5 หุ้นแบงก์บวกคึก! KBANK-BBL-SCB นำทีม รับดอกเบี้ยขาขึ้น-นลท.ไล่เก็บจ่อปันผลสูง
5 หุ้นแบงก์บวกคึก! KBANK-BBL-SCB นำทีม รับดอกเบี้ยขาขึ้น-นักลงทุนไล่เก็บรอรับปันผลสูงปี 64
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้(9ก.พ.2564) ราคาหุ้นกลุ่มแบงก์บวกคึก นำโดย KBANK,BBL,SCB,TTB,KTB โดยราคาหุ้นธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ณ เวลา 12.12 น. อยู่ที่ระดับ 160.5 บาท บวก 6.00 บาท หรือเพิ่มขึ้น 3.88% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 5.53 พันล้านบาท
ส่วนธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ราคาหุ้น ณ เวลา 12.12 น. อยู่ที่ระดับ 144.50 บาท บวก 3.50 บาท หรือเพิ่มขึ้น 2.48% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 3.27 พันล้านบาท
ด้านธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ราคาหุ้น ณ เวลา 12.12 น. อยู่ที่ระดับ 133.50 บาท บวก 3.50 บาท หรือเพิ่มขึ้น 2.69% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 3.37 พันล้านบาท
ด้านธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB ราคาหุ้น ณ เวลา 12.12 น. อยู่ที่ระดับ 1.38 บาท บวก 0.05 บาท หรือเพิ่มขึ้น 3.76% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 1.01 พันล้านบาท
ส่วนธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ราคาหุ้น ณ เวลา 12.12 น. อยู่ที่ระดับ 14.30 บาท บวก 0.40 บาท หรือเพิ่มขึ้น 2.88% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 1.15 พันล้านบาท
บล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้(9 ก.พ.65) ว่า ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น โดยน้ำมันดิบ Brent ยืนเหนือระดับ 80 เหรียญฯ/บาร์เรล ตั้งแต่ต้น ม.ค.ที่ผ่าน และล่าสุดพุ่งทะลุ 90 เหรียญ/บาร์เรล เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกที่ทยอยฟื้นตัว ทำให้ความต้องการน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น
ขณะที่ทางฝั่ง Supply ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบต่างๆ ของประเทศผู้ผลิตน้ำมันเป็นระยะๆ เราจึงได้จัดทำผลกระทบรายอุตสาหกรรม ในกรณีที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นสู่ 100 เหรียญฯ/บาร์เรล
สำหรับนักลงทุนที่มองหาหุ้นที่สามารถลงทุนฝ่ากระแสน้ำมันดิบสูงได้ แนะนำ1). กลุ่มโรงกลั่น ได้ประโยชน์จาก stock gain โดยมี BCP(TP40) เด่นสุดจากทั้ง stock gain , ธุรกิจ E&P ได้ประโยชน์จาก ASP ที่เพิ่มขึ้น ชดเชย ธุรกิจการตลาดที่ค่าการตลาดถูกกระทบ โดยมี TOP(TP75) เด่นรองลงมา,2) BCPG(TP19.6) ไม่ได้รับผลกระทบน้ำมันสูง จากต้นทุนหลักมาจากค่าเสื่อมราคาของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ในขณะที่ราคาขายไฟฟ้าไม่ได้รับผลกระทบ ขณะที่ PER ถูกเพียง 13X
3) กลุ่มธนาคารและประกัน ได้แรงหนุนจากเงินเฟ้อที่สูงตามราคาน้ำมัน หนุนวงจรดอกเบี้ยขาขึ้น KBANK(ราคาเป้าหมาย 175 บาท), SCB (ราคาเป้าหมาย 150 บาท), BLA(ราคาเป้าหมาย 50 บาท) เด่น และ 4) กลุ่มสื่อสารฯ กระทบน้อย แต่ด้วยภาพของกลุ่มที่ Valuation ถูกและปันผลสูง เป็น Value Stock ที่จะ Outperform ตลาด แนะนำ ADVANC(TP252)
นอกจากนี้เข้าใกล้เทศกาลจ่ายปันผลประจำปี 2564 และงวดครึ่งปีหลัง 2564 ราวเดือน มี.ค.-พ.ค. 2564 ทีมกลยุทธ์จึงรวบรวมหุ้นที่คาดจะจ่ายปันผลช่วงครึ่งหลังปี 2564 จากคาดการณ์ของ CNS เพื่อนำมาคัดสรรหุ้นปันผลเด่นสำหรับกลยุทธ์การลงทุนระยะ 1-2 เดือน แนะนำ High Yield & Earnings Growth ได้ทำการคัดกรองหุ้นปันผลเด่นครึ่งหลังปี 2564
โดยคัดจาก 1.หุ้นที่คาดว่าจะจ่ายเงินปันผลครึ่งหลังสูงกว่า 2.3% และ 2.เป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และอยู่ในจุดเหมาะสมในการเข้าซื้อได้แก่ กลุ่มหุ้น Big-Mid Cap : TISCO, TTB, LH, KKP, BBL และกลุ่มหุ้น Small Cap : MC, AP, SC, NER, SAT, BCP, TVO, ICHI, THANI
สำหรับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB คงคำแนะนำซื้อปรับราคาเป้าหมายปี 2565 เป็น 155.0 บาท (เดิม 150.0) ยังคงเลือกเป็น Top pick ของกลุ่มธนาคาร (คู่กับ KBANK) นอกเหนือจากในระยะสั้นที่ได้แรงหนุนจากสำรองที่ลดลง เรามองว่าในระยะกลางสินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่อรายย่อยจะได้อานิสงส์จะได้อานิสง์จากการฟื้นตัวเศรษฐกิจส่วนการเป็นผู้ริเริ่มปรับเปลี่ยน landscape ธุรกิจธนาคารให้มีความคล่องตัว และแผนรุกสินเชื่อในsegment ใหม่ของ SCB จะช่วยหนุนการเติบโตในระยะยาว อีกทั้ง SCB อาจมีปันผลพิเศษราว 2-6 บาท (yield 1.8%-5.5%) หลังปรับโครงสร้างเป็น SCBX เสร็จสิ้นในช่วงครึ่งหลังปี 2565
ส่วนธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL คงคำแนะนำซื้อเป้าหมายปี 2565 ที่ 165.0 บาท มองว่า BBL เป็นธนาคารที่มีคุณภาพสินทรัพย์แกร่งสุดในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ และมีความเป็นผู้นำด้านสินเชื่อธุรกิจ ซึ่งจะได้อานิสงส์โดยตรงจากการเติบโตของเศรษฐกิจ นอกจากนี้คาดหวัง BBL ต่อการปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ digital banking มากขึ้น เพื่อคงความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวกับธนาคารคู่แข่งอย่าง SCB และ KBANK ที่ให้ความสำคัญด้านการพัฒนา IT investment อย่างมาก ทั้งนี้ BBL จะจัดประชุมนักวิเคราะห์ในวันที่ 3 ก.พ.2565
ส่วนธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK คงคำแนะนำซื้อปรับราคาเป้าหมายปี 2565 เป็น 180.0 บาท (เดิม 175.0 บาท) เรายังคงเลือก KBANKเป็น Top pick (คู่กับ SCB) ชอบ KBANK เพราะการเติบโตในปี 2565 มาจากการลดลงของค่าใช้จ่ายสำรองควบคู่กับการเติบโตในฝั่งสินเชื่อ และค่าธรรมเนียม มองว่าธนาคารขนาดใหญ่ที่มีความน่าเชื่อถืออย่าง KBANK จะได้อานิสงส์เศรษฐกิจที่ฟื้นตัว นอกจากนี้ KBANK ถือเป็นผู้นำด้านการพัฒนา Digital banking เพื่อต่อยอดธุรกิจธนาคารในการปล่อยสินเชื่อ digital ป้องกันการdisrupt ต่อ Core business รวมถึงแสวงหาช่องทางการเติบโตใหม่ต่อเนื่อง
ด้านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB คงคำแนะนำ Neutral และยังคงเป้าหมายปี 2565 ที่ 13.1 บาท มองว่าราคาหุ้นปัจจุบันได้สะท้อนความน่าสนใจของ KTB จากการเติบโตของสินเชื่อภาครัฐ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำต่อการตกชั้นเป็น NPLและคาดหวังต่อการพัฒนา Digital banking ร่วมกับเอคเซนเชอร์ โซลูชั่นส์ (ACN) ซึ่งเป็นบริษัทต่างชาติ มีจุดเด่นด้าน IT support และการพัฒนา Application เพื่อพัฒนาต่อยอดApplication เป๋าตัง ให้มีความสามารถมากขึ้น เสริมประสิทธิภาพงานภาครัฐ อย่างไรก็ตามคาดว่าการพัฒนาธนาคารสู่ Tech company ของ KTB อาจยังต้องใช้เวลา
ส่วนธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB คงคำแนะนำ Reduce ปรับราคาเป้าหมายปี 2565 เป็น 1.30 บาท (เดิม 1.10 บาท) ในเชิงปัจจัยพื้นฐานมองว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมาซื้อขายที่ 0.7x PBV ใกล้เคียง -1.0SD ของค่าเฉลี่ยในอดีต ซึ่งเป็นระดับเดียวกันกับค่าเฉลี่ยกลุ่มธนาคารที่ 0.7x PBV, -1.0SD ย่อมสะท้อนความคาดหวังเชิงบวกต่อแนวโน้มกำไรปี 2565 ไปแล้ว ประกอบกับคาด ROE ปี 2565 ของ TTB อยู่ที่ 6.0% เทียบกับค่าเฉลี่ยกลุ่มธนาคารที่ 7.6% จึงเป็นข้อจำกัดต่อการให้ Premium เชิง Valuation สำหรับ TTB
สำหรับกลุ่มธนาคารรายงานกำไรไตรมาส 4/2564 อยู่ที่ 3.57 หมื่นลบ. เติบโต 27% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ดีกว่าคาด โต 9% จาก Non-NII ดีกว่าคาด และมีค่าใช้จ่ายสำรองต่ำกว่าคาด นอกจากนี้คาดกำไรกลุ่มธนาคารในปี 2565 อยู่ที่ 1.61 แสนลบ. (โต11% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) การเติบโตของรายได้ดอกเบี้ย NII มีบทบาทต่อการเติบโตของกำไรมากขึ้น ควบคู่กับค่าใช้จ่ายสำรอง/Credit cost ที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จากความกังวลต่อคุณภาพสินทรัพย์ที่ลดลง นอกจากนี้คาดจะเห็นธนาคารรุกสินเชื่อ High yield มากขึ้นเพื่อเติบโตใน Segment ใหม่ และเพิ่ม yield ยังคงน้ำหนักการลงทุน Bullish กลุ่มธนาคาร
โดยยังคงเลือก SCB, KBANK เป็น Top pick จากแนวโน้มกำไรเติบโตเด่นสุดในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ เพราะในระยะสั้น-กลางได้แรงหนุนจากการลด Credit cost และได้ประโยชน์จากสินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงแผนการรุกสินเชื่อ High yield อีกทั้ง SCB, KBANK เป็น 2 ธนาคารที่เห็นการปรับตัวด้าน Digital banking ชัดเจนที่สุดในกลุ่มฯ ซึ่งจะช่วยหนุนการเติบโตในระยะยาว
บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ (10 ม.ค.65) ว่า กลุ่มธนาคารพาณิชย์ให้น้ำหนักลงทุน “มากกว่าตลาดฯ หรือ Overweight ฝ่ายวิจัยฯคาดแนวโน้มอัตราการเติบโตของสินเชื่อคาดจะเริ่มกลับมาเติบโต และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเริ่มเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้น ซึ่งคาดจะเป็นบวกกับธนาคารขนาดใหญ่มากกว่า เลือก SCB, KBANK, KTB เป็นหุ้นเด่น
ด้านบล.เคทีบีเอสที ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้ (9 ก.พ.65) ว่า แนวโน้มตลาดให้น้ำหนักกับหุ้นที่จะมีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างประเทศ ตาม Flow ที่ไหลกลับเข้าตลาดเอเชียอีกครั้ง โดยหุ้นได้ประโยชน์ทางตรงจะเป็นหุ้นขนาดใหญ่ใน SET50 ตัวหลัก ทั้งในกลุ่มธนาคาร (BBL) พลังงาน (PTT) ท่องเที่ยว(MINT) และกลุ่มอื่นๆ (ADVANC, SCC, SCGP, MAKRO, TU) ด้านครม.วานนี้ เลื่อนเคาะการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว และมาตรการ EVไม่เข้าพิจารณาอาจทำให้มีแรงขายหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ 2 เรื่องนี้