IRPC ราคาน้ำมันโลกดิ่ง ฉุดงบไตรมาส 1 ขาดทุน-ลุ้นครึ่งปีหลังฟื้นตัว!
IRPC ราคาน้ำมันโลกดิ่ง ฉุดงบไตรมาส 1 ขาดทุน-ลุ้นครึ่งปีหลังฟื้นตัว!
บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม มีกำไรสุทธิดังนี้
โดยผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2563 เปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2562 : บริษัทฯ มีรายได้จากการขายสุทธิลดลง 10,657 ล้านบาท หรือร้อยละ 20 เนื่องจากราคาขายลดลงร้อยละ 14 และปริมาณลดลงร้อยละ 6 โดยโรงกลั่นน้ำมันใช้อัตราการกลั่นอยู่ที่ 188,000 บาร์เรลเรลต่อวันลดลงร้อยละ 6 Market GIM ลดลง 1,293 ล้านบาท หรือร้อยละ 26 (ลดลง 1.86 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล) เนื่องจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑทั้งปิโตรเลียมและปิโตรเคมีปรับตัวลดลงจากผลกระทบต่อเนื่องของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน รวมถึงผลกระทบจาก COVID-19
โดยบริษัทฯมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันสุทธิ 6,811 ล้านบาท กำไรลดลง 7,531 ล้านบาท เมื่อเทียบกับกำไร 720 ล้านบาทในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ Accounting GIM ลดลง 8,824 ล้านบาท และ EBITDA ลดลง 8,791 ล้านบาท ขณะที่ค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้น 211 ล้านบาท หรือร้อยละ 10 จากโครงการปรับปรุงและขยาบงานที่แล้วเสร็จในปี 2562 เช่นโครงการ Catalyst Cooler เป็นต้น
อย่างไรก็ตามบริษัทฯได้จัดเตรียมแผนต่างๆเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อผลการดำเนินงาน(Mitigation plan) ดังนี้ 1.การบริหารสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อให้สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดและมีเงินหมุนเวียนเพียงพอสำหรับการดำเนินกิจการ
2.การปรับกลยุทธ์ด้านการผลิตและการตลาดเพื่อให้สอดคล้อกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงในระยะสั้นจากสถานการณ์ COVID-19 เช่น การบริโภคพลำสติกประเภท Food packaging และ หน้ากากอนามัยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
3.การปรับลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานการทบทวนแผนการใช้จ่ายที่สามารถชะลอหรือปรบลดได้และไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานธุรกิจหลัก เช่น ค่าใช้จ่ายธุรกิจสัมพันธ์ โดยมีการต้งเป้าหมานและให้ทุกหน่วยงานปรับลดค่าใช้จ่ายให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
4.การทบทวนโครงการลงทุน CAPEX ในโครงการต่างโดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการ MARS โครงการร่วมทุนต่าง ๆ ตามแผนธุรกิจ 5 ปี การเลื่อนลงทุนในโครงการที่ยังไม่มีความเร่งด่วน
5.จัดทำโครงกำร Strengthen IRPC โดยมุ่งเน้นโครงการที่เพิ่มรายได้เพิ่มประสิทธิภาพลดต้นทุนการผลิตด้วยเงินลงทุนที่ต่ำ เช่น ABS Powder Expansion เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิต 6,000 ตันต่อปี และการลดต้นทุนกำรผลิตโดยการปรับปรุงกระบวนการผลิตตามแผน ABS Modernize รวมถึงการติดตามโครงกำร E4E และ IRPC 4.0 ให้ได้ตามแผนที่ตั้งไว้ เป็นต้น
ด้านนางสาวกัญญามาส ฤทธิเดช ผู้จัดการฝ่ายการเงินและนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC เปิดเผยว่า ทิศทางการดำเนินงานของบริษัทในปี 2563 จะเน้นการลดต้นทุนและการเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น หลังจากเมื่อปี 2562 บริษัทได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ขณะที่ปัจจัยภายในต้นทุนยังสูง
ทั้งนี้ ในปี 2563 บริษัทได้วางกลยุทธ์ในการเติบโต เพื่อเพิ่มกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) เพิ่มขึ้น 100-200 ล้านบาทต่อปี จาก 4 โครงการหลัก ประกอบด้วย โครงการ ABS Expansion จะผลิต Powder ABS กำลังการผลิต 6 พันตันต่อปี เพื่อขายในตลาดญี่ปุ่น จะเริ่มเดินเครื่องผลิตเชิงพาณิชย์ (COD) ไตรมาส 2/2563 มูลค่าลงทุน 420 ล้านบาท และมีผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) ที่ 32%
ขณะที่ โครงการ ATOM จะผลิต PP Compound ที่เป็นเม็ดพลาสติกเกรดพิเศษ (Specialty Grade) โดยกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ล่าสุดอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตร เพื่อป้อนสินค้าให้ในธุรกิจ Automotive จำนวน 5 พันตันในปี 2563 โดยจะ COD ในไตรมาส 1/2563 และเริ่มขายในช่วงปลายปีนี้ มูลค่าลงทุน 350 ล้านบาท
ส่วนโครงการ IPOLYMER ซึ่งบริษัทได้มีการขยายการลงทุนในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โดยแพลตฟอร์มนี้จะจำหน่ายเม็ดพลาสติกจากทุกแบรนด์ ไม่จำกัดเฉพาะผลิตภัณฑ์ของ IRPC และในกลุ่ม ปตท. ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการพลาสติก SMEs ทั่วประเทศเข้ามานำเสนอ จำหน่าย ซื้อขายสินค้าได้อย่างปลอดภัยและโปร่งใสภายใต้แพลตฟอร์ม มูลค่าลงทุน 66 ล้านบาท เริ่มต้นในเดือนตุลาคม 2562 ซึ่งในปีนี้จะมีลูกค้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในส่วนของโครงการ Floating Solar กำลังการผลิต 12.5 เมกะวัตต์ จะ COD ในไตรมาส 1/2563 มูลค่าลงทุน 625 ล้านบาท มี IRR เท่ากับ 17%
นอกจากนี้ ในระยะยาว (ปี 2564-2568) จะยังมีโครงการที่จะหนุนการเติบโตของบริษัท ได้แก่ การพัฒนาโครงการนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดระยองร่วมกับบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA นั้น คาดว่าในปี 2564 จะเริ่มการขายที่ดินและเริ่มมีการรับรู้รายได้ในทันที โดยโครงการนี้จะมี IRR ประมาณ 13%
รวมทั้งโครงการ Ultra Clean Fuel (UCF) รองรับการผลิตน้ำมันมาตรฐานยูโร 5 ใช้เงินลงทุน 9,466 ล้านบาท จะเริ่ม COD ในปี 2565 ซึ่งโครงการดังกล่าวมี IRR ประมาณ 21% ดังนั้นหากโครงการสามารถเดินหน้าตามแผน จะส่งผลให้บริษัทมีอัตราการเติบโต EBITDA มากกว่า 2,000 ล้านบาทในปี 2564-2568
อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ใหม่ของบริษัทคาดจะเพิ่ม EBITDA ได้อย่างน้อย 10% ให้กับ IRPC ภายใต้ความผันผวนของตลาดโลก ในปี 2563 คาดว่าผลการดำเนินงานกลับมาเป็นกำไรอีกครั้ง
ขณะเดียวกันคาดว่ากำไรขั้นต้นจากการผลิตของกลุ่ม (GIM) ในปี 2563 จะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2562 เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากเกณฑ์ใหม่ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) ที่กำหนดให้เรือเดินสมุทรใช้น้ำมันกำมะถันต่ำ 0.5% จากเดิม 3.5% มีผลตั้งแต่ต้นปี 2563 ผลักดันสัดส่วนยอดขายผลิตภัณฑ์เกรดพิเศษ ซึ่งมีมาร์จิ้นสูง โดยปี 2563 บริษัทคาดว่าสัดส่วนยอดขายดังกล่าวเพิ่มเป็น 60% เทียบกับปีก่อนอยู่ที่ 55%