JMT โตสวนเศรษฐกิจ! สบจังหวะซื้อหนี้ต้นทุนต่ำช่วง NPL พุ่ง “เคจีไอ” เคาะเป้า 40 บ.
JMT โตสวนเศรษฐกิจ! สบจังหวะซื้อหนี้ต้นทุนต่ำช่วง NPL พุ่ง "เคจีไอ" เคาะเป้า 40 บ.
บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ (6 ส.ค.2563) โดย แนะนำ “Outperform” บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT ให้ราคาเป้าหมาย 40 บาท โดยมองว่าเป็นหุ้นที่เติบโตสวนกับวัฏจักรธุรกิจ ทั้งนี้ ประมาณ 90% ของธุรกิจ JMT อยู่ในธุรกิจการติดตามหนี้ (15%) และบริหารจัดการหนี้ด้อยคุณภาพ (75%) ซึ่งจะได้ประโยชน์จากภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง ทั้งในแง่การเติบโตของพอร์ต และ margin ที่เพิ่มขึ้น
โดยในส่วนของธุรกิจการติดตามหนี้นั้น JMT ให้บริการติดตามหนี้เพิ่มขึ้นในปี 2562 เป็น 4.4 หมื่นล้านบาท (จาก 2.8 หมื่นลบ.ในปี 2561) และมีสัญญาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2563 ด้วยการติดตามหนี้ 2.8 หมื่นล้านบาท ในไตรมาส 1/2563 โดยมีอัตราความสำเร็จในการติดตามหนี้ที่ประมาณ 5-10% ของหนี้เรียกเก็บ และคิดค่านายหน้าอยู่ในช่วงประมาณ 10-17% โดยรายได้จากธุรกิจนี้เติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 25% ต่อปี เราคาดว่า JMT จะมีหนี้รับจ้างติดตาม 6 หมื่นล้านบาทในปีนี้ และ 6.7 หมื่นล้านบาทในปีหน้า (โดยใช้สมมติฐานอัตราค่านายหน้าในการติดตามหนี้ที่ 16.5%)
ถึงเวลากวาดซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเพื่อสร้างการเติบโตรอบใหม่
สำหรับ รายได้จากธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพเร่งตัวขึ้น โดยมีอัตราการเติบโต 38% CAGR ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และมีอัตราผลตอบแทน (Yield) อยู่ที่ประมาณ 30% (สูงกว่า BAM 2 เท่า) โดยที่ yield ของ 32% ทั้งนี้ JMT ใช้เงินสด 2.6/3.4 พันล้านบาทซื้อหนี้ด้อยคุณภาพมาในปี 2562/63 (ที่ราคาซื้อประมาณ 10-12% ของมูลหนี้) ทำให้พอร์ตหนี้ด้อยคุณภาพคงค้างในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 8.3 พันล้านบาท(บันทึกตามมูลค่าทางบัญชี) ทั้งนี้ ภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงจากสถานการณ์ Covid-19 จะทำให้มี NPL จากทั้งธนาคารและสถาบันการเงินประเภท non-bank ท่วมเข้าในตลาดอย่างมากมายในปี 2563/64 ซึ่งจะส่งผลดีกับ JMT เพราะเป็นโอกาสให้เลือกซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเข้าพอร์ตได้อีกมาในราคาที่ถูกลง ทั้งนี้หากใช้สมมติฐานว่าบริษัทจะใช้เงินสด 5/6.5 พันล้านบาทเพื่อซื้อสินทรัพย์ตุนเข้าพอร์ตในปี 2563/2564 สอดคล้องกับกระแสเงินสดของบริษัท โดยไม่มีภาระทางการเงินที่ระดับ D/E น้อยกว่า 1.5 เท่า
ทั้งนี้ ประเมินมูลค่าหุ้น JMT โดยอิงจาก P/E และ PEG โดยมองว่าเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงจะทำให้บริษัทสร้างผลตอบแทนพิเศษได้ และมีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ทั้งรายได้และกำไรของบริษัทเติบโตอย่างมากหลังปี 2559 เมื่อบริษัทเข้าซื้อหนี้ด้อยคุณภาพที่กลายมาเป็น NPL หลังนโยบายรถคันแรก โดยรายได้และกำไรของ JMT โตถึงประมาณ 35% CAGR ในช่วงสามปีที่ผ่านมา เราใช้ P/E ที่ 35 เท่า จาก fully-diluted EPS (ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยระยะยาว) คิดเป็น PEG ที่ 1 เท่า ซึ่งทำให้ได้ราคาเป้าหมายที่ 40 บาท (P/E ที่ 35 เท่า และ PEG ที่ 1 เท่า)
Risks
Dilution ของราคาหุ้นและกำไรจากการแปลงวอร์แรนต์ ซึ่งในอดีตจะเกิดขึ้นทุก ๆ สองปี ต้นทุนการตัดจำหน่ายของเงินลงทุนเปลี่ยนแปลงไปทำให้ margin เปลี่ยน และค่าเผื่อการด้อยค่าของหนี้มีหลักประกัน