รหัสโทน…ก็แค่ชื่อแฉทุกวัน ทันเกมหุ้น

2 ปีมานี้ นักลงทุนได้เห็นกระแสตั้งรหัสย่อของหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นที่ใช่อักษรโทนมากขึ้น เริ่มตั้งแต่หุ้นอย่าง เอฟโวลูชั่น แคปปิตอล เปลี่ยนชื่อจากเดิม บริษัท สยามทูยู จำกัด (มหาชน) หรือ S2Y ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านซอฟต์แวร์ และไอที เพราะเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ แล้วหันมาทำธุรกิจลงทุนด้านอาหาร จึงใช้รหัสใหม่ E ตั้งแต่ 12 พฤษภาคม 2551


 2 ปีมานี้ นักลงทุนได้เห็นกระแสตั้งรหัสย่อของหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นที่ใช่อักษรโทนมากขึ้น เริ่มตั้งแต่หุ้นอย่าง เอฟโวลูชั่น แคปปิตอล เปลี่ยนชื่อจากเดิม บริษัท สยามทูยู จำกัด (มหาชน) หรือ S2Y ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านซอฟต์แวร์ และไอที เพราะเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ แล้วหันมาทำธุรกิจลงทุนด้านอาหาร จึงใช้รหัสใหม่ E ตั้งแต่ 12 พฤษภาคม 2551

เมื่อมีคนนำร่อง  การใช้รหัสโทน ก็ไม่ต้องจำอักษรหลายตัวเริ่มมีความนิยมมากขึ้น

หากนับกันแล้วก็ปรากฏว่าจนถึงขณะนี้ มีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยที่ใช้รหัสโทน รวมกันมากถึง 6 รายด้วยกัน เรียงลำดับตามตัวอักษรได้ ดังต่อไปนี้

A  คือ บริษัท อารียา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

E คือ บริษัท เอฟโวลูชั่น แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ทำธุรกิจลงทุนทางด้านอาหาร

M คือ บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

S คือ บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน)

T คือ บริษัท ไทยบริการอุตสาหกรรมและวิศวกรรม จำกัด (มหาชน)

U บริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน)

ที่มาของรหัสโทนเหล่านี้ หากไม่นับของกรณี M ที่ใช้มาตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว ส่วนที่เหลือ ล้วนแล้วแต่มาจากการเปลี่ยนชื่อบริษัทเดิมทั้งสิ้น แต่มีเหตุผลต่างกันไป 

อารียา มีเหตุผลที่เปลี่ยนจากชื่อเดิมเพราะรหัสเก่า AREEYA นั้น ถูกกำหนดว่ายาวเกินไป มีอักษร 6 ตัว ตลาดอยากให้เปลี่ยน จึงเลือกไปมา กว่าจะลงตัวที่ A

M เจ้าของแบรนด์ เอ็มเค สุกี้ มีความจำเป็น ใช้ชื่อ MK ไม่ได้ เพราะถูกบริษัทอสังหาริมทรัพย์เก่าแก่ปาดหน้าใช้ไปก่อนนานหลายปีแล้วเบียดขับเอา  ในฐานะผู้มาทีหลังก็จำต้องกล้ำกลืนฝืนทนใช้รหัสโทนกันดื้อๆ

S  ก็เกิดจากการที่ตระกูลภิรมย์ภักดี เข้าซื้อกิจการของ RASA แล้วเปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน)

U ก็เกิดจากากรที่กลุ่ม BTS เข้าถือหุ้นใหญ่ใน NPARK แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น บริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน)

                ส่วน T นั้น ก็มีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหม่เช่นกัน แต่ชื่อบริษัทคงเดิม เปลี่ยนแต่รหัสย่อจากเดิม TIES มาเป็นล่าสุด

การเปลี่ยนชื่อเป็นรหัสโทน มีความน่าสนใจ นอกจากจะจำง่าย ไม่ต้องจำอักษรหลายตัวแล้ว ยังได้รับการเรียงหัวตัวของอักษรนั้นๆ สะดวกให้นักลงทุนค้นหาข้อมูลอย่างมาก

คำถามก็คือ ทุกครั้ง ที่มีการเปลี่ยนรหัส ก็มีเป้าหมาย 2 อย่าง คือต้องการลบอดีต และเริ่มต้นอนาคตใหม่ ทิ้งความหลังให้เป็นแค่ อดีตที่ผ่านเลย

กรณีของ T เป็นตัวอย่างที่ดี บริษัทก่อสร้างรายนี้ มีตัวเลขขาดทุนซ้ำซาก ชนิดที่นักลงทุนผู้ชอบเล่นหุ้นราคาต่ำๆ (ไม่ใช่ราคาถูกตามความหมายนักวิเคราะห์) พากันบ่นในสังคมออนไลน์ว่า  “ขาดทุนมาตลอดชาติ เพิ่มทุนมาตลอดทาง” และเปลี่ยนเจ้าของใหม่มาหลายราย จนถึงล่าสุด 

ฐานะทางการเงินล่าสุดเมื่อสิ้นไตรมาส 2 แสดงชัดเจนว่า ส่วนผู้ถือหุ้นใกล้จะหมด บังคับให้ต้องเพิ่มทุนระลอกใหม่ขายพันธมิตรแบบพีพี แต่ก็ยังไม่มีธุรกิจใหม่

จนกระทั่งกรรมการชุดล่าสุด คิดการใหญ่ที่ระบือลือลั่น เมื่อมีมติเพิ่มทุนครั้งใหญ่ วางแผนใหญ่มาก จะเพิ่มทุนครั้งใหญ่ เอาไปซื้อธุรกิจโรงแรมในประเทศอังกฤษ ร่วมทุนกับ บริษัท ฟิโก้ โฮลดิ้ง (ยูเค) จำกัด มูลค่าหลายพันล้านบาท

แผนดังกล่าว ถูกตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอตั้งคำถามให้บริษัทชี้แจงเกี่ยวกับการลงทุนในกิจการโรงแรม เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2558 แล้วก็ตามมาด้วยการยกเลิกแผนเพิ่มทุนดังกล่าว พร้อมกับการแก้ไขร่างวัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุนจดทะเบียนและการใช้เงินในส่วนเพิ่มทุนของบริษัท เป็นการดำเนินธุรกิจบนเส้นทางเดิม

ปล่อยโครงการโรงแรมที่อังกฤษที่ว่า ตกไปอยู่ในกำมือของ S ในสองสัปดาห์ถัดมา

นั่นหมายความว่า จากนี้ไป เส้นทางของ T จึงยังต้องลุ่มๆ ดอนๆ กับการเป็นขวัญใจของนักลงทุนที่ชอบเล่นหุ้นราคาต่ำกว่า 1 บาท อีกยาวนาน

เปลี่ยนแค่รหัสหลายอักษร เป็นอักษรโทน แต่เจตนาแน่ๆ คงเดิม….ว่างั้นเถอะ

Back to top button