CKP ครึ่งหลังโตเด่น! โรงไฟฟ้า “ไซยบุรี” เข้าไฮซีซั่น-มั่นใจรายได้ปีนี้เข้าเป้า 20%
CKP ครึ่งหลังโตแรง! รับโรงไฟฟ้า "ไซยบุรี" เข้าไฮซีซั่น-มั่นใจดันรายได้ปีนี้โต 20% ฟากโรงไฟฟ้าพลังน้ำหลวงพระบาง มูลค่า 1.5-1.6 แสนลบ. คาดชัดเจนปลายปีนี้
นายธิติพัฒน์ นานานุกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP เปิดเผยข้อมูลภาพรวมของบริษัทผ่านงาน Opportunity Day จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวันที่ 14 ก.ย.2564 ว่า ทิศทางผลการดำเนินงานครึ่งหลังปี 2564 คาดว่าจะเติบโตกว่าครึ่งปีแรก หลังเข้าสู่ช่วงฤดูฝนทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
โดยคาดว่าในช่วงไตรมาส 3/64 กำลังการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าไซยะบุรี (XPCL) จะทำจุดสูงสุด ส่วนโรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 (NN2) ยังต้องรอดูปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยรวมก็คาดว่าผลงานครึ่งปีหลังจะโดดเด่นกว่าครึ่งปีแรก
ส่วนภาพรวมผลประกอบการปีนี้คาดจะเติบโตดีจากโรงไฟฟ้าไซยะบุรีมีปริมาณน้ำเข้ามามาก โดยคาดรายได้ปีนี้จะเติบโต 10-20% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเป้าหมายเดิมที่คาดไว้ราว 10-15%
ทั้งนี้บริษัทมีเป้าหมายเติบโตใน 3 มิติ มิติแรกในด้านการเติบโตตั้งเป้ากำลังการผลิตติดตั้งไว้ที่ 5,000 เมกะวัตต์(MW) ภายในปี 2568 หรือเติบโตเฉลี่ยประมาณ 10-20% ต่อปี และตั้งงบลงทุนในปีนี้ไว้ที่ประมาณ 4-6 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็นลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำหลวงพระบางใน สปป.ลาว ซึ่งลงทุนไปแล้ว 42% โดยลงทุนไปแล้ว 2,200 ล้านบาท โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกเจรจา กับคู่สัญญาหลักต่างๆ ควบคู่ไปกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการประกอบกัน
นอกจากนั้นมีการศึกษาลงทุนในตัวโซลาร์อื่นๆทั้งประเภทโซลาร์ฟาร์ม ,โซลาร์รูฟท็อป นอกจากนั้นยังมองโอกาสการลงทุทั้งที่ในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในระหว่างการศึกษาขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น (BIC) เนื่องจากความต้องการลูกค้าบางส่วน และในโรงงานอุตสาหกรรมยังมีความต้องการค่อนข้างมาก
ส่วนมิติที่สองตั้งเป้าอีบิทด้า(EBITDA) อยู่ที่ประมาณ 40-50 % โดยสิ่งที่ให้ความสำคัญคือต้องไม่ไม่มีการหยุดชะงักในการผลิตไฟฟ้า และการเซฟตี้พนักงาน ทั้งที่อยู่ไซด์และออฟฟิต นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญในแง่ของการบริหารจัดการเรื่องน้ำดีขึ้น นอกจากนั้นคือการลดต้นทุนทางการเงิจะเห็นได้ว่าต้นทุนการเงินทยอยลดลงต่อเนื่อง และมิติที่สามตั้งเป้าหมายหลักและพยายามผลักดันก็คือเรื่องของการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงพลังงาน
สำหรับความคืบหน้าการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำหลวงพระบางใน สปป.ลาว ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาในหลายๆ ด้าน ทั้งสิ่งแวดล้อม และสังคม รวมถึงเจรจาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายไฟฟ้า Feed-in Tariff (FiT) กับทางฝั่งไทย และสัญญากับรัฐบาลลาว คาดว่าจะเห็นความชัดเจนมากขึ้นในปลายปีนี้
ขณะที่พันธมิตรร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว ปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจน แต่เบื้องต้นจะมีกลุ่ม บมจ.ช.การช่าง (CK) และทางรัฐบาลลาว และรัฐบาลเวียดนาม ถือหุ้นอยู่ โดยจะมีวงเงินลงทุนโครงการราว 150,000-160,000 ล้านบาท
นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนเสนอขายหุ้นกู้มูลค่า 2,000 ล้านบาท เพื่อจ่ายคืนเงินกู้ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน หลังจากได้เข้าซื้อหุ้น บริษัท ไซยะบุรี พาเวอร์ จำกัด (XPCL) จากบริษัท พีที จำกัด เพิ่มเติมในส่วนสัดส่วน 5% ของทุนจดทะเบียน มูลค่า 1,826 ล้านบาทในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้บริษัทถือหุ้นใน XPCL เพิ่มจาก 37.50% เป็น 42.50%