สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 8 ก.ย. 2564
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 8 ก.ย. 2564
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เมื่อคืนนี้ (8 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับกำหนดเวลาที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะถอนมาตรการผ่อนคลายทางการเงินนั้น ยังเป็นอีกปัจจัยที่สร้างแรงกดดันในตลาด
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,031.07 จุด ลดลง 68.93 จุด หรือ -0.20% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,514.07 จุด ลดลง 5.96 จุด หรือ -0.13% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,286.64 จุด ลดลง 87.69 จุด หรือ -0.57%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (8 ก.ย.) โดยปรับตัวลงมากที่สุดในรอบ 3 สัปดาห์ก่อนการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งคาดว่าผู้กำหนดนโยบายจะอภิปรายกันเกี่ยวกับการปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 467.87 จุด ลดลง 5.00 จุด หรือ -1.06%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,668.89 จุด ลดลง 57.18 จุด หรือ -0.85%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 15,610.28 จุด ลดลง 232.81 จุด หรือ -1.47% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,095.53 จุด ลดลง 53.84 จุด หรือ -0.75%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (8 ก.ย.) โดยถูกกดดันจากหุ้นกลุ่มเวชภัณฑ์และกลุ่มธนาคารที่ร่วงลง ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา และปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งทำให้นักลงทุนวิตกว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจอาจจะชะลอลง
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,095.53 จุด ลดลง 53.84 จุด หรือ -0.75%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (8 ก.ย.) โดยได้แรงหนุนจากรายงานที่ว่า การฟื้นฟูกำลังการผลิตน้ำมันในอ่าวเม็กซิโกเป็นไปอย่างล่าช้า หลังได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนไอดา ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันพรุ่งนี้
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 95 เซนต์ หรือ 1.40% ปิดที่ 69.30 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 91 เซนต์ หรือ 1.30% ปิดที่ 72.60 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (8 ก.ย.) โดยสัญญาทองคำปิดที่ระดับต่ำกว่า 1,800 ดอลลาร์ติดต่อกันเป็นวันที่ 2 เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาด
ทั้งนี้สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 5 ดอลลาร์ หรือ 0.28% ปิดที่ 1,793.50 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 31.70 เซนต์ หรือ 1.30% ปิดที่ 24.056 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 19.80 ดอลลาร์ หรือ 1.99% ปิดที่ 976.10 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 116.20 ดอลลาร์ หรือ 4.90% ปิดที่ 2,237.30 ดอลลาร์/ออนซ์
ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (8 ก.ย.) ก่อนที่การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะมีขึ้นในวันนี้
ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.15% แตะที่ 92.6501 เมื่อคืนนี้
ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1824 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1845 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3779 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3787 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7374 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7388 ดอลลาร์สหรัฐ
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 110.22 เยน จากระดับ 110.28 เยน แต่ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9213 ฟรังก์ จากระดับ 0.9190 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2673 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2641 ดอลลาร์แคนาดา