สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 23 ต.ค. 2563
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 23 ต.ค. 2563
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อวันศุกร์ (23 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนขายหุ้นออกมาเพื่อลดความเสี่ยง ขณะที่ตลาดยังคงจับตาอย่างใกล้ชิดกับการเจรจาระหว่างทำเนียบขาวและพรรคเดโมแครตเพื่อออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐรอบใหม่
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 28,335.57 จุด ลดลง 28.09 จุด หรือ -0.1%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,465.39 จุด เพิ่มขึ้น 11.90 จุด หรือ +0.34% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,548.28 จุด เพิ่มขึ้น 42.28 จุด หรือ +0.37%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (23 ต.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการเปิดเผยผลประกอบการที่ดีเกินคาดของบริษัทจดทะเบียนในยุโรป แต่ความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น ได้กดดันตลาดร่วงลงมากที่สุดในสัปดาห์นี้ในรอบ 1 เดือน
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวขึ้น 0.62% ปิดที่ 362.50 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 12,645.75 จุด เพิ่มขึ้น 102.69 จุด หรือ +0.82%, ดัชนี CAC 40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,909.64 จุด เพิ่มขึ้น 58.26 จุด หรือ +1.20% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,860.28 จุด เพิ่มขึ้น 74.63 จุด หรือ +1.29%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (23 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนขานรับการรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งของธนาคารบาร์เคลย์
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,860.28 จุด เพิ่มขึ้น 74.63 จุด หรือ +1.29%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อวันศุกร์ (23 ต.ค.) โดยลดลงต่ำกวาระดับ 40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 สัปดาห์ หลังถูกกดดันจากการที่ลิเบียเริ่มส่งออกน้ำมันมากขึ้น, ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ และความวิตกเกี่ยวกับความต้องการใช้น้ำมันดิบท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 79 เซนต์ หรือ 1.9% ปิดที่ 39.85 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 ต.ค. และร่วงลง 3.1% ในรอบสัปดาห์นี้
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 69 เซนต์หรือ 1.6% ปิดที่ 41.77 ดอลลาร์/บาร์เรล และร่วงลง 2.7% ในรอบสัปดาห์นี้
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยเมื่อวันศุกร์ (23 ต.ค.) โดยนักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะที่ยังคงมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐรอบใหม่ นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้แรงหนุนจากการที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงด้วย
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 60 เซนต์ หรือ 0.03% ปิดที่ 1,905.20 ดอลลาร์/ออนซ์ แต่ปรับตัวลงน้อยกว่า 0.1% ในรอบสัปดาห์นี้
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 3.4 เซนต์ หรือ 0.14% ปิดที่ 24.675 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 22.7 ดอลลาร์ หรือ 2.57% ปิดที่ 906.70 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 2.70 ดอลลาร์ หรือ 0.1% ปิดที่ 2,398.60 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (23 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนขายดอลลาร์ ขณะที่รอดูความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐรอบใหม่
ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.19% สู่ระดับ 92.7741
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 104.73 เยน จากระดับ 104.87 เยน, และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9044 ฟรังก์ จากระดับ 0.9072 ฟรังก์ แต่แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3144 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3142 ดอลลาร์แคนาดา
ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1857 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1817 ดอลลาร์, เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3034 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3077 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าสู่ระดับ 0.7134 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7112 ดอลลาร์สหรัฐ