“กสิกร” คัด 12 หุ้นหลบภัย ชู SSP-OSP ท็อปพิก กำไรโต-อัพไซด์เพียบ
“บล.กสิกร” คัด 12 หุ้นหลบภัยในกลุ่มเครื่องดื่ม, การเงิน, Tech Consult, โรงไฟฟ้า และกลุ่ม ICT พร้อมชู SSP-OSP ท็อปพิก ชูกำไรโต-อัพไซด์ราคาหุ้นเพียบ
บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์วานนี้ (23 มี.ค.65) ว่า หลังจากวันจันทร์ตอนกลางคืนสถาบันจัดอันดับเรตติง S&P ออกรายงาน Downgrade rating 4 ธนาคาร (ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK, ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB, ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB) ลง 1 notch แต่ยังคง Rating (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY) ทำให้เกิดความกังวลว่าต่อไปจะเกิดการ Downgrade อันดับความน่าเชื่อถือประเทศไทย (Credit rating) ลงตามต่อในระยะถัดไป?
โดยบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด ประเมินจากข้อมูลทางเศรษฐกิจและข้อมูลต่างๆ เชื่อว่าประเทศไทยมีโอกาสต่ำที่จะถูกหั่น Credit rating ลง โดยมี 4 ประเด็นที่สนับสนุนความเชื่อ คือ 1) Indicator ที่เป็นตัวชี้วัดที่สถาบันจัดอันดับ rating พิจารณาปรับเพิ่ม/ลด ratingประเทศข้อมูลล่าสุดปี 2564 ยังเหนหลาย Indicator เห็นทิศทางดีขึ้นเทียบกับในอดีต อาทิ (เศรษฐกิจมหภาค อาทิ GDP Percapita, ดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันด้านการคลังปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง, สถานะต่างประเทศ : สัดสวนการลงทุนระหว่างประเทศสุทธิต่อ GDP เป็นบวก)
2.) การที่ S&P คง rating ธนาคาร BBL ที่ Rating BBB+ ดังนั้นประเทศไทยก็ควรจะได้ Rating ที่สูงกว่าบริษัท 3) จากสถิติในอดีตประเทศไทยถูกคง (S&P คง Rating ที่ BBB+) ที่เดิมมาตั้ง ก.ย.47 – ปัจจุบันรวมติดต่อกัน 18 ปี และผ่านวิกฤต 2 ครั้งล่าสุด อาทิ Subprime ในปี 2550-2551, น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ยังไม่เคยถูกปรับ Rating ลง
4) Indicator ที่เป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงการประเทศ อิงผ่าน CDS Spread 5 ปี เบี้ยประกันความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้ไทย ล่าสุดอยู่ที่ 43 ขึ้นเล็กน้อยจากต้นปียังต่ำเมื่อเทียบกับในอดีต อาทิ วิกฤต Subprime และน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ซึ่งสูงถึง 250
สำหรับกลยุทธ์การลงทุน : ช่วงสั้นยังแนะนําชะลอการลงทุนในกลุ่มธนาคาร, กลุ่มปิโตรเคมี, กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ออกไปก่อน ส่วนกลุ่มที่ แนะนำลงทุนในช่วงนี้ คือ กลุ่มเครื่องดื่ม (บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CBG, บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP) กลุ่มการเงิน (บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR, บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ ASK, บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ THANI, บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AEONTS, บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM) กลุ่ม Tech Consult อาทิ บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK, บริษัท เบริล 8 พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ BE8 กลุ่มโรงไฟฟ้า (บริษัท เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SSP) กลุ่ม ICT (บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE) โดยฝ่ายประเมินเป็นหลุมหลบภัยในรอบนี้
ส่วนมุมมองตลาดหุ้น SET คาด 1,680 -1,690 จุด ขณะที่หุ้นแนะนำ ได้แก่
SSP (ราคาพื้นฐาน 14.0 บาท) คาดว่าการขยายกำลังการผลิต SSP จะเป็นปัจจัยหนุนการ เติบโตที่สำคัญในระยะยาว โดยอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อขยายสัญญา PPA ในมองโกเลีย และหาฟาร์มกังหันลมเพิ่มในเวียดนาม เพื่อขยายพอร์ตไปสู่เป้าหมายกําลังการผลิตที่ 400 เมกะวัตต์ และอยู่ระหว่างการศึกษาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ เช่น ธุรกิจกัญชงและกัญชา ธุรกิจขุดเหมืองเงินดิจิทัลเพื่อเป็นแหลงกำไรใหม่ โดยราคาหุ้นปรับฐานลงมา Downside ค่อนข้างต่ำและเปิด Upside จากราคาเป้าหมายทางพื้นฐานราว 18%
OSP (ราคาพื้นฐาน 40.5 บาท) คาดกําไรปี 2565 จะเติบโตขึ้น 10% จากปีก่อน จากยอดขายที่ดีขึ้นหนุนจากตลาดในประเทศ คาดยอดขายในต่างประเทศที่ขยายตัวขึ้นจะช่วยเพิ่ม upside โดยฝ่ายวิจัยชอบ OSP จากมูลค่าหุ้นที่ไม่แพง การขยายตลาดอย่างต่อเนื่องและ upside จากราคาขายที่สูงขึ้น