HTECH จะดีขึ้น
HTECH เน้นผู้ผลิตชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์โลหะ โดยมีกลุ่มหลักคือ กลุ่มอุตสาหกรรมประเภทอิเล็กทรอนิกส์ โดยเน้นผู้ผลิตและรับจ้างผลิตส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นหลัก
–คุณค่าบริษัท–
เดิมลูกค้าของบริษัท แฮลเซี่ยน เทคโนโลยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ HTECH เน้นผู้ผลิตชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์โลหะ โดยมีกลุ่มหลักคือ กลุ่มอุตสาหกรรมประเภทอิเล็กทรอนิกส์ โดยเน้นผู้ผลิตและรับจ้างผลิตส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นหลัก เช่น ผู้ผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ โดยกลุ่มลูกค้าของบริษัทคือผู้ผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์ทั้งที่เป็นเจ้าของตราสินค้าและผู้ผลิตชิ้นส่วนระดับที่ 1 (First Tier) และระดับที่ 2 (Second Tier) บริษัทผลิตสินค้าโดยเน้นถึงความเที่ยงตรงและความมีคุณภาพของชิ้นงานเสมอมา
กระทั้งในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา บริษัทเน้นเพิ่มลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทชิ้นส่วนยานยนต์มากขึ้นเพื่อขยายฐานลูกค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยเป็นผู้ผลิต ล้อแม็ก เสื้อสูบ ฝาสูบ หัวฉีดเครื่องยนต์ ระบบเกียร์ ระบบเบรก ระบบบังคับล้อ ลูกสูบ ก้านสูบ เทอร์โบ และส่วนประกอบอื่นๆ ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนระดับที่ 1 (First Tier) และระดับที่ 2 (Second Tier) ในอุตสาหกรรมยานยนต์
นอกจากนี้บริษัทยังมีลูกค้าในส่วนอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์โลหะทั่วไปได้แก่ผู้ผลิตชิ้นส่วนกล้องถ่ายรูปชิ้นส่วนเครื่องบินชิ้นส่วนนาฬิกาและเครื่องประดับเป็นต้นและอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่นผู้ผลิตแม่พิมพ์โลหะหรือชิ้นส่วนเครื่องจักรกลอื่นๆ
ล่าสุดคาดว่าลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศเริ่มกลับมาทยอยสั่งออเดอร์ดิสก์เพิ่มขึ้น ประกอบกับยอดออเดอร์ชิ้นส่วนรถยนต์ส่งออกไปประเทศอินโดนีเซียและสหรัฐได้มีออเดอร์ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน หลังจากอุตสาหกรรมรถยนต์ในต่างประเทศได้พลิกกลับมาฟื้นตัว และสามารถชดเชยยอดออเดอร์ชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศที่ชะลอตัว ตามทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย
ทั้งนี้ในปี 2558 ทางบริษัทจะพยายามทำอัตรากำไรสุทธิให้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 10% จากปีก่อนที่ทำได้ 9.67% หลังจากที่มียอดออเดอร์เพิ่มและส่งผลให้การผลิตเพิ่มขึ้น จึงสนับสนุนให้บริษัทมีต้นทุนการผลิตลดลงจำนวนมาก และกลายเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนการเติบโตของอัตรากำไรสุทธิบริษัทเพิ่มขึ้นจากปีก่อน
แม้ว่าผลการดำเนินงานไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2558 บริษัทมีรายได้รวมเพียง 167.48 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 172.99 ล้านบาท เป็นผลจากรายได้จากการขายและบริการลดลง ส่งผลให้บริษัทมีกำไรลดลงเหลือ 8.95 ล้านบาท หรือ 0.03432 บาทต่อหุ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 16.71 ล้านบาท หรือ 0.06405 บาทต่อหุ้น
ส่วนผลการดำเนินงานงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2558 บริษัทมีรายได้รวมขยับขึ้นมาอยู่ที่ 352.60 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 333.31 ล้านบาท เป็นผลมาจากก าลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากเครื่องจักรใหม่ที่ทยอยติดตั้งในไตรมาส 3-4 ของปีที่ผ่านมา ประกอบกับบริษัทมีเงินปันผลรับจากบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น ทั้งที่กำไรของบริษัทกลับลดลงเหลือ 23.82 ล้านบาท หรือ 0.09131 บาทต่อหุ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 28.58 ล้านบาท หรือ 0.10957 บาทต่อหุ้น
ขณะที่ตัวบริษัทมีความมั่นคงสูง ทำให้การดำเนินงานมีความคล่องตัวดีขึ้น ซึ่งเห็นได้จากเมื่อนำสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีมากถึง 466.68 ล้านบาท มาเทียบกับหนี้สินหมุนเวียน 210.67 ล้านบาท ได้ค่า Current Ratio อยู่ที่ระดับ 2.22 เท่าแสดงว่าสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทมีอย่างเหลือเฟือและเมื่อนำเอาหนี้สินรวมที่มีอยู่ที่ 256.58 ล้านบาท มาเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้นที่ 727.19ล้านบาท ได้ค่า D/E อยู่ที่ระดับ 0.36 เท่า แสดงว่า ปัญหาหนี้สินของบริษัทไม่มากระทบต่อผลการดำเนินงานในอนาคตอย่างแน่นอน
สิ่งสำคัญ คือ เมื่อพิจารณาค่า P/E ที่ระดับ 11.75 เท่า ถือว่า ราคาหุ้นยังไม่สูงเกินไป เพราะเมื่อนำมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นอยู่ 2.45 บาทมาคำนวณค่า P/BV ที่ระดับ 1.50 เท่า ซึ่งเป็นการคำนวณแบบอนุรักษนิยม จะได้ราคาเหมาะสมที่ระดับ 3.68บาท และเมื่อนำเทียบกับราคาหุ้นบนกระดานที่ระดับ 2.84 บาท แสดงว่า ยังเหลือแก๊ปให้นักลงทุนเข้าเล่นอีกเยอะพอสมควร
…
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
1.นายพีท ริมชลา 25,000,000 หุ้น 9.59%
2.นายวิบูลย์ รุจิเรกสาธร 16,300,000 หุ้น 6.25%
3.นายรัตติพัฒน์ อร่ามวัฒนพงศ์ 14,994,000 หุ้น 5.75%
4.MR.CHUA CHENG KHUAN 12,000,000 หุ้น 4.60%
5.น.ส.เภธรา ริมชลา 11,785,300 หุ้น 4.52%
รายชื่อกรรมการ
1.พล โทปรีชา วรรณรัตน์ ประธานกรรมการ
2.นายพีท ริมชลา ประธานกรรมการบริหาร
3.นายพีท ริมชลา กรรมการผู้จัดการ
4.นายชัว เช็งควน กรรมการ
5.นายนรวีร ช้างหลำ กรรมการ