ค่าโง่ และ ความย้อนแย้งของเงินเฟ้อ

ประเด็นเรื่องเงินเฟ้อ ที่ห่างหายมายาวนานกว่า 5 ปีนับแต่วิกฤต ก็ทำให้เกิดผลสะเทือนต่อตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และกำไรของสถาบันการเงินทั่วโลก


ทันทีที่เฟดฯ ส่งสัญญาณว่า อาจจะมีการผงกหัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในตลาดรับซื้อคืน โดยที่ยังไม่ถึงขั้นกล่าวถึงมาตรการต่อไปคือยุทธศาสตร์โอนเงินจากตลาดหรือ Exit Strategy ประเด็นเรื่องเงินเฟ้อ ที่ห่างหายมายาวนานกว่า 5 ปีนับแต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2008 เป็นต้นมา ก็ทำให้เกิดผลสะเทือนต่อตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และกำไรของสถาบันการเงินทั่วโลก

สบช่องให้ขาประจำจ่ายค่าโง่เพราะลนลาน ทิ้งสเปโตร” เพราะความเชื่อเก่าแก่ที่ว่าดอกเบี้ยขาขึ้นไม่เคยเป็นมิตรกับราคาหุ้น

ทั้งที่ว่ากันไปแล้ว ดอกเบี้ยที่เริ่มผงกหัวขึ้นมาจากระดับต่ำติดพื้น 0%, มีทั้งปัจจัยบวกและลบพร้อมกันไป และมีบวกมากกว่า

ผลลัพธ์ที่ตามมาคือมีเศรษฐีเก่าที่ประสบการณ์ช่ำชองรวยกันทั่วหน้า แต่มีคนเคยรวยและคนบ้าในตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นมากกว่า

ภาพที่เกิดขึ้นของตลาดทุนและตลาดเงินยามนี้ สะท้อนความย้อนแย้งของความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ของมนุษย์ที่ทำให้มีคนเรียกขานว่าเป็นศาสตร์เส็งเคร็งหรือ dismal scines มีอยู่สองประการคือ 1) ตั้งบนสมมติฐานในจินตนาการที่เรียกว่าเป็นสมมติสภาวะ เช่นข้อสมมติว่าราคาและปริมาณเคลื่อนไหว ภายใต้ข้อแม้ว่าปัจจัยอื่นคงที่หรือ ceretis paribus ซึ่งไม่เคยมีจริง 2) เป็นศาสตร์ที่มีปัจจัยย้อนแย้งกันตลอดเวลาระหว่างปริมาณของสินค้าและของเงินภายใต้สมมติฐานว่า ความต้องการของมนุษย์ไม่จำกัด แต่ทรัพยากรมีจำกัด

ในขณะที่ตลาดหุ้นยุโรป:เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาหุ้นยุโรปปิดลบต่ำสุดในรอบ 2 เดือน วิตกเงินเฟ้อกระทบเศรษฐกิจจากผลสะท้อนจากวันพฤหัสบดีที่ดัชนีดาวโจนส์เฉลี่ยอุตสาหกรรม ติดลบมากกว่า 800 จุด แต่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อวันศุกร์กลับรีบาวด์ขึ้นมาจากการที่คนถามด้วยสติที่คืนกลับมาหลังหายจากอาการกระต่ายตื่นตูม ว่าเงินเฟ้อเป็นปัจจัยบวกมากกว่าลบดังที่รู้สึกก่อนหน้านั้น 1 วัน ทำให้คนที่ “ขายหมู” ต้องเขกกะโหลกตัวเองที่จ่ายค่าโง่แพงลิ่ว

หากไม่นับราคา หุ้นบริษัทเมอร์ค แอนด์ โค ซึ่งเป็นบริษัทยารายใหญ่ของสหรัฐฯ พุ่งขึ้น 8.4% ขานรับข่าวดีจากการที่ทางบริษัทเตรียมยื่นเรื่องต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ (FDA) เพื่อขออนุมัติการใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ในกรณีฉุกเฉิน หลังการทดลองทางคลินิกได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ และราคาหุ้นของบริษัทไฟเซอร์ อิงค์ และโมเดอร์นา อิงค์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 ดิ่งลงอย่างหนัก หลังมีการเปิดเผยประสิทธิภาพของยาโมลนูพิราเวียร์ในการรักษาโรคโควิด-19 ถือว่าอารมณ์ของ “คุณตลาดเริ่มมีเหตุผลนำทางมากขึ้น หลังหายจากการแปรปรวนชั่วขณะหนึ่ง”

ไม่ใช่เรื่องแปลก หากเป็นปกติธรรมดามาก

ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนวันศุกร์ที่ 1 ตุลาคมจนถึงขั้นแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน แล้วถือว่าเป็นการปรับตัวลงรายเดือนรุนแรงที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับการประกาศเตือนเรื่องผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนและผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากภาวะชะงักงันด้านห่วงโซ่อุปทานรวมทั้งเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น โดยหุ้นกลุ่มธนาคารและกลุ่มรถยนต์นำตลาดร่วงลง เนื่องจากถูกกดดันจากความวิตกเกี่ยวกับปัญหาคอขวดด้านอุปทานซึ่งมีแนวโน้มดำเนินต่อไปและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในระดับสูง ขณะที่นักลงทุนรอการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของยูโรโซนซึ่งคาดว่าจะพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี

ส่วนที่สหรัฐฯ ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่เปิดเผยในวันศุกร์ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า  ล้วนแต่สนับสนุนการฟื้นตัวของการบริโภคที่ชัดเจน ที่ทำให้ปรากฏการณ์เงินเฟ้อเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้น แต่เป็นเงินเฟ้ออ่อน ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงบวกมากกว่าลบชัดเจน

ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน (หรือบ้านเราเรียก ว่าcore inflation) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญนั้น พุ่งขึ้น 3.6% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการพุ่งขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2534 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 3.5% แล้วเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE พื้นฐานเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนส.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 0.2%

ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของดัชนี PCE พื้นฐานมีสาเหตุจากภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน และความต้องการใช้เชื้อเพลิงในระดับสูงกว่าปกติ

ส่วนดัชนี PCE ทั่วไป (เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ยังเปิดเผยว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือนส.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 0.7% ขณะเดียวกัน รายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนส.ค. ส่วนอัตราการออมของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 9.4% สู่ระดับ 1.71 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนส.ค. หลังจากพุ่งขึ้น 10.1% ในเดือนก.ค.

ที่ผ่านมามาตรการ   QEที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ สหภาพยุโรป หรือญี่ปุ่น ทำการพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้พอเสริมมาตรการทางการคลังมากมายยาวนานกว่า 12 ปี แม้จะช่วยเยียวยาผู้พ่ายแพ้ในกลไกทุนนิยมผ่าน “เฮลิคอปเตอร์ มันนี่” ได้ส่งเสียหายหลัก 2 ประการคือ 1) กับดักสภาพคล่องที่มาให้เกิดภาวะการผลิตที่ต่ำกว่าปกติ และการรอมเสียหาย แต่ฟองสบู่การเก็งกำไรเฟื่องฟู 2) ภาวะที่กลไกภาครัฐเพิ่มบทบาทแทรกแซงกลไกเศรษฐกิจมากเกินขนาด (Crowding Out Effect)

ปัญหา Crowding out effect เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ประเภทหนึ่งซึ่งใช้อธิบายการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยอาจผิดปกติอันเป็นผลมาจากกิจกรรมของรัฐบาลในตลาดเงิน โดยเชื่อมโยงกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนเงินกู้ที่รัฐบาลดำเนินการในตลาด หากกิจกรรมนี้เริ่มทำให้ยากขึ้นสำหรับธุรกิจหรือบุคคลที่จะเข้าร่วมในตลาดปรากฏการณ์นี้มักจะถูกเรียกว่าเบียดเสียด ซึ่งหมายความว่าการกู้ยืมของรัฐบาลทำให้ผู้อื่นสามารถทำธุรกิจในตลาดเหล่านั้นทำได้ยากขึ้น

เมื่อรัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมในการกู้ยืมมากขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในตลาดที่มีการกู้ยืมเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เนื่องจากหนึ่งในวิธีการที่รัฐบาลใช้ในการกู้ยืมเงินคือการออกพันธบัตรซึ่งหมายความว่าการออกพันธบัตรเพิ่มขึ้นในส่วนของรัฐบาลอาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เคยบอกว่า ภาวะเงินเฟ้ออ่อน ๆ (อัตราดอกเบี้ยในตลาดเฉลี่ยต่ำกว่า 5%) เป็นเรื่องที่ดี ไม่น่าตกใจอะไร

เราก็ควรเชื่อเช่นนั้น ก่อนที่จะเสียค่าโง่ที่แพงกว่า

Back to top button