สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 22 เม.ย. 2564
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 22 เม.ย. 2564
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (22 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลกับรายงานข่าวที่ว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐมีแผนที่จะปรับขึ้นภาษีกำไรที่ได้จากการลงทุนเพิ่มอีกเกือบสองเท่า โดยข่าวดังกล่าวส่งผลให้เกิดแรงเทขายในหุ้นทุกลุ่ม และยังได้บดบังปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐด้วย
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,815.90 จุด ลดลง 321.41 จุด หรือ -0.94% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,134.98 จุด ลดลง 38.44 จุด หรือ -0.92% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,818.41 จุด ลดลง 131.81 จุด หรือ -0.94%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (22 เม.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนในยุโรป และการที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและวงเงินในการซื้อพันธบัตรในการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวานนี้
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดตลาดที่ระดับ 439.63 จุด เพิ่มขึ้น 2.99 จุด หรือ +0.68%
ดัชนี CAC 40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,267.28 จุด เพิ่มขึ้น 56.73 จุด หรือ +0.91%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 15,320.52 จุด เพิ่มขึ้น 124.55 จุด หรือ +0.82% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,938.24 จุด เพิ่มขึ้น 42.95 จุด หรือ +0.62%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (22 เม.ย.) โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มค้าปลีกที่ปรับตัวขึ้น และการอ่อนค่าของเงินปอนด์ช่วยหนุนหุ้นกลุ่มส่งออกด้วย
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,938.24 จุด เพิ่มขึ้น 42.95 จุด หรือ +0.62%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (22 เม.ย.) โดยได้แรงหนุนจากข่าวการผลิตน้ำมันที่ลดลงในประเทศลิเบีย อย่างไรก็ดี สัญญาน้ำมันดิบขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในอินเดีย ซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 8 เซนต์ หรือ 0.1% ปิดที่ 61.43 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 8 เซนต์ หรือ 0.1% ปิดที่ 65.40 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (22 เม.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ปรับตัวลงในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 11.1 ดอลลาร์ หรือ 0.62% ปิดที่ 1,782 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 39 เซนต์ หรือ 1.47% ปิดที่ 26.18 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 6.2 ดอลลาร์ หรือ 0.51% ปิดที่ 1,208.5 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย. ร่วงลง 32.70 ดอลลาร์ หรือ 1.1% ปิดที่ 2,842.90 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (22 เม.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งรวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ปรับตัวลงในสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.2% แตะที่ 91.3389 เมื่อคืนนี้
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9182 ฟรังก์ จากระดับ 0.9172 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2498 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2496 ดอลลาร์แคนาดา แต่เมื่อเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 108.09 เยน จากระดับ 108.10 เยน
ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2007 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2028 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3836 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3927 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์อ่อนเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7706 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7751 ดอลลาร์สหรัฐ