‘ล็อกดาวน์’ ดีกว่า

ยังมีการถกเถียงกันไม่จบว่า ในขณะนี้ควรจะคลายมาตรการ “ล็อกดาวน์” กันได้หรือยังในเมื่อตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ลดลงแล้ว ฝ่ายที่สนับสนุนให้คลายมาตรการล็อกดาวน์ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่ากลัวเศรษฐกิจจะเสียหายมาก แต่ฝ่ายที่คัดค้านกลัวว่าไวรัสโคโรนาจะกลับมาระบาดใหม่รอบสองซึ่งจะควบคุมได้ยากกว่าเดิม เหตุผลของทั้งสองฝ่ายฟังขึ้นทั้งนั้น อย่างไรก็ดี มีความเห็นจากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และธนาคารกลางสหรัฐที่ชี้ว่า การบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์สามารถช่วยลดความเสียหายทางเศรษฐกิจลงได้ครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดจากการไม่ล็อกดาวน์


พลวัตปี 2020 : ฐปนี แก้วแดง (แทน)

ยังมีการถกเถียงกันไม่จบว่า ในขณะนี้ควรจะคลายมาตรการ “ล็อกดาวน์” กันได้หรือยังในเมื่อตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ลดลงแล้ว ฝ่ายที่สนับสนุนให้คลายมาตรการล็อกดาวน์ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่ากลัวเศรษฐกิจจะเสียหายมาก แต่ฝ่ายที่คัดค้านกลัวว่าไวรัสโคโรนาจะกลับมาระบาดใหม่รอบสองซึ่งจะควบคุมได้ยากกว่าเดิม เหตุผลของทั้งสองฝ่ายฟังขึ้นทั้งนั้น อย่างไรก็ดี มีความเห็นจากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และธนาคารกลางสหรัฐที่ชี้ว่า การบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์สามารถช่วยลดความเสียหายทางเศรษฐกิจลงได้ครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดจากการไม่ล็อกดาวน์

การเปิดเศรษฐกิจได้เป็นประเด็นตึงเครียดในหลายประเทศ โดยมีการชั่งความเสียหายทางเศรษฐกิจกับการปกป้องสุขภาพของประชาชน  และได้มีการประท้วงมาตรการล็อกดาวน์ทั่วสหรัฐฯ แล้ว

อย่างไรก็ดี จากผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และคณะกรรมการของธนาคารกลางสหรัฐ ราคาทางเศรษฐกิจของการไม่กระตุ้นให้มีการเว้นระยะห่างทางสังคม อาจสูงเป็นสองเท่าของการใช้มาตรการ “ล็อกดาวน์เชิงโครงสร้าง”

ด้วยการใช้ข้อมูลประชากรและเศรษฐกิจสหรัฐฯ นักวิจัยได้รวมเอาเศรษฐศาสตร์มหภาคเข้ากับการระบาดวิทยาเพื่อกำหนดผลที่ตามมาทางเศรษฐกิจของนโยบายล็อกดาวน์  นักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตว่า โมเดลนี้อาจใช้กับเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ได้

นักวิจัยพบว่า การไม่ใช้มาตรการล็อกดาวน์เลย “จะมีความเสี่ยงอย่างรุนแรง” ต่ออัตราผลผลิตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสจะกระทบต่อคนงานในภาคที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ

หากไม่มีการเว้นระยะทางสังคมใด ๆ กำลังแรงงานสำคัญจะได้รับผลกระทบหนัก และเศรษฐกิจจะหดตัวในอัตราสูงสุด 30% ต่อเดือนเมื่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ มีแรงกดดัน

เพื่อปกป้องเศรษฐกิจได้สูงสุด นักวิจัยกล่าวว่า จะต้องแยกกำลังแรงงานหลักที่อยู่ในอุตสาหกรรมสำคัญเช่น อุตสาหกรรมสุขภาพ อาหารและขนส่ง ออกจากคนทำงานที่เหลือ และสิ่งที่นักวิจัยเห็นได้ชัดเจน คือการไม่ดำเนินมาตรการใด ๆ ไม่สามารถยอมรับได้เมื่อดูจากมุมมองด้านสาธารณสุขและมีความเสี่ยงอย่างรุนแรงเมื่อดูจากมุมมองทางเศรษฐกิจ

การวิจัยนี้ได้คำนึงถึงนโยบายล็อกดาวน์หลายอย่าง และได้คาดการณ์ถึงแต่ละสถานการณ์จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไร

ในแบบจำลองสถานการณ์แรก 15% ของคนงานหลัก และ 40% ของคนทำงานที่เหลือ จะทำงานจากบ้าน ในขณะเดียวกัน 30% ของผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำงาน ก็ถูกล็อกดาวน์ให้อยู่กับบ้านเช่นกัน โดยเมื่อทำเช่นนี้เป็นเวลา 8 เดือน และหมายถึงว่า หนึ่งในสามของประชากรทั้งหมดถูกล็อกดาวน์ในช่วงนั้น การหดตัวทางเศรษฐกิจต่อเดือนสูงสุดจะลดลงครึ่งหนึ่งเหลือประมาณ 15% เทียบกับที่มีการหดตัวสูงสุด 30% หากไม่มีการล็อกดาวน์

นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าวว่า ภายใต้นโยบายล็อกดาวน์ จุดสูงสุดที่มีประชากรติดเชื้อลดลงจาก 40% เหลือ 15% แม้ว่าระดับนี้อาจจะยังสูงเกินกว่าที่ระบบดูแลสุขภาพจะจัดการได้

นักวิจัยยังได้จำลองสถานการณ์ที่อัตราการติดเชื้อยังคงอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้มากกว่าแบบแรก  โดยล็อกดาวน์ประชาชนประมาณ 1.5% เป็นเวลา 18 เดือน  ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนคาดการณ์ไว้ว่าจะมีวัคซีนเข้าถึงตลาด ในสถานการณ์นี้ มีการล็อกดาวน์ 25% ของคนงานหลัก 60% ของคนงานที่ไม่ใช่กำลังหลัก และ 47% ของผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำงาน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า เศรษฐกิจหดตัวต่อเดือนสูงสุด 20%

มีการจำลองสถานการณ์ที่มีการล็อกดาวน์อย่างเข้มข้นมาก เช่นกัน โดยหากล็อกดาวน์  40% ของคนงานหลักและ 90% ของประชากรที่เหลือเป็นเวลาสามเดือน เศรษฐกิจจะเลวร้ายพอ ๆ กับที่ไม่มีการล็อกดาวน์เลย เนื่องจากอัตราการติดเชื้อจะช้าลงและจะขัดขวางภูมิคุ้มกันกลุ่ม (Herd Immunity)

นักวิจัยย้ำว่า แบบจำลองสถานการณ์ที่ได้ทำนี้ไม่ใช่ประมาณการ แต่ควรจะใช้เป็น “พิมพ์เขียว” สำหรับการวิเคราะห์ในอนาคต ในขณะที่ยังไม่แน่นอนว่าไวรัสโคโรนาแพร่กระจายอย่างไร และยังบอกว่า ไม่มีการถ่วงดุลที่แท้จริงระหว่างสุขภาพและเศรษฐกิจ

การแพร่กระจายของโรคที่รวดเร็วมากและไม่บรรเทาลง จะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจค่อนข้างมาก และ มีความเสี่ยงสูงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจและ ผลผลิต จะลดลงอย่างมหาศาลอย่างแท้จริง

จากผลวิจัยนี้ น่าจะยอมล็อกดาวน์ต่อไปอีกสักระยะ มากกว่าที่จะรีบคลายล็อกแล้วไม่ได้ช่วยลดผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและสุขภาพ

Back to top button