาดหุ้นไทยว่า มีความยืดหยุ่นดีนะครับ

เริ่มจากต้นปี 63 ที่ยังไม่มีข่าวไวรัสโคโรนาเข้ามา ดัชนีออกสตาร์ตที่ 1,580 จุด และตลาดก็ได้รับผลกระทบเรื่อยมาเป็นลำดับจนกระทั่งพัฒนาชื่อมาเป็นโควิด-19 ก็ออกฤทธิ์แรงมาก ถล่มตลาดจนเกือบจะหลุด 1,000 จุด ในช่วงกลางเดือนมี.ค.ที่ผ่าน

มา แล้วก็สามารถสวิงกลับได้เหนือระดับ 1,200 จุด ในปัจจุบัน

ด้านวอลุ่มการซื้อขายก็ไม่เลวนะครับ จากยอดเฉลี่ยซื้อขาย/วันในเดือนม.ค. 6.2 หมื่นล้านบาท เดือนก.พ. เพิ่มขึ้นเป็น 6.5 หมื่นล้านบาท เดือนมี.ค. ที่โควิดอาละวาดรุนแรงกลับขยับเป็น 7.1 หมื่นล้านบาท และแค่ 6 วันทำการเดือนเม.ย. มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ย/วันขยับไปแล้ว 7.8 หมื่นล้านบาท

ซึ่งปกติวอลุ่มซื้อขายจะบางตามภาวะตลาดขาลง

นอกจากนั้นยังพบว่า วอลุ่มซื้อขายที่โตขึ้นนั้น เกิดจากการเข้าซื้อ หุ้นปันผลดี” เพราะตลาดขณะนี้ มี หุ้นคุณภาพราคาถูก” จำนวนมาก เข้าราคาไหนก็ล้วนเป็นหุ้นราคาถูกทั้งนั้น

อีกทั้งก็ยังพบด้วยว่า นักลงทุนมีพัฒนาการและวินัยที่ดีขึ้น คือ ซื้อเมื่อเลือดนองตลาด และทำกำไรในวันที่หุ้นขึ้น”ซึ่งผมว่าแมงเม่าในตลาดหุ้นไทย มีพัฒนาการเป็น เม่าปีกแข็ง” มากขึ้น ที่อดใจได้กับการเห็นแสงสีเขียวแล้วกระโจนเข้าใส่ อันเป็นการปิดจุดอ่อนของตัวเองในอดีตที่ผ่านมา

ในกระแสน้ำเชี่ยวกรากอย่างนี้ ควรต้องซื้อหุ้น วันเลือดนองตลาด” เท่านั้น

ความสูญเสียในประการที่ 3 คือ เสียของ” เสียของที่ 1 ก็คือเสียดายความเป็นตลาดที่มีสภาพคล่องสูงสุดในอาเซียน และเสียของที่ 2 ก็คือ เป็น ดิจิทัล มาร์เก็ต” ที่มีพัฒนาการระดับสูงแล้ว จะมาหยุดยั้งพัฒนาการไปทำไม

ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ในปัจจุบันก็ได้ปรับเปลี่ยนเป็นระบบ “ดิจิทัล แพลตฟอร์ม” เกือบจะหมดแล้ว ยิ่งเดี๋ยวนี้เป็นยุค “เวิร์กกิ้ง ฟรอม โฮม” โบรกเกอร์ไม่ต้องเข้าออฟฟิศมารับออเดอร์ แต่ส่งผ่านคำสั่งจากที่บ้านไปเข้าระบบได้เลย และนับวันสัดส่วนนักลงทุนที่คีย์คำสั่งซื้อขายทางอินเทอร์เน็ตก็มีมากขึ้น

มนุษย์ในธุรกิจหลักทรัพย์ปรับตัวทำงานที่บ้านได้รวดเร็วกว่ามนุษย์ในธุรกิจอื่นใด ฉะนั้นอย่าห่วงกังวลเรื่องโควิดแพร่ระบาดกับมนุษย์พันธุ์นี้มากนักเลย

เจ้าของตลาด คือตลาดหลักทรัพย์ฯ น่าจะเข้าใจเรื่องนี้ได้ดีกว่าใครสิ

สรุปข้อเสีย คือ เสียของ-ทุบตลาดตัวเองให้เล็กลง-และทำลายพัฒนาการตลาดทุนในระยะยาวครับ ส่วนผลดีก็คือเป็นการขานรับนโยบายรัฐบาล ที่อาจจะต้องใช้มาตรการเข้มข้นขึ้นอีก ทั้งการขยายเคอร์ฟิวและล็อกดาวน์ บล็อกการเคลื่อนย้ายคน

แต่ก็ไม่เห็นประเทศจีนต้นตำรับ ต้องประกาศร่นเวลาทำการตลาดหุ้นนี่ ตลาดหุ้นไทยจะชิงนำหน้าตลาดหุ้นจีนไปชิงเหรียญทองโอลิมปิกที่ไหนหรือไร

Back to top button