ก้าวย่างสู่ความเป็นหนึ่ง

นักลงทุนจำนวนมาก คาดหวังว่ายุคสมัยของประธานาธิบดีคนล่าสุดของสหรัฐฯ โจ ไบเดน จะมีความผ่อนคลายทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนมากขึ้น แต่ข้อเท็จจริงล่าสุดยังคงตอกย้ำว่าการผ่อนคลายทางการค้าที่จะเกิดขึ้นจะเป็นไปอย่างจำกัดมาก


พลวัตปี 2021 : วิษณุ โชลิตกุล

นักลงทุนจำนวนมาก คาดหวังว่ายุคสมัยของประธานาธิบดีคนล่าสุดของสหรัฐฯ โจ ไบเดน จะมีความผ่อนคลายทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนมากขึ้น แต่ข้อเท็จจริงล่าสุดยังคงตอกย้ำว่าการผ่อนคลายทางการค้าที่จะเกิดขึ้นจะเป็นไปอย่างจำกัดมาก

เหตุผลเพราะอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินลงทุนของจีนยังเติบโตไปต่อเนื่องไม่ได้หยุดหย่อนและส่อแววว่า น่าจะเป็นอย่างที่คาดการณ์เอาไว้ว่า ก่อนหน้าปีค.ศ. 2050 หรืออีก 30 ปีข้างหน้าจนจะกลับมาเป็นชาติที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก แทนที่สหรัฐอเมริกาที่จะมีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจถดถอยลงหรือต่ำติดพื้นไปต่อเนื่อง

หลายคนเชื่อว่า สันติภาพอเมริกา” หรือ Pax Americana จะต้องถูกแทนที่ด้วย สันติภาพแบบจีน” หรือ Pax Sinica อย่างแน่นอน แต่จะช้าหรือเร็วขึ้นกับสถานการณ์เท่านั้นเอง

ล่าสุดตัวเลขที่ออกมาประกาศเป็นทางการโดยการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) เปิดเผยยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ทั่วโลกในปี 2563 ที่ผ่านมาว่า จีนมียอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) สูงที่สุดในโลก อยู่ที่ 1.63 แสนล้านดอลลาร์แซงหน้าสหรัฐฯ ในปี 2563 การขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของจีนส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากตัวเลขเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในสหรัฐฯ ลดลงฮวบฮาบในขณะที่จีนยังคงเพิ่มขึ้นในระดับปกติ แม้จะเผชิญกับปัญหาโควิด-19 บางช่วง

สิ้นปี 2562 สหรัฐฯ มียอด FDI มูลค่า 2.51 แสนล้านดอลลาร์ นำหน้าจีนซึ่งมียอด FDI เพียง 1.40 แสนล้านดอลลาร์ สะท้อนภาพการถดถอยของสหรัฐฯ ได้ดี เมื่อเทียบกับยอด FDI ของสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ที่ 1.34 แสนล้านดอลลาร์ ในปีนี้

การขึ้นตัวในลักษณะ V-shape ของเศรษฐกิจจีนเริ่มฟื้นตัวขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 หลังประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนในปี 2563 ให้ขยายตัว 2.3% ส่งผลให้จีนกลายเป็นประเทศขนาดใหญ่ประเทศเดียวในโลกที่สามารถรอดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2563 ไปได้

แม้จะยังไม่อาจยืนยันได้แน่ชัดว่าตัวเลขยอด FDI ในปีนี้ของจีนจะยังคงพุ่งต่อไปเป็นอันดับหนึ่งของโลกซ้ำอีกหรือไม่ เพราะขึ้นกับตัวเลขการลงทุนใหม่ของสหรัฐฯ ด้วยเช่นกันว่าจะฟื้นตัวเร็วแค่ไหน แต่สัญญาณดังกล่าวก็ไม่ใช่ข่าวดีสำหรับสหรัฐฯ แน่นอน

ยิ่งหากนำไปเทียบกับอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจมหภาคของจีนด้วยแล้ว ยิ่งเห็นชัดว่า โอกาสที่การเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ น่าจะถูกท้าทายยิ่งขึ้นชนิด หายใจรดต้นคอ”

ดังนั้นการแข่งขันเพื่อครองความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจหมายเลขหนึ่งของโลกจึงต้องเลี่ยงไม่พ้น การผ่อนคลายทางการค้าหากจะมีก็ต้องมีเงื่อนไขกำกับด้วยเสมอ

เศรษฐกิจของจีนกลับมาเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไตรมาสที่สี่เนื่องจากผลผลิตจากอุตสาหกรรมเร่งขึ้นเพื่อรองรับความต้องการการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นผลักดันให้การขยายตัวทั้งปีเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ จีดีพีที่เพิ่มขึ้น 6.5% ในไตรมาสสุดท้ายจากปี 2562 ผลักดันให้เติบโตเป็น 2.3% ตลอดทั้งปี  ซึ่งทำให้เศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลกขับเคลื่อนการเติบโตทั่วโลกและอาจผ่าน GDP ของสหรัฐฯ เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวในรูปตัว V-shape จากการตกต่ำครั้งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์เกิดจากความสามารถในการควบคุมโควิด-19 และการใช้มาตรการทางการเงินเพื่อกระตุ้นการลงทุน ส่งผลให้ผลผลิตจากโรงงานของประเทศเร่งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์ที่ทำงานจากที่บ้านในการส่งออกที่มีการจัดส่งหน้ากาก 224 พันล้านชิ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนธันวาคมซึ่งเกือบจะ 40 สำหรับผู้คนบนโลกใบนี้

เพียงแต่การฟื้นตัวครั้งนี้ของจีน มีต้นทุนความเสี่ยงควบคู่ขนานไปด้วยอย่างเลี่ยงไม่พ้นเนื่องจากความไม่สมดุลในระยะยาวแย่ลง  การบริโภคทำให้อุตสาหกรรมล้าหลังเนื่องจากคนงานรัดเข็มขัดและความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ขยายกว้างขึ้นเช่นเดียวกับที่อื่น ๆ ทั่วโลก และที่ร้ายสุดคือตัวเลขหนี้ของบริษัทต่อสัดส่วนจีดีพี ของประเทศเริ่มเข้าสู่เส้นขีดจำกัดของอันตรายได้ง่ายมากกว่าเดิม

หากไม่นับสัดส่วนที่ไม่สมดุลระหว่างการผลิตและการบริโภค เนื่องจากการเติบโตของค่าจ้างไม่ได้กลับไปสู่ระดับก่อนการระบาดที่ถ่วงรั้งกำลังซื้อในประเทศลงแล้ว ยังมีเรื่องของหนี้บริษัท โดยเฉพาะหนี้ของรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ ได้เริ่มส่งคลื่นความสั่นสะเทือนไปทั่วตลาดสินเชื่อที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก

หุ้นกู้ของบางบริษัทขนาดใหญ่ที่เริ่มครบกำหนดไถ่ถอน เร่งส่อเค้าการเบี้ยวหนี้ให้เห็นมากขึ้นต่อเนื่อง จนหลายคนเริ่มหวั่นใจว่าอาจหลีกเลี่ยงการระเบิดครั้งต่อไปได้ยากมาก ราคาหุ้นกู้ของ 4 บริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดตราสารหนี้ เช่น  Pingdingshan Tianan Coal Mining Co. , Jizhong Energy Group Co. , Tianjin TEDA Investment Holding Co. และ Yunnan Health & Culture Tourism Holding Group ซึ่งได้รับการจัดอันดับ AAA จาก บริษัท จัดอันดับในประเทศของจีน ร่วงลงอย่างน้อย 14% ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายนซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ผลิตถ่านหินของจีนที่เป็นเจ้าของกิจการ  มีข้อสงสัยใหม่ ๆ เกี่ยวกับการค้ำประกัน เนื่องจากความสามารถในการทำกำไรของพวกเขาล้าหลังกว่าการเติบโตของหนี้

ผลพวงที่ตามมาคือ ความต้องการซื้อในตลาดตราสารหนี้ของจีนลดลงท่ามกลางความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับการผิดนัดชำระหนี้ และความกังวลในอนาคตจากแรงกดดันจากการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ต่อบริษัทบางแห่งในประเทศ

เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา  บริษัทจีนออกหุ้นกู้ขายในตลาด เหลือแค่มูลค่ารวม 9.9 พันล้านดอลลาร์ต่ำที่สุดในรอบ 7 เดือนและลดลง 52% จากยอดรวมของเดือนตุลาคม

อุปสงค์ที่ลดลงของตลาดตราสารหนี้จีน เริ่มท้าทายมุมมองที่ยาวนานว่ารัฐบาลจะค้ำประกันหนี้บริษัทที่ตกเป็นข่าวลือทางลบ

ราคาที่ลดลงของตลาดตราสารหนี้ แม้ว่าจะสวนทางทำให้บอนด์ยีลด์โดยเฉลี่ยของตลาด เพิ่มสูงขึ้นมากแต่ความน่ากังวล กลับมีมุมมองอีกด้านว่า ภาระหนี้บริษัทที่สูงลิ่วของจีน ซึ่งสะท้อนถึงการปล่อยปละละเลยทางระบบปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์จีนที่มีการควบคุมหละหลวม อาจจะมีความเสี่ยงสูง

Pingdingshan Tianan ผู้ผลิตถ่านหินรายใหญ่ของรัฐในมณฑลเหอเป่ยประสบกับผลขาดทุนสุทธิเป็นปีที่แปดติดต่อกันเมื่อปีที่แล้ว หนี้ทั้งหมดซึ่งส่วนใหญ่มีการชำระคืนพันธบัตร 31,700 ล้านหยวน ไม่เคยมีปัญหา แต่ข่าวลือดังกล่าวเดือดร้อนให้บริษัทต้องมีนัดแถลงข่าวพิเศษปลอบขวัญนักลงทุนถี่ขึ้นในหลายเดือนมานี้

ตลาดตราสารหนี้ที่เริ่มมีปัญหา ทำให้หน่วยงานของรัฐบาลจีนที่รับผิดชอบในการจัดหาเงินทุนหลายแสนล้านดอลลาร์ในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน (LGFV) หลายแห่งต้องระงับการออกขายหุ้นกู้ใหม่ ๆ แล้วเปลี่ยนมากู้ยืมโดยยอมจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่ามากแทน

วิกฤตสินเชื่อที่ LGFV เผชิญอยู่ซึ่งมีหน้าทำให้เกิดความกังวล เพราะที่ผ่านมา LGFV เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่รัฐบาลท้องถิ่นของจีนสามารถใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายนโยบายเช่นการส่งเสริมการลงทุนและการสร้างงาน ดังนั้นหาก LGFV ไม่สามารถเข้าถึงเครดิตได้ เส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจท้องถิ่นก็อาจขาดเลือดได้ หากประเมินจากข้อเท็จจริงที่ว่า ในปี 2562 การกู้ยืม LGFV คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของสินเชื่อธุรกิจใหม่ของจีนและหนึ่งในสามของการออกพันธบัตรขององค์กรตามข้อมูลอย่างเป็นทางการ

ปัญหาเกี่ยวกับ LGFV ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของตลาดพันธบัตรของจีนจะทำลายความพยายามของปักกิ่งในการดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศเข้าสู่ตลาดทุน แต่ปัญหาจะเบาลง หากความขัดแย้งทางการค้าจีน-สหรัฐฯ คลายตัวลง

อัตราส่วนหนี้สินรวมของจีนทั้งครัวเรือนรัฐบาลการเงินและองค์กรที่ไม่ใช่สถาบันการเงินต่อ GDP แตะ 335 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาสที่สองของปี 2020 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 318 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาสแรก

ดังนั้น เส้นทางสู่การเป็นอันดับหนึ่งของจีน จึงต้องฝ่าฟันอุปสรรคอีกต่อไป ที่ยากยิ่งกว่าเดิม

Back to top button