สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 25 ม.ค. 2564

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 25 ม.ค. 2564


ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (25 ม.ค.) เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความล่าช้าในการออกมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน และการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,960.00 จุด ลดลง 36.98 จุด หรือ -0.12% ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 3,855.36 จุด เพิ่มขึ้น 13.89 จุด หรือ +0.36% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,635.99 จุด เพิ่มขึ้น 92.93 จุด หรือ +0.69%

 

ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (25 ม.ค.) โดยถูกกดดันจากการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่อ่อนแอของเยอรมนี ซึ่งบ่งชี้ถึงผลกระทบที่เกิดจากการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และนักลงทุนวิตกว่า ความล่าช้าในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อาจทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างล่าช้า

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดตลาดที่ระดับ 405.13 จุด ลดลง 3.41 จุด หรือ -0.83%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,472.36 จุด ลดลง 87.21 จุด หรือ -1.57%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 13,643.95 จุด ลดลง 230.02 จุด หรือ -1.66% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,638.85 จุด ลดลง 56.22 จุด หรือ -0.84%

 

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (25 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้น และมีการขยายมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,638.85 จุด ลดลง 56.22 จุด หรือ -0.84%

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (25 ม.ค.) โดยได้แรงหนุนจากรายงานที่ว่า อิรักมีแผนที่จะปรับลดการผลิตน้ำมันในเดือนม.ค.และก.พ. และข่าวการระงับส่งออกน้ำมันที่ท่าเรือหลายแห่งในลิเบีย ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตารายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันพุธนี้

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 50 เซนต์ หรือ 1% ปิดที่ 52.77 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 47 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 55.88 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (25 ม.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์ได้สร้างแรงกดดันต่อราคาทองคำ ขณะที่นักลงทุนจับตามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ โดยคาดว่าประธานาธิบดีโจ ไบเดนอาจจะต้องปรับลดวงเงินในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้สามารถผ่านการอนุมัติจากสภาคองเกรส

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 1 ดอลลาร์ หรือ 0.05% ปิดที่ 1,855.2 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 7.2 เซนต์ หรือ 0.28% ปิดที่ 25.484 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 6.9 ดอลลาร์ หรือ 0.62% ปิดที่ 1,104.7 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค. ร่วงลง 18.30 ดอลลาร์ หรือ 0.8% ปิดที่ 2,346.90 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ และความล่าช้าในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในสหรัฐ

ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.17% แตะที่ 90.3900 เมื่อคืนนี้

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8881 ฟรังก์ จากระดับ 0.8860 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2749 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2728 ดอลลาร์แคนาดา แต่เมื่อเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์อ่อนค่าลงสู่ระดับ 103.79 เยน จากระดับ 103.83 เยน

ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2139 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2166 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3663 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3681 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7703 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7717 ดอลลาร์สหรัฐ

Back to top button