สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 23 ก.ค. 2563

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 23 ก.ค. 2563


ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (23 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี รวมถึงหุ้นแอปเปิลและไมโครซอฟท์ซึ่งอยู่ใน 30 หลักทรัพย์ที่ใช้คำนวณดัชนีดาวโจนส์ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานที่สูงกว่าคาดในสหรัฐ และความกังวลที่ว่าความขัดแย้งทางการเมืองในสหรัฐอาจส่งผลกระทบต่อการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,652.33 จุด ลดลง 353.51 จุด หรือ -1.31% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,235.66 จุด ลดลง 40.36 จุด หรือ -1.23% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 10,461.42 จุด ลดลง 244.71 จุด หรือ -2.29%

 

ตลาดหุ้นยุโรปปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (23 ก.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการเปิดเผยผลประกอบการที่ดีเกินคาดของบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งในยุโรป แต่ตลาดยังคงถูกกดดันจากการที่นักลงทุนกังวลกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานที่สูงกว่าคาด, ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงในยูโรโซน และความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐและจีน

ดัชนี Stoxx Europe 600 บวก 0.06% ปิดที่ 373.65 จุด

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,211.44 จุด เพิ่มขึ้น 4.34 จุด หรือ +0.07%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 13,103.39 จุด ลดลง 0.86 จุด หรือ -0.01% และดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,033.76 จุด ลดลง 3.36 จุดหรือ -0.07%

 

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (23 ก.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการเปิดเผยผลประกอบการที่ดีเกินคาดของบริษัทจดทะเบียนในอังกฤษ แต่ตลาดก็ยังถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเพิ่มขึ้น, จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐและจีน

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,211.44 จุด เพิ่มขึ้น 4.34 จุด หรือ +0.07%

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (23 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่พุ่งขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่มีแนวโน้มบรรเทาลง ยังทำให้นักลงทุนหวั่นวิตกว่าจะมีการล็อกดาวน์เศรษฐกิจรอบใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันซบเซาลงด้วย

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. ลดลง 83 เซนต์ หรือ 2% ปิดที่ 41.07 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ย. ลดลง 98 เซนต์ หรือ 2.2% ปิดที่ 43.31 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (23 ก.ค.) โดยสัญญาทองคำยังคงทำสถิติปิดที่ระดับสูงสุดในรอบ 9 ปี เนื่องจากนักลงทุนยังคงเดินหน้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐและจีน รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. พุ่งขึ้น 24.9 ดอลลาร์ หรือ 1.34% ปิดที่ 1,890 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย. ลดลง 15.6 เซนต์ หรือ 0.67% ปิดที่ 22.988 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 6.4 ดอลลาร์ หรือ 0.67% ปิดที่ 963.8 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 10.8 ดอลลาร์ หรือ 0.5% ปิดที่ 2,239.80 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (23 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเทขายดอลลาร์ ท่ามกลางความกังวลที่วา เศรษฐกิจสหรัฐจะปรับตัวย่ำแย่กว่าประเทศอื่นในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ โดยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.31% สู่ระดับ 94.6906 เมื่อคืนนี้

ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 106.73 เยน จากระดับ 107.23 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ  0.9252 ฟรังก์ จากระดับ 0.9297 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3387 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3414 ดอลลาร์แคนาดา

ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ที่ระดับ 1.1608 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1569 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.2743 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2739 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 0.7108 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7141 ดอลลาร์สหรัฐ

Back to top button