SCBAM แนะ 13 กองทุนเด่นชนิด e-class เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน

SCBAM แนะนำ 13 กองทุนเด่นชนิด e-class ฟรีค่าธรรมเนียม เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน


นายอาชวิณ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด หรือ บลจ.ไทยพาณิชย์ (SCBAM) เปิดเผยว่า ในช่วงนี้นักลงทุนต่างก็มีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในทิศทางที่เป็นขาขึ้น หลังจากที่ทั้งโลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 มาเป็นระยะเวลายาวนาน

โดยในปีนี้ภาพรวมสถานการณ์การแพร่ระบาดมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหลังจากเริ่มมีการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID – 19 โดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่มีการอัตราการการฉีดวัคซีนสูง จะเห็นได้ว่าอัตราการติดเชื้อน้อยลงทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจรวมถึงการจ้างงานฟื้นตัวกลับมาอีกครั้ง ส่งผลให้ตัวเลขเศรษฐกิจค่อย ๆ ปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น จึงแนะนำนักลงทุนให้กระจายการลงทุนไปตลาดต่างประเทศมากขึ้นเพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทน โดยได้แนะนำลงทุนใน 13 กองทุนเด่นในชนิดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-class ที่ฟรีค่าธรรมเนียมการซื้อ (Front-End Fee) และค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee)

ทั้งนี้การลงทุนใน e-class คือ การลงทุนในช่องทางการลงทุนอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถลงทุนด้วยมูลค่าการลงทุนขั้นต่ำ 1 บาท – สูงสุด 1 ล้านบาท โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมการซื้อ (Front-End Fee) และค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) ซื้อได้ผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน SCBAM Fund Click ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่ง่ายและสะดวกครบครัน สามารถเลือกลงทุนในกองทุนภายใต้การบริหารของบลจ.ไทยพาณิชย์ ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยสามารถเลือกตัดบัญชีเพื่อซื้อกองทุนได้จากหลากหลายธนาคารชั้นนำ นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนการออมระยะยาวยังสามารถทำรายการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (Dollar Cost  Average หรือ DCA) ผ่านช่องทาง SCBAM Fund Click ได้อีกด้วย

สำหรับกองทุนชนิด e-class เป็นกองทุนดัชนีต่าง ๆ ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และเน้นลงทุนตามตลาดโดยการคัดเลือกสินทรัพย์คุณภาพ ครอบคลุมทุกประเภท เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ลงทุนอยู่แล้วและนักลงทุนหน้าใหม่ที่ต้องการเรียนรู้การลงทุน ถึงแม้ว่าการลงทุนใน e-class จะมีข้อจำกัดเรื่องวงเงินลงทุนสูงสุด 1 ล้านบาทต่อคน ในการยกเว้นค่าธรรมเนียมการซื้อและการจัดการ แต่นักลงทุนยังสามารถขยายการลงทุนไปยังกองทุนประเภทอื่น ๆ ผ่าน SCBAM Fund Click ที่รองรับความต้องการของนักลงทุนอย่างหลากหลายสินทรัพย์ หลากหลายภูมิภาคตามความเสี่ยงที่รับได้ของแต่ละบุคคล ซึ่งเหมาะที่จะเป็นทั้ง Core Portfolio และ Satellite Portfolio เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนตามเป้าหมายการลงทุนที่ชัดเจนได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้กองทุน e-class มีให้เลือกลงทุนหลากหลายสินทรัพย์และหลายภูมิภาค โดยมีถึง 23 กองทุนด้วยกัน ทั้งกองทุนตลาดเงิน กองทุนหุ้นไทย กองทุนหุ้นต่างประเทศ กองทุนทองคำ และกองทุน Smart Beta

สำหรับกองทุน e-class ที่แนะนำลงทุนเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบันทั้ง 13 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนหุ้นไทย 3 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET Banking Sector Index (SCBBANKINGE) เน้นลงทุนในหุ้นไทยของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ เพื่อสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีหมวดธนาคาร, กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET Index (SCBSETE) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET50 Index (SCBSET50E) เน้นลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี SET และดัชนี SET50 (ตามลำดับ) ให้มากที่สุด

โดยกองทุนต่างประเทศ 8 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นยูเอส ดีเจไอ (SCBDJI(E)) เน้นลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี Dow Jones, กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นยูเอส (SCBS&P500E) เน้นลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี S&P500, กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นญี่ปุ่น (SCBNKY225E) เน้นลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี Nikkei225, กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นจีน (SCBCEE)

รวมทั้งกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นจีน THB เฮดจ์ (SCBCEHE) เน้นลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับ H Share Index, กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นจีนเอแชร์ (SCBCHAE) เน้นลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับ CSI 300 Index, กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นอินเดีย (SCBINDIAE) เน้นลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับ Nifty50 Index และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นเกาหลี (SCBKEQTGE) เน้นลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับ MSCI Korea 25/50 Index

นอกจากนี้ยังมีกองทุนทองคำอีก 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์โกลด์ (SCBGOLDE) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์โกลด์ THB เฮดจ์ (SCBGOLDHE) ที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟทองคำต่างประเทศ คือ SPDR Gold Trust ETF

ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจโลกว่า ในครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่ายังเป็นปัจจัยหนุนต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉพาะในหุ้น ซึ่งนำโดยประเทศเศรษฐกิจหลัก เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และจีน ที่การกระจายวัคซีนมีความคืบหน้าอย่างมาก และคาดว่าจะครอบคลุมในระดับที่มีภูมิคุ้มกันหมู่ได้ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมจากนโยบายภาครัฐ โดยสหรัฐฯ ที่มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่สูงกว่าช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ในส่วนยุโรปเองก็กำลังจะเริ่มงบประมาณฟื้นฟูเศรษฐกิจ (Recovery Fund) ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ระหว่าง 0.5-1.5% ต่อปีต่อเนื่องไปอีก 3 ปีข้างหน้า ขณะที่แรงกดดันจากการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวสหรัฐฯ ลดลง จากการคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะทยอยปรับลดลงในช่วงที่เหลือของปี รวมถึงความกังวลจากการปรับขึ้นภาษีของโจ ไบเดน อาจจะไม่ได้รุนแรงเท่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้า

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังต้องจับตา ได้แก่ การส่งสัญญาณปรับลดมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารกลางโลกโดยเฉพาะเฟด และสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งยังมีความไม่แน่นอน อีกทั้งความเสี่ยงของเชื้อกลายพันธุ์สายพันธ์เดลต้าที่กำลังระบาดในขณะนี้

Back to top button