ภาพรวมกองทุน Q3/58 เติบโต 4.07%ตามกระแสนิยมกอง Healthcare หนุน

บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสริร์ช (ประเทศไทย) เปิดเผยภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนในประเทศไทยในไตรมาส 3/58 เติบโต 4.07% มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวม 3.96 ล้านล้านบาท แม้สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกมีความผันผวนอย่างมาก โดยมีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิรวมถึงเกือบ 500,000 ล้านบาท โดยนักลงทุนส่วนใหญ่เริ่มมองหาและย้ายเงินลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำมากขึ้น ส่งผลให้กองทุนตลาดเงิน (Money Market) และ กลุ่มกองทุนตราสารหนี้ทั้ง Short Term Bond และ Mid/Long Term Bond นั้นได้รับความนิยมจากผู้ลงทุนสูงสุด โดยมีเม็ดไหลเข้าสุทธิทั้งสิ้น 169,463 และ 125,967 และ 104,480 ล้านบาท ตามลำดับ


บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสริร์ช (ประเทศไทย) เปิดเผยภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนในประเทศไทยในไตรมาส 3/58 เติบโต 4.07% มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวม 3.96 ล้านล้านบาท แม้สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกมีความผันผวนอย่างมาก โดยมีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิรวมถึงเกือบ 500,000 ล้านบาท โดยนักลงทุนส่วนใหญ่เริ่มมองหาและย้ายเงินลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำมากขึ้น ส่งผลให้กองทุนตลาดเงิน (Money Market) และ กลุ่มกองทุนตราสารหนี้ทั้ง Short Term Bond และ Mid/Long Term Bond นั้นได้รับความนิยมจากผู้ลงทุนสูงสุด โดยมีเม็ดไหลเข้าสุทธิทั้งสิ้น 169,463 และ 125,967 และ 104,480 ล้านบาท ตามลำดับ

ขณะที่กองทุน High Yield Bond ที่ลงทุนในต่างประเทศก็ยังคงมีเงินไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง กว่า 100,576 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการสลับเปลี่ยนการลงทุนจากกองทุน Term Fund ที่ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศโดยใน 9 เดือนแรกนี้มีเงินไหลอออกกว่า -140,000 ล้านบาท แต่ทั้งนี้กองทุน High Yield Bond กลุ่มดังกล่าวเริ่มจะได้รับความนิยมลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงต้นปี ทั้งนี้ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะอัตราผลตอบแทนที่ลดลงอยู่ที่ระดับเพียง 1.8-2.5% เท่านั้น

ทั้งนี้ กลุ่มกองทุนที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดตลอดปีนี้ก็คือ กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (ไม่รวมกองทุน Term Fund) เรียกได้ว่ามากที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีเงินลงทุนไหลออกนอกประเทศสุทธิกว่า 107,473 ล้านบาทไปยังกลุ่มดังกล่าว โดยกลุ่มกองทุนที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากผู้ลงทุน คือ กองทุน Healthcare ซึ่ง ณ ปัจจุบัน มีเปิดดำเนินการทั้งสิ้น 17 กองทุนทั้งแบบกองทุนเปิดธรรมดาและเป็นกองทุน RMF มีเงินลงทุนไหลเข้ากลุ่มนี้สุทธิกว่า 38,575 ล้านบาท ทำให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมกว่า 53,897 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มกองทุนหุ้นญี่ปุ่น และกองทุนหุ้นจีน ที่มีเงินไหลเข้าสุทธิกว่า 23,710 และ 17,316 ล้านบาทตามลำดับ

ขณะที่กองทุนหุ้นไทย (ไม่นับรวม LTF และ RMF) ได้รับผลกระทบโดยตรงจากตลาดหุ้นไทยที่ผันผวนในไตรมาสที่ 3 นี้ทำให้ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมลดลง -7.47% มาอยู่ที่ 163,526 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิตลอดทั้งปี 4,580 ล้านบาท โดย 2 กลุ่มที่ได้รับความนิยมอย่างชัดเจนในปีนี้คือ กลุ่มกองทุน Passive Fund มีเงินไหลสุทธิเข้ากว่า 1,700 ล้านบาทและกลุ่มกองทุนหุ้นขนาดกลางและเล็กที่หลาย บลจ.ทยอยออกกองทุนในกลุ่มดังกล่าวมาเป็นทางเลือกให้กับผู้ลงทุน

ไตรมาส 3 นี้นับเป็นช่วงเวลาที่ท้าท้ายฝีมือผู้จัดการกองทุนมากที่สุดนับตั้งแต่ วิกฤตการเงินในยุโรปเมื่อปี 2554 โดยมีเพียง 4 กลุ่มเท่านั้นที่สามารถทำผลตอบแทนเฉลี่ยเป็นบวก ได้แก่ กลุ่ม Money Market ที่ 0.31% กลุ่มกองทุนตราสารหนี้ทั้ง Short Term Bond และ Mid/Long Term Bond ที่ 0.39% และ 0.07% ตามลำดับ สุดท้าย กลุ่ม Property Indirect (เน้นลงทุนหุ้นอสังหาริมทรัพย์และกองทุนอสังหาริมทรัพย์) ที่ 0.54% ขณะที่กลุ่มที่ทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้น้อยที่สุดนั้นได้แก่ กลุ่มกองทุนหุ้นจีน ที่ -20.55% ตามมาด้วย กองทุนน้ำมัน ที่ -19.72% และกลุ่ม Emerging Market Equity ที่ -13.65%

ส่วนกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) และ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งหนีไม่ผลที่จะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาดหุ้นไทยเช่นกันส่งผลให้ กองทุน LTF มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 253,420 ล้านบาท -6.49% ขณะที่ RMF โตเพียงเล็กน้อยที่ 0.19% มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 167,021 ล้านบาท

ทั้งนี้ นักลงทุนบางส่วนก็ใช้โอกาสในช่วงหุ้นตกนี้ทำการทยอยลงทุนทั้งกองทุนมากเป็นประวัติการณ์ โดย LTF มีเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิในไตรมาสนี้กว่า 10,766 ล้านบาทขณะที่ RMF มีเม็ดเงินไหลเข้าสุทธิอย่างต่อเนื่องเช่นกันที่ 4,420 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามจากการประเมินและสถิติในอดีตนั้นแสดงให้เห็นว่า ยังมีเม็ดเงินอีกกว่า 30,000 ล้านบาทในส่วนของ LTF และอีกกว่า 15,000 ล้านบาทของ RMF ที่ยังรอการลงทุนอยู่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี

Back to top button