“โนมูระ” เปิดมุมมองดัชนี Q4 พร้อมเคาะ 11 หุ้นเด่นน่าลงทุน

“โนมูระ” เผยแนวโน้มตลาดหุ้นไทยช่วงไตรมาส 4/64 พร้อมจัดกลยุทธ์ลงทุน แนะ 11 หุ้นเด่นที่น่าสนใจ รับปัจจัยบวกทั้งนอก-ในประเทศ


บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน ระบุในบทวิเคราะห์ ถึงแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาส 4/64 โดยปัจจัยสำคัญที่กดดันตลาดหุ้นไตรมาสสุดท้ายของปี คือการถอนนโยบายผ่อนคลายการเงินของ Fed (QE Tapering) ว่าจะเข้มงวดกว่าตลาดคาดหรือไม่

โดย Nomura มีมุมมองว่า Fed จะประกาศ Tapering ในการประชุมเดือน พ.ย.64 และมีผลเดือน ธ.ค.64 โดยลดการซื้อพันธบัตร 1 หมื่น ล้านเหรียญฯ และ MBS 5 พันล้านเหรียญฯ ทุกๆ เดือน ก่อนสิ้นสุดโครงการ มิ.ย. 65 ซึ่งประเด็นนี้ถือเป็นแรงกดดันต่อตลาดสินทรัพย์เสี่ยงในด้านสภาพคล่องไหลออก โดยเฉพาะทางฝั่ง Emerging Market (EM)

ทั้งนี้ Nomura ประเมินกลุ่ม Trouble Ten ซึ่งเป็นประเทศใน EM 10 ประเทศ จะได้รับผลกระทบเชิงลบมากที่สุดในกรณีที่ Fed เริ่ม QE Tapering จากความไม่แน่นอนหลายด้าน ทั้งแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่อ่อนแอ สวนทางอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น ทำให้ต้องเร่งปรับนโยบายการเงินภายในประเทศ

ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดอ่อนแอลง และขาดดุลทางการคลังสูงขึ้น ซึ่ง 2 ใน 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ดังนั้นแม้ไทยจะไม่ได้อยู่ในกลุ่ม Trouble Ten แต่ก็มีโอกาสที่ไทยจะเผชิญความเสี่ยงจาก Outflows ในเชิงความสัมพันธ์ของกลุ่ม TIPs อย่างไรก็ดีช่วงที่ ผ่านมา กรรมการ Fed ออกมาส่งสัญญาณนโยบายการเงินต่อตลาดอย่างชัดเจน ทำให้นักลงทุนปรับพอร์ตการลงทุนล่วงหน้าไปมากแล้ว ผสานข้อมูลสถิติย้อนหลังจะพบว่า Fund Flows ต่างชาติมีผลต่อตลำดสินทรัพย์เสี่ยงในเอเชียน้อยลงกว่าในอดีตมาก

โดยสำหรับตลาดหุ้นไทย สัดส่วนของมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติล่าสุดอยู่ที่ 35-40% เทียบกับอดีต 55-60% ประกอบกับ F-Holding หุ้นไทยปัจจุบัน 18% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว 26% ดังนั้น แม้ไทยมีความเสี่ยง Outflows แต่แรงกดดันต่อตลาดอาจจะไม่มากเท่าปี 2556 ที่ตลาดปรับฐานถึง -18 ถึง -25% โดยโครงสร้างปัจจุบันของตลาดหุ้นไทย นักลงทุนสถาบัน-รายย่อย จะมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากกว่า ทำให้ฐานของตลาดน่าจะอิงกับมุมมองเศรษฐกิจของคนในประเทศเป็นหลัก ทีมกลยุทธ์ประเมิน Downside จาก Tapering ต่อ SET ราว -10%+-

ด้านปัจจัยภายในเป็นจิตวิทยาเชิงบวก เรื่องของการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown หลังสถานการณ์ Third Wave โดยรวมมีสัญญาณที่ดีขึ้น สะท้อนจากยอดผู้ติดเชื้อรายวันที่ลดระดับลงจากจุดสูงสุดที่ 2.3 หมื่นราย/วัน ขณะที่ทางฝั่งวัคซีนมีพัฒนาการเชิงบวก โดยปัจจุบันไทยฉีดวัคซีนไปราว 40% ของประชำกร

แบ่งเป็นวัคซีนเข็มแรก 21% และวัคซีนครบ 2 เข็ม 19% ดีกว่าที่ Nomura คาดการณ์ไว้ จึงมีการปรับคาดการณ์สัดส่วนประชากรที่ได้รับวัคซีนในสิ้นปีนี้ ปรับขึ้นเป็น 45-55% จากเดิมคาดราว 30-35% ซึ่งจากปัจจัยทั้งหมด ทำให้ศบค.ผ่อนคลาย Lockdown บางธุรกิจ และร้านอาหาร ตั้งแต่ 1 ก.ย. เป็นต้นมา

ขณะที่แผนการผลิตยารักษา Covid-19 ภายในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จากเพียงพอผู้ป่วยราว 5 หมื่นรายในเดือนก่อน อาจผลิตได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 5 แสนรายต่อเดือนในช่วงปลายปี เป็นบวกต่อภาพการ Reopening ในช่วงปลายปี ดังนั้น Nomura ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะต่ำสุดรอบ 2 ในภาพ W-Shape ช่วงไตรมาส 3/64 ก่อนฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

โดยประเมินการขยายตัวของ GDP ปี 2564-66 ที่ 0.6%, 4.1% และ 7.6% ตามลำดับ ภายใต้สมมติฐาน นักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นเป็น 13 ล้านรายปี 2565 และ 35 ล้านรายปี 2566 นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนจากนโยบายผ่านคลายการเงินของ กนง. ซึ่งจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bps สู่ระดับ 0.25% ในการประชุม 29 ก.ย. นี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติม

ดังนั้น ภาพตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาส 4/64 จะถูกถ่วงจากแรงกดดันจากภายนอกอย่าง QE Tapering ก่อนถูกประคองจากจิตวิทยาบวก Reopening ของภายใน SET น่าจะปรับฐานไม่เกิน -10%+/- ภายใต้กรอบกำรแกว่งตัว 1650/1680 จุด -1556/1500 จุด โดยคงดัชนีเป้าหมายปี 2564 ที่ 1,600 จุด และวางเป้าหมายสิ้นปีหน้าเบื้องต้น 1750 จุด อิง EPS ปี 2564-65 ที่ 76-90 บาทต่อหุ้น

อย่างไรก็ดี แนะนำพอร์ตการลงทุนแบบ Balance หุ้น Growth ผสมผสาน หุ้น Value คงน้ำหนักหุ้นไทย 50%, หุ้นต่างประเทศลดลง 20-25%, และถือสินทรัพย์ปลอดภัยหรือทำงเลือกอื่นๆ ราว 25-30% รอจังหวะตลาดพักฐาน ให้ใช้เป็นจังหวะเพิ่มน้ำหนักหุ้น

โดยหุ้นเด่นงวดไตรมาส 4/664 แนะนำ 1) Tech modernization แนะนำหุ้นคุณค่า Valuation ถูก ปันผลสูง พ้นจุดลงทุน 5G และผลประกอบการกำลังฟื้นตัว (ADVANC, TRUE) หุ้นเติบโตสูงกลุ่มชิ้นส่วนฯ ที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของภาวะชิพขาดแคลนในอุตสาหกรรมยานยนต์ (KCE)

2) HealthCare/Wellness เน้นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ที่ฐานกำไรเริ่มฟื้นตัวตามการให้บริการภายใน วัคซีนทางเลือก และ Valuation ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว (BDMS)

3) Accelerating themes เน้นหุ้นที่มี New S-Curved จาก Industry consolidation (GULF) และ Battery-Green Energy (GPSC)

4) Reopening เน้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายใน (CPALL, BEM, MAJOR)

5) M&A : แนะนำหุ้นที่มี Synergy ระยะยาวเด่น ขณะที่ฐานกำไรระยะสั้นเติบโตต่อเนื่อง (JMT)

6) Financial :เน้นผู้นำ Platform สินเชื่อรายย่อย และมีโอกาสเข้า MSCI เดือนพ.ย.64 (TIDLOR)

Back to top button